xs
xsm
sm
md
lg

เหตุเกิดที่…มหาวิทยาลัยทักษิณ/จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย

จากการรับฟังความคิดเห็นของชาวมหาวิทยาลัยทักษิณ ก่อนการเสนอชื่อบุคคลผู้มีความเหมาะสมเป็นกรรมการมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และนายกสภามหาวิทยาลัย ความคิดเห็นของชาวมหาวิทยาลัยทักษิณที่เข้าร่วมระดมความคิดเห็นโดยภาพรวมมีว่า คุณสมบัติของผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มีดังนี้

มีเวลาในการประชุม และพิจารณาเอกสารประกอบการประชุมล่วงหน้า ไม่เป็นคนที่ยึดมั่นเฉพาะในสาขาที่ตนเองเชี่ยวชาญ เป็นผู้รอบรู้เรื่องการบริหารจัดการองค์กร การศึกษาและการเงินระดับชาติ อายุไม่มากเกินไป มีบารมี และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในสังคม คิดนอกกรอบ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระแส และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น เป็นปราชญ์ผู้รู้ และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในสาขาวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์ มีสถานภาพทางสังคมที่สามารถแก้ปัญหาวิทยาเขตพัทลุงได้ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัย เป็นผู้ใช้ข้อมูลอย่างระมัดระวัง ตำแหน่งทางวิชาการไม่มีความจำเป็น

ในส่วนของนายกสภามหาวิทยาลัย ความเห็นของชาวมหาวิทยาลัยทักษิณมีว่า ต้องกล้าลงมากำกับผู้บริหาร โดยเฉพาะอธิการบดีให้ดำเนินตามนโยบายที่ได้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ต้องมีกลไกในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม เพราะที่ผ่านมา เรื่องที่เสนอเข้าสู่สภาถูกบิดเบือน และสภารับฟังเฉพาะข้อมูลจากผู้บริหารเท่านั้น ดำรงตำแหน่งอย่างเหมาะสมกับความเป็นผู้ทรงเกียรติ ยึดหลักความถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ มีคุณธรรม ค้นหาความจริงก่อนตัดสินปัญหา ไม่หลงอยู่กับความจอมปลอมของคนรอบข้าง รู้บทบาทหน้าที่ในตำแหน่ง อย่าทำตัวเป็นอธิการบดีของอธิการบดี ต้องการนายกฯ ที่มีวิสัยทัศน์ นำพามหาวิทยาลัยสู่การแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ มีความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่น นายกสภาฯ ต้องยืนอย่างสง่างามบนเวทีอาเซียน ควรรื้อข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาฯ นี้เสียที สภาฯ เก่าเลือกสภาฯ ใหม่ ขอให้ประเด็นข้อเสนอเหล่านี้ไปถึงกรรมการสรรหาทั้ง 11 คน

นอกจากนั้น นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่เป็นไปได้ พูดจริงทำจริงในสิ่งที่ถูกต้อง สามารถพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามแผน เป็นผู้มีความสามารถในการกำกับดูแลผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการตามนโยบายที่วางไว้ มีความรู้กว้างขวางในทุกศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ วางกรอบให้มหาวิทยาลัยมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารที่ล้มเหลวอยู่ในขณะนี้ ปราศจากระบบอุปถัมภ์ มีศักยภาพเชิงพัฒนา มีความสามารถในการจัดหา และกำกับการบริหารงบประมาณ วางตนให้เหมาะสมกับการได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นผู้นำไม่ปล่อยให้ใครชี้นำ เชี่ยวชาญการศึกษาวิจัย ไม่เป็นบุคคลที่ฟุ้งเฟ้อ และเสพสุข ใครก็ได้ที่ไม่มีคุณสมบัติเหมือน (นายกฯ) คนเก่า ไม่เอาคนเก่า เข้าใจมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สามารถสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายได้ มีชื่อเสียงระดับประเทศ เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงคือ ไม่อยากได้คนเดิม อยากเห็นอะไรใหม่ๆ แม้ว่าจะไม่ดีกว่าเดิม มีธรรมาภิบาล ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ ดร.จรัญ (นายกฯ คนปัจจุบัน)

แต่จากการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย จากคณะกรรมการสรรหา 11 คน มีที่มาจาก 3 สถานะคือ กลุ่มหนึ่งมาโดยตำแหน่ง กลุ่มที่ 2 มาโดยการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย และกลุ่มที่ 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของบุคลากร ในจำนวนนี้ มีกลุ่มบุคคลภายนอก คือ กรรมการมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการแต่งตั้งของสภาให้มาทำหน้าที่ประธาน และกรรมการสรรหาตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และกรรมการเหล่านี้มีสิทธิเสนอชื่อผู้สมควร หรือเหมาะสมเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยได้เช่นเดียวกับส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และสิทธินี้เป็นสิทธิของกรรมการสรรหาทุกท่าน ยกเว้นกรรมการสรรหาที่มาจากการเลือกตั้งเพียง 2 คน

ปรากฏว่า ที่ประชุมกรรมการสรรหาเลือกคนเก่าไม่เป็นเอกฉันท์ คือ 5 โดยใช้วิธีการลงคะแนนลับถึง 3 ครั้ง เพราะการลงคะแนนครั้งที่ 1-2 คะแนนออกมากเท่ากันคือ 5/5 เพราะมีผู้งดออกเสียง 1 คน แต่การลงคะแนนครั้งที่ 3 ไม่มีผู้งดออกเสียง มติของกรรมการสรรหาจึงไม่ตอบสนองความต้องการของประชาคมตามที่ได้รับฟังความเห็นมา เหตุผลหลักของกรรมการสรรหาเสียงข้างมากที่ไม่เอาคนใหม่เพราะ “เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยอื่นอยู่แล้ว 1 แห่ง” ส่วนที่สนับสนุนคนเก่าเพราะ “เป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งมาแล้วหนึ่งวาระ มองเห็นการก้าวเดินของมหาวิทยาลัย ประเด็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข เป็นผู้มีประสบการณ์สูง และมีคุณธรรม”

ส่วนผู้สนับสนุนคนใหม่มีเหตุผลว่า “เป็นบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารการอุดมศึกษา เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในวงการอุดมศึกษาไทย อุดมศึกษาอาเซียน และอุดมศึกษาโลก เป็นผู้ที่เข้าใจบริบทของมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นอย่างดีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และเคยเป็นประธานกรรมการอำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน”

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ พบว่า โครงสร้าง หรือสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาทำให้มติของคณะกรรมการฯ ขาดความชอบธรรมในบางประการ ดังนี้

1.การให้สิทธิคณะกรรมการสรรหาที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสรรหาขัดต่อหลักธรรมาภิบาล ไม่เป็นธรรมต่อส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่มีสิทธิเสนอชื่อ แต่ไม่มีโอกาสอภิปรายสนับสนุนบุคคลที่ตนเองสนีบสนุน เพราะไม่ได้เป็นกรรมการสรรหา และกรรมการสภามหาวิทยาลัย

2.โดยมารยาท หากจะให้กรรมการสรรหาที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีสิทธิเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการท่านนั้นควรสะสิทธิการเสนอชื่อเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองบุคคลที่เหมาะสมให้แก่สภามหาวิทยาลัยได้อย่างโปร่งใส ปราศจากข้อกังขาของประชาคม

แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่า กรรมการสรรหาที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งไม่สละสิทธิ และเสนอคนเก่าสวนกระแสความต้องการของประชาคมโดยไม่สนใจไยดีต่อความคิดเห็นของประชาคม ตามที่ประธานคณาจารย์ และพนักงานรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาก่อนพิจารณาลงคะแนนเสียงเลือกนายกสภามหาวิทยาลัย

ดังนั้น กรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณในครั้งนี้ จึงแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งมาจากการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นบุคคลภายนอกร่วมกับอธิการบดี กลุ่มนี้สนับสนุนนายกสภาคนเก่าทั้งในนามกรรมการสภามหาวิทยาลัย โดยลายลักษณ์อักษร และการลงมติในที่ประชุม รวมทั้งหมด 6 คน กลุ่มที่ 2 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และโดยอ้อมของบุคลากร หรือสมาชิกในสังกัด ประกอบด้วย ผู้แทนที่เป็นอาจารย์ และผู้แทนที่ไม่ใช่อาจารย์ ประธานสภาคณาจารย์ และพนักงาน นายกสมาคมศิษย์เก่า และคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ กลุ่มนี้สนับสนุนคนใหม่

เมื่อกรรมการมหาวิทยาลัยทักษิณผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ประกอบด้วยคนเก่า 9 คนมีคนใหม่เพียง 3 คน และนายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณคือ นายกสภาฯ คนเดิม อะไรจะเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณนับตังแต่วันนี้จนถึง 3 ปีข้างหน้า ในเมื่อชาวมหาวิทยาลัยทักษิณส่วนใหญ่ได้ส่งสัญญาณให้ทราบแบบตรงๆ แล้วว่า ไม่ต้องการ “คนเก่า” คำตอบคงไม่ล่องลอยอยู่ในสายลมอย่างแน่นอน
เรื่องเล่าจากบ้านอ่าวทราย(18)/จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
เรื่องเล่าจากบ้านอ่าวทราย(18)/จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลามาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นเอกเทศเมื่อ พ.ศ.2539 (และต่อมาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและเนื้อหาเชิงโครงสร้าง ศ.สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ในฐานะผู้สร้างทางให้กับสถาบันทักษิณคดีศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงในระดับอุษาคเนย์และโด่งดังไปทั่วภูมิภาคแถบนี้ ตลอดจนสถาบันที่จัดการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียทั่วโลกให้ความสนใจ ได้สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่และเป็นไปของสถาบันแห่งนี้เอาไว้ในต่างกรรมต่างวาระกันมากมาย ดังต่อไปนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น