คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
สถานภาพ และบทบาทของสถาบันการศึกษาในการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน
ในอดีต ช่วงที่การศึกษายังอยู่ในวัด หรือสถาบันทางศาสนาที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรทั้งในทางโลก และทางธรรม กล่าวคือ การเรียนรู้ศิลปะช่างสิบหมู่และบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย อบรมบ่มนิสัย สถาบันการศึกษาในยุคนั้นทำ “คนดิบ” ให้เป็น “คนสุข” ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การบวชเรียน” หรือการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการผ่านทางสถาบันครอบครัวโดยตรง
ครั้นการศึกษาถูกแยกออกจากวัดมาอยู่ในมือของสถาบันทางการศึกษาตามแบบตะวันตก ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เกิดวัฒนธรรมหลวงกับวัฒนธรรมราษฎร์ หรือราษฎรกับเจ้านาย เกิดชาวบ้านกับราชการ เกิดภาษาข้าหลวงกับภาษาชาวบ้าน สถาบันการศึกษาจึงนำเอา “วัฒนธรรมพลัดถิ่น” หรือการเปลี่ยนแปลงเข้ามาพร้อมๆ กับระบบราชการที่นำเอาวัฒนธรรมหลวงเข้ามา ทั้งระบบการศึกษา และระบบราชการมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเสื่อมสูญของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
หลังจากสังคมไทย และสังคมโลกประสบกับภาวะวิกฤตต่างๆ ทั้งวิกฤตสิ่งแวดล้อม วิกฤตความยากจน และวิกฤตทางวัฒนธรรม พลโลกเริ่มหันมาสนใจ “ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน” มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสท้องถิ่นนิยม ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอพียง ฯลฯ เพื่อตอบโต้กับกระแสโลกาภิวัตน์ในสังคมข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน
สถาบันการศึกษาทุกระดับมีสถานภาพเป็นสถาบันหลักของสังคมแห่งการเรียนรู้และมีบทบาท หรือพันธกิจสำคัญที่จะต้องฟื้นฟู อนุรักษ์ ทำนุบำรุงและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประจำชาติอันเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้ดำรงคงอยู่ตามเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่หลักสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ ภารกิจด้านการสอน ภารกิจด้านการวิจัย ภารกิจด้านการบริการวิชาการ และภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มีวิสัยทัศน์ว่า มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต มีหลักการว่า เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล จุดหมายของหลักสูตรมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนประการหนึ่งคือ รักความเป็นไทย มีมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ซึ่งมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมโดยตรง 3 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เน้นความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความชื่นชม การเห็นคุณค่า ภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในภาษาประจำชาติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เน้นการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็นพลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติและภูมิใจในความเป็นไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เน้น ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ สุนทรียภาพ และการเห็นคุณค่าทางศิลปะ
สรุป
แนวทางในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะพื้นบ้านอาจมีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับระดับของสถาบันการศึกษาซึ่งในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ๆ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการอุดมศึกษา ในส่วนของสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจะสอดแทรกเรื่องราวของศิลปะพื้นบ้านอยู่ในหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่น กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่แยกห้องเรียนออกาจากชุมชนท้องถิ่น ต้องยึดสังคมท้องถิ่น หรือชุมชนเป็นห้องเรียน แทนที่จะยึดห้องเรียนเป็นสังคม ปลูกฝังให้เยาวชนมีความตระหนัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ประวัติของชุมชน ผู้นำในระบบ นอกระบบ ปราชญ์ชาวบ้าน รักและหวงแหนทรัพยากรธรรม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมทางสังคม ผู้ใหญ่ ผู้รู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ในรูปแบบ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ผ่านนิทาน ตำนาน เรื่องเล่าที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไปของชุมชน
ในระดับอุดมศึกษา มีหลักสูตรรายวิชาเกี่ยวกับท้องถิ่น ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวศิลปวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตประจำวันของตนเองและชุมชน มีชมรมเกี่ยวศิลปะพื้นบ้าน ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ต่อเนื่องและจริงจัง เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่จำกัดกรอบแคบๆ อยู่แค่การแสดงเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ แต่ขยายแนวคิด มุมมองถึงวิถีการดำเนินชีวิต วิถีคิด และวิถีทัศน์ตลอดชีวิตของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มชน
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
สถานภาพ และบทบาทของสถาบันการศึกษาในการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน
ในอดีต ช่วงที่การศึกษายังอยู่ในวัด หรือสถาบันทางศาสนาที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรทั้งในทางโลก และทางธรรม กล่าวคือ การเรียนรู้ศิลปะช่างสิบหมู่และบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย อบรมบ่มนิสัย สถาบันการศึกษาในยุคนั้นทำ “คนดิบ” ให้เป็น “คนสุข” ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การบวชเรียน” หรือการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการผ่านทางสถาบันครอบครัวโดยตรง
ครั้นการศึกษาถูกแยกออกจากวัดมาอยู่ในมือของสถาบันทางการศึกษาตามแบบตะวันตก ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เกิดวัฒนธรรมหลวงกับวัฒนธรรมราษฎร์ หรือราษฎรกับเจ้านาย เกิดชาวบ้านกับราชการ เกิดภาษาข้าหลวงกับภาษาชาวบ้าน สถาบันการศึกษาจึงนำเอา “วัฒนธรรมพลัดถิ่น” หรือการเปลี่ยนแปลงเข้ามาพร้อมๆ กับระบบราชการที่นำเอาวัฒนธรรมหลวงเข้ามา ทั้งระบบการศึกษา และระบบราชการมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเสื่อมสูญของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
หลังจากสังคมไทย และสังคมโลกประสบกับภาวะวิกฤตต่างๆ ทั้งวิกฤตสิ่งแวดล้อม วิกฤตความยากจน และวิกฤตทางวัฒนธรรม พลโลกเริ่มหันมาสนใจ “ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน” มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสท้องถิ่นนิยม ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอพียง ฯลฯ เพื่อตอบโต้กับกระแสโลกาภิวัตน์ในสังคมข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน
สถาบันการศึกษาทุกระดับมีสถานภาพเป็นสถาบันหลักของสังคมแห่งการเรียนรู้และมีบทบาท หรือพันธกิจสำคัญที่จะต้องฟื้นฟู อนุรักษ์ ทำนุบำรุงและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประจำชาติอันเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของความเป็นไทยให้ดำรงคงอยู่ตามเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่หลักสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ ภารกิจด้านการสอน ภารกิจด้านการวิจัย ภารกิจด้านการบริการวิชาการ และภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มีวิสัยทัศน์ว่า มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต มีหลักการว่า เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล จุดหมายของหลักสูตรมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนประการหนึ่งคือ รักความเป็นไทย มีมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ซึ่งมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมโดยตรง 3 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เน้นความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความชื่นชม การเห็นคุณค่า ภูมิปัญญาไทยและภูมิใจในภาษาประจำชาติ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เน้นการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็นพลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ความรักชาติและภูมิใจในความเป็นไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เน้น ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ สุนทรียภาพ และการเห็นคุณค่าทางศิลปะ
สรุป
แนวทางในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะพื้นบ้านอาจมีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับระดับของสถาบันการศึกษาซึ่งในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ๆ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการอุดมศึกษา ในส่วนของสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจะสอดแทรกเรื่องราวของศิลปะพื้นบ้านอยู่ในหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่น กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่แยกห้องเรียนออกาจากชุมชนท้องถิ่น ต้องยึดสังคมท้องถิ่น หรือชุมชนเป็นห้องเรียน แทนที่จะยึดห้องเรียนเป็นสังคม ปลูกฝังให้เยาวชนมีความตระหนัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ประวัติของชุมชน ผู้นำในระบบ นอกระบบ ปราชญ์ชาวบ้าน รักและหวงแหนทรัพยากรธรรม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมทางสังคม ผู้ใหญ่ ผู้รู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ในรูปแบบ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ผ่านนิทาน ตำนาน เรื่องเล่าที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไปของชุมชน
ในระดับอุดมศึกษา มีหลักสูตรรายวิชาเกี่ยวกับท้องถิ่น ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวศิลปวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตประจำวันของตนเองและชุมชน มีชมรมเกี่ยวศิลปะพื้นบ้าน ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ต่อเนื่องและจริงจัง เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่จำกัดกรอบแคบๆ อยู่แค่การแสดงเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ แต่ขยายแนวคิด มุมมองถึงวิถีการดำเนินชีวิต วิถีคิด และวิถีทัศน์ตลอดชีวิตของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มชน