คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
นับตั้งแต่ ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ อดีตผู้อำนวยการและผู้สถาปนาสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ได้เกษียณอายุราชการเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ.2539 โดยมี ผศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์(ตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาต่อมาระยะหนึ่ง จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศชื่อว่า “มหาวิทยาลัยทักษิณ” ต้องมีการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาเป็นครั้งแรก ภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาเป็นครั้งแรก
โดยมีผู้สมัครรับการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 2 คนคือ นายปก แก้วกาญจน์ อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาสมัย ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการ โดยการสนับสนุนของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณในขณะนั้น และ ผศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ โดยการสนับสนุนของ ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณในขณะนั้น ทั้งๆ ที่เป็นผู้ลงทุนไปเชื้อเชิญอธิการท่านนั้นมาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วยตนเอง โดยมี ศ.พันตรีอาคม พัฒิยะ เป็นผู้สนับสนุนอย่างใกล้ชิด ผลการสรรหาในครั้งนั้นปรากฏว่า อาจารย์ปก แก้วกาญจน์ ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณที่มาจากการสรรหาภายใต้ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยใหม่เป็นคนแรก
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอธิการบดีกับอดีตผู้สถาปนา และอดีตผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา อาจารย์ปกถูกบีบให้ใช้มาตรการต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปาของโครงการโครงสร้าง และพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา และโครงการปรับปรุงสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ที่มี ศ.สุธิวงศ์ เป็นประธาน และมี ศ.อาคม เป็นรองประธาน จนในที่สุด ศ.สุธิวงศ์ต้องย้ายสำนักงานประสานงานโครงการในนามเมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และโครงการปรับปรุงสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ของมูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกจากสถาบันทักษิณคดีศึกษาไปพึ่งพาสำนักงานศูนย์ศรีเกียรติพัฒน์ของพี่พรรณิภา โสตถิพันธุ์ (พี่หนู) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และศูนย์ดังกล่าวเหลือเพียงเป็นชื่อห้องประชุม และไม่วายถูกรังควานจากอธิการบดีคนเดิมอยู่เป็นระยะๆ และไม่มีใครออกมาปกป้องสร้างความชอบธรรมให้แก่ “อาจารย์” ของพวกเขา
จนอาจารย์เคยพูดต่อหน้าลูกศิษย์ลูกหาหลายคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานอยู่ในสถาบันทักษิณฯ และมหาวิทยาลัยทักษิณที่โรงแรมกรีนเวิลด์ว่า “ผมไม่เห็นมีใครมันช่วยผม นอกจากจรูญ”(หมายถึงผู้เขียน) หลังจากท่านถูกบีบให้ออกจากสถาบันและถูกอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย สั่งให้เลขาฯ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ นายนิพนธ์ บุญภัทโร ตรวจสอบเงินงบประมาณที่ สกว.สนับสนุนโครงการวิจัยภายใต้การดูแลของเมธีวิจัยอาวุโสสาขาสังคมศาสตร์ที่ชื่อ สุธิวงศ์ สาเหตุมาจากงานวิจัยเรื่อง “หัวเชือกวัวชน” ของ อ.อาคม เดชทองคำ สร้างความฮือฮาจากการนำเสนอรายงานการวิจัยแล้วกลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปสอดคล้องกับประเด็นทางการเมืองที่มีคนใต้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนักการเมือง “หัวเชือกวัวชน” หลายคนมีตำแหน่งสำคัญทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
ช่วงนั้น อ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ หลังจากแพ้การสรรหาแล้วและในวันก่อนส่งมอบงานให้แก่ อ.ปกเพียงคืนเดียว ก็ประสบอุบัติเหตุบนสะพานติณสูลานนท์ ช่วงเกาะยอกับตำบลพะวงบาดเจ็บสาหัส และทำให้ อ.อาคม พัฒิยะ ที่ปรึกษาอาวุโสพลอยได้รับบาดเจ็บสาหัสด้วย และเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาไม่นาน อ.ไพบูลย์ ใช้ไม้เท้าพยุงร่างขึ้นไปลงชื่อมาปฏิบัติงานชั้นบนสุดของอาคารสำนักงานคณะมนุษย์ศาสตร์ไม่นาน (ข่าววงในตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกลั่นแกล้งคนขาหักให้พบวิบากกรรมรายวัน) ก็ย้ายกลับไปอยู่ มศว ประสานมิตรอย่างสงบ ทิ้งไว้แต่เรื่องราว และร่องรอยของความขัดแย้ง และความคับแค้นใจ
อ.ปกดูแลสถาบันทักษิณคดีศึกษาจนครบวาระ โดยไม่มีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเพียงการเข้ามารับรู้งานที่ อ.สุธิวงศ์ได้ดำเนินการเริ่มต้นไว้แล้วทั้งสิ้น ไม่มีอะไรใหม่นอกจากการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของอธิการบดีในขณะนั้น เพื่อตอบสนอง “ยุทธการทุบกระถางต้นไม้” ตามที่อธิการบดีเข้าใจว่า อ.สุธิวงศ์ ทำบอนไซเอาไว้หลายต้น กลายเป็นข้อถกเถียงผ่านเอกสารหลายชิ้นที่ผู้เขียนเองได้มีโอกาสนำไปเผยแพร่ในวารสาร “ไทใต้” ที่ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการบทความอยู่ในขณะนั้น เสียดายที่ต้นฉบับเหล่านั้นสูญหายไปหมดแล้ว
ผู้เขียนเองก็ตกเป็นเป้าโจมตีของอธิการบดีท่านนั้น และเหล่าลิ่วล้อทั้งในสถาบันทักษิณคดีศึกษา และนอกสถาบันฯ เพราะคนพวกนี้ไม่มีความสามารถพิเศษอย่างอื่นนอกจากประจบสอพลอ ยกคนที่นายรัก เหยียบคนที่นายเกลียด และมักได้ผลเกินคาด เพราะนายเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ “เกลียดคนที่ชาวบ้านรัก และรักคนที่ชาวบ้านเกลียด” อยู่เหมือนกัน บ่อยครั้งที่ผู้เขียนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเขียน บทสัมภาษณ์ที่มีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์มหาวิทยาลัยทักษิณ ทำนองว่าถึงไม่เขียนเองก็เป็นคนให้ข้อมูลในลักษณะ “แหล่งข่าว” อะไรทำนองนั้น แม้แต่เวลาอธิการท่านนั้นไปประชุมที่สถาบันทักษิณฯ หลังจากแจ้งเรื่องราวให้ที่ประชุมทราบแล้ว เมื่อถึงวาระจะสำรวจความคิดเห็นของที่ประชุม ท่านมักจะจบลงที่คำถามว่า “จรูญว่าไง” ทำเหมือนกับว่า “คนอื่นไม่เห็นมันมีปัญหาอะไร มีปัญหาอยู่คนเดียวคือมึงนี่แหละ” (อะไรทำนองนั้น)
สิ่งน่าเศร้าใจสำหรับช่วงนี้คือ การที่ อ.สุธิวงศ์ ผู้สร้างสถาบันทักษิณฯ มากับมือแต่ไม่สามารถจะใช้พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งใน 24 ไร่ทำงานรับใช้แผ่นดินเกิดและเป็นงานที่สถาบันทักษิณฯ ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ การจัดพิมพ์สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับปรับปรุง 2542 โดยไม่มีลูกศิษย์ หรือคนที่เคยแสดงตนว่ารักใคร่นับถืออาจารย์ในวันเวลาที่อาจารย์อยู่ในอำนาจ และสามารถให้คุณให้โทษได้ ครั้นอาจารย์หมดอำนาจ สิ้นบารมีคนเหล่านี้ก็ไม่สนใจไยดี จนท่านต้องหลุดคำว่า “ไม่เห็นใครมันช่วยผม” ออกมาอย่างเหลืออด คงเป็นสัจธรรมอย่างที่ อ.อาคม พัฒิยะ เคยปรารภกับผู้เขียน “คนปลดเกษียณแล้วมันกลัวคนไม่ไหว้”
(อ่านต่อฉบับหน้า)
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
นับตั้งแต่ ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ อดีตผู้อำนวยการและผู้สถาปนาสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ได้เกษียณอายุราชการเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ.2539 โดยมี ผศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์(ตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาต่อมาระยะหนึ่ง จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศชื่อว่า “มหาวิทยาลัยทักษิณ” ต้องมีการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาเป็นครั้งแรก ภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาเป็นครั้งแรก
โดยมีผู้สมัครรับการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 2 คนคือ นายปก แก้วกาญจน์ อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษาสมัย ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการ โดยการสนับสนุนของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณในขณะนั้น และ ผศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ โดยการสนับสนุนของ ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณในขณะนั้น ทั้งๆ ที่เป็นผู้ลงทุนไปเชื้อเชิญอธิการท่านนั้นมาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ด้วยตนเอง โดยมี ศ.พันตรีอาคม พัฒิยะ เป็นผู้สนับสนุนอย่างใกล้ชิด ผลการสรรหาในครั้งนั้นปรากฏว่า อาจารย์ปก แก้วกาญจน์ ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณที่มาจากการสรรหาภายใต้ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยใหม่เป็นคนแรก
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอธิการบดีกับอดีตผู้สถาปนา และอดีตผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา อาจารย์ปกถูกบีบให้ใช้มาตรการต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์น้ำประปาของโครงการโครงสร้าง และพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา และโครงการปรับปรุงสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ที่มี ศ.สุธิวงศ์ เป็นประธาน และมี ศ.อาคม เป็นรองประธาน จนในที่สุด ศ.สุธิวงศ์ต้องย้ายสำนักงานประสานงานโครงการในนามเมธีวิจัยอาวุโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และโครงการปรับปรุงสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ ของมูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกจากสถาบันทักษิณคดีศึกษาไปพึ่งพาสำนักงานศูนย์ศรีเกียรติพัฒน์ของพี่พรรณิภา โสตถิพันธุ์ (พี่หนู) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และศูนย์ดังกล่าวเหลือเพียงเป็นชื่อห้องประชุม และไม่วายถูกรังควานจากอธิการบดีคนเดิมอยู่เป็นระยะๆ และไม่มีใครออกมาปกป้องสร้างความชอบธรรมให้แก่ “อาจารย์” ของพวกเขา
จนอาจารย์เคยพูดต่อหน้าลูกศิษย์ลูกหาหลายคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานอยู่ในสถาบันทักษิณฯ และมหาวิทยาลัยทักษิณที่โรงแรมกรีนเวิลด์ว่า “ผมไม่เห็นมีใครมันช่วยผม นอกจากจรูญ”(หมายถึงผู้เขียน) หลังจากท่านถูกบีบให้ออกจากสถาบันและถูกอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย สั่งให้เลขาฯ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ นายนิพนธ์ บุญภัทโร ตรวจสอบเงินงบประมาณที่ สกว.สนับสนุนโครงการวิจัยภายใต้การดูแลของเมธีวิจัยอาวุโสสาขาสังคมศาสตร์ที่ชื่อ สุธิวงศ์ สาเหตุมาจากงานวิจัยเรื่อง “หัวเชือกวัวชน” ของ อ.อาคม เดชทองคำ สร้างความฮือฮาจากการนำเสนอรายงานการวิจัยแล้วกลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปสอดคล้องกับประเด็นทางการเมืองที่มีคนใต้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนักการเมือง “หัวเชือกวัวชน” หลายคนมีตำแหน่งสำคัญทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น
ช่วงนั้น อ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์ หลังจากแพ้การสรรหาแล้วและในวันก่อนส่งมอบงานให้แก่ อ.ปกเพียงคืนเดียว ก็ประสบอุบัติเหตุบนสะพานติณสูลานนท์ ช่วงเกาะยอกับตำบลพะวงบาดเจ็บสาหัส และทำให้ อ.อาคม พัฒิยะ ที่ปรึกษาอาวุโสพลอยได้รับบาดเจ็บสาหัสด้วย และเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาไม่นาน อ.ไพบูลย์ ใช้ไม้เท้าพยุงร่างขึ้นไปลงชื่อมาปฏิบัติงานชั้นบนสุดของอาคารสำนักงานคณะมนุษย์ศาสตร์ไม่นาน (ข่าววงในตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกลั่นแกล้งคนขาหักให้พบวิบากกรรมรายวัน) ก็ย้ายกลับไปอยู่ มศว ประสานมิตรอย่างสงบ ทิ้งไว้แต่เรื่องราว และร่องรอยของความขัดแย้ง และความคับแค้นใจ
อ.ปกดูแลสถาบันทักษิณคดีศึกษาจนครบวาระ โดยไม่มีอะไรน่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นเพียงการเข้ามารับรู้งานที่ อ.สุธิวงศ์ได้ดำเนินการเริ่มต้นไว้แล้วทั้งสิ้น ไม่มีอะไรใหม่นอกจากการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของอธิการบดีในขณะนั้น เพื่อตอบสนอง “ยุทธการทุบกระถางต้นไม้” ตามที่อธิการบดีเข้าใจว่า อ.สุธิวงศ์ ทำบอนไซเอาไว้หลายต้น กลายเป็นข้อถกเถียงผ่านเอกสารหลายชิ้นที่ผู้เขียนเองได้มีโอกาสนำไปเผยแพร่ในวารสาร “ไทใต้” ที่ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการบทความอยู่ในขณะนั้น เสียดายที่ต้นฉบับเหล่านั้นสูญหายไปหมดแล้ว
ผู้เขียนเองก็ตกเป็นเป้าโจมตีของอธิการบดีท่านนั้น และเหล่าลิ่วล้อทั้งในสถาบันทักษิณคดีศึกษา และนอกสถาบันฯ เพราะคนพวกนี้ไม่มีความสามารถพิเศษอย่างอื่นนอกจากประจบสอพลอ ยกคนที่นายรัก เหยียบคนที่นายเกลียด และมักได้ผลเกินคาด เพราะนายเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ “เกลียดคนที่ชาวบ้านรัก และรักคนที่ชาวบ้านเกลียด” อยู่เหมือนกัน บ่อยครั้งที่ผู้เขียนถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเขียน บทสัมภาษณ์ที่มีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์มหาวิทยาลัยทักษิณ ทำนองว่าถึงไม่เขียนเองก็เป็นคนให้ข้อมูลในลักษณะ “แหล่งข่าว” อะไรทำนองนั้น แม้แต่เวลาอธิการท่านนั้นไปประชุมที่สถาบันทักษิณฯ หลังจากแจ้งเรื่องราวให้ที่ประชุมทราบแล้ว เมื่อถึงวาระจะสำรวจความคิดเห็นของที่ประชุม ท่านมักจะจบลงที่คำถามว่า “จรูญว่าไง” ทำเหมือนกับว่า “คนอื่นไม่เห็นมันมีปัญหาอะไร มีปัญหาอยู่คนเดียวคือมึงนี่แหละ” (อะไรทำนองนั้น)
สิ่งน่าเศร้าใจสำหรับช่วงนี้คือ การที่ อ.สุธิวงศ์ ผู้สร้างสถาบันทักษิณฯ มากับมือแต่ไม่สามารถจะใช้พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งใน 24 ไร่ทำงานรับใช้แผ่นดินเกิดและเป็นงานที่สถาบันทักษิณฯ ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ การจัดพิมพ์สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับปรับปรุง 2542 โดยไม่มีลูกศิษย์ หรือคนที่เคยแสดงตนว่ารักใคร่นับถืออาจารย์ในวันเวลาที่อาจารย์อยู่ในอำนาจ และสามารถให้คุณให้โทษได้ ครั้นอาจารย์หมดอำนาจ สิ้นบารมีคนเหล่านี้ก็ไม่สนใจไยดี จนท่านต้องหลุดคำว่า “ไม่เห็นใครมันช่วยผม” ออกมาอย่างเหลืออด คงเป็นสัจธรรมอย่างที่ อ.อาคม พัฒิยะ เคยปรารภกับผู้เขียน “คนปลดเกษียณแล้วมันกลัวคนไม่ไหว้”
(อ่านต่อฉบับหน้า)