xs
xsm
sm
md
lg

“สามก๊ก” ฉบับการเมืองท้องถิ่นสงขลา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ : คนคาบสมุทรมลายู
โดย...จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย

เมืองสงขลา เป็นเมืองหลวงของภาคใต้ตอนล่าง เคยมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่สมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคมติดต่อทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา ฯลฯ

ปัจจุบัน ตัวจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ซึ่งเป็นอำเภอใหญ่ที่สุดของจังหวัดสงขลา มีฐานะเป็นเทศบาลนครทั้งสองแห่งคือ เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครสงขลา มีกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่นสองกลุ่ม ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในเขตเลือกตั้งให้เข้าบริหารจัดการ คือ เทศบาลนครหาดใหญ่บริหารจัดการโดย ดร.ไพร พัฒโน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย ทายาทนักการเมืองอาวุโสไสว พัฒโน
ภาพจากอินเตอร์เน็ต : นายพีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา
เทศบาลนครสงขลา บริหารจัดการโดยนายพีระ ตันติเศรณี อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สมัยนายนวพล บุญญามณี ซึ่งลงสนามแข่งขันขับเคี่ยวกับนายกิตติ ชูช่วย น้องชายของนายอุทิศ ชูช่วย อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลา ที่ผันตัวเองมาเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสมัยแรกในปัจจุบัน และมีความสัมพันธ์กับแกนนำคนสำคัญของการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างใกล้ชิดสนิทสนมกันมาทั้งนั้น

โดยเฉพาะกับนายพีระ ตันติเศรณี นายนวพล บุญญามณี และนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่กำลังมีกระแสข่าวว่าจะผันตัวเองจากรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ มาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเพื่อทวงคืนเก้าอี้ที่น้องชายคือนายนวพล บุญญามณี เคยครองมาก่อน แต่มาโดนคดีทางการเมืองทำให้ต้องหลุดพ้นจากตำแหน่งไปก่อนเวลาอันสมควร การเมืองท้องถิ่นจังหวัดสงขลาจึงแตกออกเป็นสามก๊ก สามฝ่าย สามกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสนามการแข่งขันตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหาร
ภาพจากอินเตอร์เน็ต : นายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ส่วนจังหวัดสงขลาที่เลือกตั้งกันเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2555 เป็นการชิงชัยในฐานะสงครามตัวแทนระหว่างทีมสงขลาพัฒนาของนายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กับทีมพลังสงขลาของ นายนิพนธ์ บุญญามณี ที่อาสาเข้ามาเป็นฝ่ายตรวจสอบ อบจ.สงขลา ส่วนก๊กที่สามคือ นายพีระ ตันติเศรณี นายกนครสงขลาก็เปิดศึกเรื่องกระเช้าลอยฟ้ากับนายกอุทิศ จนถึงขั้นฟ้องร้องคดีขึ้นโรงขึ้นศาล กรณีนายพีระสั่งรื้อป้าย “กระเช้าลอยฟ้า คนสงขลาขึ้นฟรี” ของนายกฯ อุทิศในเขตเทศบาลนครสงขลาทิ้ง (นี่ยังไม่พูดถึงนายกฯ เสริมศักดิ์ จันทร์สว่าง เทศบาลเมืองสิงหนครที่มีศักดิ์เป็นพี่เขยของอดีตนายกชาย วรวิทย์ ขาวทอง ว่าจัดการอย่างไรกับป้ายกระเช้าลอยฟ้าของนายกอุทิศในเขตหัวเขาแดง)
ภาพจากอินเตอร์เน็ต : นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
การเมืองท้องถิ่นสงขลาสมัยหน้าจึงน่าสนใจยิ่งว่า ใครจะเป็นหนึ่งในความรู้สึกนึกคิด หรือจิตใจของคนสงขลาตัวจริง ระหว่างกลุ่มของนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่มีนายพีระ ตันติเศรณี นายไพร พัฒโน และ ส.ส.พรรค ปชป.และสมาชิกพรรค ปชป.จำนวนหนึ่งเป็นแนวร่วมกับกลุ่มของนายอุทิศ ชูช่วย ที่มี ส.จ.และประชาชนที่เคยให้การสนับสนุนอย่างท่วมท้นในการสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งนี้เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว เป็นการพิสูจน์ความเป็นตัวตนของคนการเมืองสามกลุ่มอย่างแท้จริง โดยมีประชาชนในเขตเลือกตั้งทั้งจังหวัดสงขลาเป็นผู้ตัดสิน

ผลการเลือกตั้ง ส.อบจ.เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2555 อาจจะเป็นดัชนีชี้วัดอนาคตทางการเมืองของสองกลุ่มได้บ้างในบางส่วน แต่คงยังสรุปตายตัวไม่ได้ว่าฝ่ายที่ชนะในครั้งนี้จะชนะขาดในครั้งต่อไป แต่ก็พอจะอ่านความรู้สึกของประชาชนในเขตเลือกตั้งของจังหวัดสงขลาได้ดีว่า เขาพอใจใคร ศรัทธาใครในระดับท้องถิ่นให้เข้ามาดูแลชีวิต และชะตากรรมของพวกเขา โดยเฉพาะเมื่อเขามีปัญหาอุทกภัยที่นับวันจะถี่ และรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน ปัญหาคุณภาพชีวิต การเข้าถึงบริการของรัฐ ปัญหาในการทำมาหากินของประชาชนในพื้นที่ที่ปลอดรัฐมนตรี เป็นพื้นที่ของฝ่ายค้านร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นสงขลา

และที่สำคัญ คนทั่วไปจะได้เห็นกันว่าระหว่างการเมืองระดับชาติกับการเมืองท้องถิ่น ชาวใต้ และชาวสงขลาเขาคิดอย่างไร และตัดสินใจอย่างไร อีกไม่นานเกินรอคงได้รู้กันคอการเมืองท้องถิ่นสงขลาโปรดอย่ากะพริบตา

สถาบันการศึกษา กับการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน (2)/จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
สถาบันการศึกษา กับการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน (2)/จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย
ในอดีต ช่วงที่การศึกษายังอยู่ในวัด หรือสถาบันทางศาสนาที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรทั้งในทางโลก และทางธรรม กล่าวคือ การเรียนรู้ศิลปะช่างสิบหมู่ และบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย อบรมบ่มนิสัย สถาบันการศึกษาในยุคนั้นทำ “คนดิบ” ให้เป็น “คนสุข” ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การบวชเรียน” หรือการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการผ่านทางสถาบันครอบครัวโดยตรง ครั้นการศึกษาถูกแยกออกจากวัดมาอยู่ในมือของสถาบันทางการศึกษาตามแบบตะวันตก ทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เกิดวัฒนธรรมหลวงกับวัฒนธรรมราษฎร์ หรือราษฎรกับเจ้านาย เกิดชาวบ้านกับราชการ
กำลังโหลดความคิดเห็น