ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลฯ ภูเก็ต เดินหน้าดึงชุมชนร่วมอนุรักษ์เต่าทะเลระดับสากล เลือกเกาะระ-เกาะพระทอง จ.พังงา เป็นพื้นที่นำร่อง เหตุเคยเป็นแหล่งที่พบเต่าทะเลทั้ง 4 ชนิดขึ้นมาว่างไข่ แต่ยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี
นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และป่าชายเลน กล่าวถึงโครงการแก้ไขปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายโดยฝีมือมนุษย์ ว่า จากสถานการณ์เต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งอันดามันขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดต่างๆ จำนวนลดน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง และช่วงนี้ยังพบปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายโดยฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยมีเต่าทะเลที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาหาฝั่งเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากอวนบาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากต้องหันมาหาแนวร่วมจากชาวบ้าน โดยการจัดทำโครงการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับสากลขึ้น เพราะการแก้ไขปัญหาเรื่องเต่าทะเลนั้นไม่สามารถที่จะดำเนินการเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งได้ แต่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการพร้อมๆ กันในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอาเซียน เนื่องจากทะเลมีการเชื่อมต่อกันหลายประเทศ การดูแลเต่าทะเลก็ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายประเทศ
สำหรับในส่วนของสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และป่าชายเลนภูเก็ต ได้ร่วมกันจัดโครงการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลระดับสากลขึ้นที่ชุมชนเกาะพระทอง จ.พังงา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเลือกพื้นที่เกาะพระทอง และเกาะระ จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่นำร่องดำเนินโครงการ ในการสร้างเครือข่ายให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เต่าทะเล ซึ่งสาเหตุที่เลือกเกาะระ และเกาะพระทองดำเนินโครงการ เนื่องจากบริเวณชายหาดทั้ง 2 พื้นที่เป็นแหล่งที่เคยมีเต่าทะเลทั้ง 4 ชนิด คือ เต่าหญ้า เต่ากระ เต่าตนุ และเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะที่จะเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล รวมทั้งพื้นที่ในทะเลยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และเหมาะแก่การวางไข่ของเต่าทะเล แต่ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้ปัจจุบันนี้ มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ที่เกาะระ และเกาะพระทองเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง และเต่าตะนุ โดยเมื่อปี 2552 พบเต่าขึ้นมาวางไข่ 30 รัง ส่วนใหญ่เป็นเต่าตะนุ ปี2553 พบว่า จำนวนเต่าขึ้นมาวางไข่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 4-5 รังเท่านั้น ส่วนปี 54 พบเต่ามาวางไข่เพียงแค่ 2 รัง และปี 55 พบเต่าขึ้นมาวางไข่แล้ว 3 รัง ซึ่งดูจากตัวเลขแล้วพบว่า จำนวนเต่าที่ขึ้นมาวางไข่ที่เกาะดังกล่าวมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าไปสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล เนื่องจากการสำรวจพบว่า ขณะนี้แม่เต่าตะนุเริ่มเข้ามาหากินที่บริเวณเกาะใกล้เกาะดังกล่าวแล้ว ทั้ง 2 เกาะมีการบริหารจัดการที่ดี ไม่มีการบุกรุกเข้าไปทำลายแหล่งวางไข่ของเต่าเชื่อว่าอีกไม่นานจะมีเต่าจำนวนมากที่ขึ้นมาวางไข่บนเกาะทั้ง 2 แห่ง
“สำหรับการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับสากลนั้น ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันทำเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับต่างประเทศในการอนุรักษ์เต่าทะเล เพราะเต่าทะเลนั้นในแต่ละปีจะว่ายน้ำไปไกลมาก อาจจะเข้าไปที่น่านน้ำของประเทศไหนก็ได้ แต่ถ้าทุกคนร่วมมือกันทำงาน ร่วมมือกันดูแลไม่ทำร้ายเต่า เต่าก็จะว่ายน้ำกลับมาวางไข่ที่เดิมทุกปี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ประมาณ 30 ปีที่แล้วพบว่าในพื้นที่จังหวัดฝั่งอันดามันมีเต่าทะเลขึ้นวางไข่ไม่น้อยกว่า 400-500 รัง แต่ปัจจุบันพบว่า มีจำนวนลดน้อยลงเรื่องๆ และหลังจากนี้คาดว่าจำนวนเต่าที่ขึ้นมาวางไข่จะลดน้อยลงไปอีก เพราะเฉพาะภูเก็ต พังงา ก็พบเต่าทะเลตัวเต็มวัยถูกทำร้ายด้วยน้ำมือของมนุษย์ไปแล้วจำนวนมากในระยะเวลาแค่ 2-3 เดือน มีเต่าหญ้าที่ถูกเศษอวนบาดได้รับบาดเจ็บ และถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นแล้วว่า 30 ตัว” นายก้องเกียรติกล่าวในที่สุด
นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และป่าชายเลน กล่าวถึงโครงการแก้ไขปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายโดยฝีมือมนุษย์ ว่า จากสถานการณ์เต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งอันดามันขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดต่างๆ จำนวนลดน้อยลงอย่างน่าเป็นห่วง และช่วงนี้ยังพบปัญหาเต่าทะเลถูกทำร้ายโดยฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยมีเต่าทะเลที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาหาฝั่งเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากอวนบาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากต้องหันมาหาแนวร่วมจากชาวบ้าน โดยการจัดทำโครงการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับสากลขึ้น เพราะการแก้ไขปัญหาเรื่องเต่าทะเลนั้นไม่สามารถที่จะดำเนินการเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งได้ แต่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการพร้อมๆ กันในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอาเซียน เนื่องจากทะเลมีการเชื่อมต่อกันหลายประเทศ การดูแลเต่าทะเลก็ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายประเทศ
สำหรับในส่วนของสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และป่าชายเลนภูเก็ต ได้ร่วมกันจัดโครงการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลระดับสากลขึ้นที่ชุมชนเกาะพระทอง จ.พังงา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยเลือกพื้นที่เกาะพระทอง และเกาะระ จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่นำร่องดำเนินโครงการ ในการสร้างเครือข่ายให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เต่าทะเล ซึ่งสาเหตุที่เลือกเกาะระ และเกาะพระทองดำเนินโครงการ เนื่องจากบริเวณชายหาดทั้ง 2 พื้นที่เป็นแหล่งที่เคยมีเต่าทะเลทั้ง 4 ชนิด คือ เต่าหญ้า เต่ากระ เต่าตนุ และเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ และเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะที่จะเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล รวมทั้งพื้นที่ในทะเลยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และเหมาะแก่การวางไข่ของเต่าทะเล แต่ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ทำให้ปัจจุบันนี้ มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ที่เกาะระ และเกาะพระทองเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง และเต่าตะนุ โดยเมื่อปี 2552 พบเต่าขึ้นมาวางไข่ 30 รัง ส่วนใหญ่เป็นเต่าตะนุ ปี2553 พบว่า จำนวนเต่าขึ้นมาวางไข่น้อยลงเหลือเพียงประมาณ 4-5 รังเท่านั้น ส่วนปี 54 พบเต่ามาวางไข่เพียงแค่ 2 รัง และปี 55 พบเต่าขึ้นมาวางไข่แล้ว 3 รัง ซึ่งดูจากตัวเลขแล้วพบว่า จำนวนเต่าที่ขึ้นมาวางไข่ที่เกาะดังกล่าวมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าไปสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล เนื่องจากการสำรวจพบว่า ขณะนี้แม่เต่าตะนุเริ่มเข้ามาหากินที่บริเวณเกาะใกล้เกาะดังกล่าวแล้ว ทั้ง 2 เกาะมีการบริหารจัดการที่ดี ไม่มีการบุกรุกเข้าไปทำลายแหล่งวางไข่ของเต่าเชื่อว่าอีกไม่นานจะมีเต่าจำนวนมากที่ขึ้นมาวางไข่บนเกาะทั้ง 2 แห่ง
“สำหรับการสร้างเครือข่ายอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับสากลนั้น ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันทำเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับต่างประเทศในการอนุรักษ์เต่าทะเล เพราะเต่าทะเลนั้นในแต่ละปีจะว่ายน้ำไปไกลมาก อาจจะเข้าไปที่น่านน้ำของประเทศไหนก็ได้ แต่ถ้าทุกคนร่วมมือกันทำงาน ร่วมมือกันดูแลไม่ทำร้ายเต่า เต่าก็จะว่ายน้ำกลับมาวางไข่ที่เดิมทุกปี ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ประมาณ 30 ปีที่แล้วพบว่าในพื้นที่จังหวัดฝั่งอันดามันมีเต่าทะเลขึ้นวางไข่ไม่น้อยกว่า 400-500 รัง แต่ปัจจุบันพบว่า มีจำนวนลดน้อยลงเรื่องๆ และหลังจากนี้คาดว่าจำนวนเต่าที่ขึ้นมาวางไข่จะลดน้อยลงไปอีก เพราะเฉพาะภูเก็ต พังงา ก็พบเต่าทะเลตัวเต็มวัยถูกทำร้ายด้วยน้ำมือของมนุษย์ไปแล้วจำนวนมากในระยะเวลาแค่ 2-3 เดือน มีเต่าหญ้าที่ถูกเศษอวนบาดได้รับบาดเจ็บ และถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นแล้วว่า 30 ตัว” นายก้องเกียรติกล่าวในที่สุด