ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ภูเก็ต ระบุ ประเทศไทยเป็นประเทศแรก สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการรีดน้ำเชื้อในเต่าทะเลสำเร็จ เผยทดลองนำน้ำเชื้อจากตัวผู้ไปผสมกับตัวเมียแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการติดตามผล
นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ปัจจุบัน ปัญหาเต่าทะเลถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ นับวันเต่าทะเลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์เต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน และประเทศไทย
นายก้องเกียรติ กล่าวอีกว่า จากโครงการที่เราได้มีการศึกษาวิจัย ซึ่งมีหลายด้าน ทั้งเรื่องการป้องกัน ฟื้นฟูและอนุรักษ์เต่าทะเลไม่ให้สูญพันธุ์ เช่น เรื่องการสร้างพื้นที่อนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นมา และรักษาพื้นที่ไว้ให้เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ เพราะจากการติดตามพบว่า เต่าทะเลออกจากรังจุดใดก็จะกลับมาวางไข่ในที่เดิม ถ้ามีการเข้าไปรบกวนมากเต่าก็จะไม่กลับมาวางไข่
นอกจากนั้น ยังดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเลโดยการผสมพันธุ์ หรือการผสมเทียม ซึ่งในปีนี้เราเริ่มทดลองผสมเทียมเต่าทะเลแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ที่ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากประสบความสำเร็จในการรีดน้ำเชื้อเต่าทะเล ทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วย เต่ากระ เต่าตนุ และเต่าหญ้า แต่ที่เน้นมากที่สุดในขณะนี้ คือ เต่าหญ้า เนื่องจากเป็นเต่าที่มีจำนวนเหลือน้อย โดยเมื่อประมาณปลายเดือนที่ผ่านมา เราได้เอาน้ำเชื้อของเต่าหญ้าตัวผู้ไปผสมในเต่าตัวเมียแล้ว และตอนนี้อยู่ระหว่างการรอดูผลการผสมพันธุ์ ว่า มีความคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหนบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพ่อแม่เต่าเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ถึงจะรู้การเปลี่ยนแปลง
สำหรับการทดลองรีดน้ำเชื้อเต่าทะเลนั้น ขณะนี้ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการรีดน้ำเชื้อในเต่าทะเลขึ้นมา โดยใช้หลักการ คือ ใช้ไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดการหลั่งของน้ำเชื้อขึ้นมา ซึ่งเป็นเครื่องมือประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการเพาะขยายพันธุ์หมีแพนด้าของไทย อันนี้ถือเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” นายก้องเกียรติ กล่าว และว่า
อย่างไรก็ตาม การผสมพันธุ์เต่าทะเลนั้นเพิ่งเริ่มดำเนินการ ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์ได้หรือไม่ และตอนนี้ก็มีปัญหาเรื่องการเก็บน้ำเชื้อให้ได้ระยะยาวขึ้น ถ้าสามารถเก็บน้ำเชื้อให้ได้นานมากขึ้น ในอนาคต เราอาจจะมีการแลกเปลี่ยนน้ำเชื้อระหว่างเต่าจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งได้ เพื่อให้เต่าที่เลี้ยงไว้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวถึงความร่วมมือของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีของประเทศว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์เต่าในภูมิภาคนี้ และปีนี้ก็ได้มีการประชุมเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีการหยิบยกมาพูดในเวทีการประชุม คือ ความพยายามที่จะยกระดับแหล่งวางไข่ของเต่าในทะเล เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในระดับโลก เช่นเดียวกับเรื่องของพื้นที่ชุ่มน้ำ เรื่องของมรดกโลกต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการสูญพันธุ์ต่อไป
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปถึงสถานการณ์เต่าทะเลในฝั่งอันดามัน ว่า ในปีที่ผ่านมา พบเต่าตนุขึ้นมาวางไข่ที่เกาะสิมิลัน จ.พังงา จำนวน 100 รัง ซึ่งยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ และแนวโน้มค่อนข้างดีขึ้น ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้าเนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่พบว่าเต่าทั้ง 2 ชนิดขึ้นมาวางไข่เลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เต่าไม่ขึ้นมาวางไข่ คิดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่วนหนึ่ง
และเรื่องของจำนวนเต่าที่มีจำนวนลดน้อยลงมากอยู่แล้ว และรวมถึงเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่มีผลต่อการลดลงของเต่าทะเล ส่วนวิธีแก้ไข อย่างที่บอก ชายหาดเป็นแค่พื้นที่ส่วนหนึ่งที่เต่ามาใช้ชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือ ให้พื้นที่คุ้มครองในทะเล แล้วก็ร่วมมือกับหลายๆ ประเทศช่วยกันดูแลเต่าทะเลให้มากขึ้น และที่สำคัญคือ คนในชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์เต่าทะเลด้วย
นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จังหวัดภูเก็ต กล่าวที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ปัจจุบัน ปัญหาเต่าทะเลถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ นับวันเต่าทะเลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์เต่าทะเลในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน และประเทศไทย
นายก้องเกียรติ กล่าวอีกว่า จากโครงการที่เราได้มีการศึกษาวิจัย ซึ่งมีหลายด้าน ทั้งเรื่องการป้องกัน ฟื้นฟูและอนุรักษ์เต่าทะเลไม่ให้สูญพันธุ์ เช่น เรื่องการสร้างพื้นที่อนุรักษ์เต่าทะเลขึ้นมา และรักษาพื้นที่ไว้ให้เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ เพราะจากการติดตามพบว่า เต่าทะเลออกจากรังจุดใดก็จะกลับมาวางไข่ในที่เดิม ถ้ามีการเข้าไปรบกวนมากเต่าก็จะไม่กลับมาวางไข่
นอกจากนั้น ยังดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเลโดยการผสมพันธุ์ หรือการผสมเทียม ซึ่งในปีนี้เราเริ่มทดลองผสมเทียมเต่าทะเลแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ที่ทางกลุ่มสัตว์ทะเลหายากประสบความสำเร็จในการรีดน้ำเชื้อเต่าทะเล ทั้ง 3 ชนิด ประกอบด้วย เต่ากระ เต่าตนุ และเต่าหญ้า แต่ที่เน้นมากที่สุดในขณะนี้ คือ เต่าหญ้า เนื่องจากเป็นเต่าที่มีจำนวนเหลือน้อย โดยเมื่อประมาณปลายเดือนที่ผ่านมา เราได้เอาน้ำเชื้อของเต่าหญ้าตัวผู้ไปผสมในเต่าตัวเมียแล้ว และตอนนี้อยู่ระหว่างการรอดูผลการผสมพันธุ์ ว่า มีความคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหนบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพ่อแม่เต่าเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ถึงจะรู้การเปลี่ยนแปลง
สำหรับการทดลองรีดน้ำเชื้อเต่าทะเลนั้น ขณะนี้ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการรีดน้ำเชื้อในเต่าทะเลขึ้นมา โดยใช้หลักการ คือ ใช้ไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดการหลั่งของน้ำเชื้อขึ้นมา ซึ่งเป็นเครื่องมือประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการเพาะขยายพันธุ์หมีแพนด้าของไทย อันนี้ถือเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” นายก้องเกียรติ กล่าว และว่า
อย่างไรก็ตาม การผสมพันธุ์เต่าทะเลนั้นเพิ่งเริ่มดำเนินการ ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์ได้หรือไม่ และตอนนี้ก็มีปัญหาเรื่องการเก็บน้ำเชื้อให้ได้ระยะยาวขึ้น ถ้าสามารถเก็บน้ำเชื้อให้ได้นานมากขึ้น ในอนาคต เราอาจจะมีการแลกเปลี่ยนน้ำเชื้อระหว่างเต่าจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งได้ เพื่อให้เต่าที่เลี้ยงไว้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวถึงความร่วมมือของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีของประเทศว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์เต่าในภูมิภาคนี้ และปีนี้ก็ได้มีการประชุมเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลในประเทศไทย ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีการหยิบยกมาพูดในเวทีการประชุม คือ ความพยายามที่จะยกระดับแหล่งวางไข่ของเต่าในทะเล เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในระดับโลก เช่นเดียวกับเรื่องของพื้นที่ชุ่มน้ำ เรื่องของมรดกโลกต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการสูญพันธุ์ต่อไป
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปถึงสถานการณ์เต่าทะเลในฝั่งอันดามัน ว่า ในปีที่ผ่านมา พบเต่าตนุขึ้นมาวางไข่ที่เกาะสิมิลัน จ.พังงา จำนวน 100 รัง ซึ่งยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ และแนวโน้มค่อนข้างดีขึ้น ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้าเนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่พบว่าเต่าทั้ง 2 ชนิดขึ้นมาวางไข่เลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เต่าไม่ขึ้นมาวางไข่ คิดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่วนหนึ่ง
และเรื่องของจำนวนเต่าที่มีจำนวนลดน้อยลงมากอยู่แล้ว และรวมถึงเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่มีผลต่อการลดลงของเต่าทะเล ส่วนวิธีแก้ไข อย่างที่บอก ชายหาดเป็นแค่พื้นที่ส่วนหนึ่งที่เต่ามาใช้ชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือ ให้พื้นที่คุ้มครองในทะเล แล้วก็ร่วมมือกับหลายๆ ประเทศช่วยกันดูแลเต่าทะเลให้มากขึ้น และที่สำคัญคือ คนในชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์เต่าทะเลด้วย