ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เร่งรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตัง และทำการผสมเทียมเพื่อผลิตลูกพันธุ์ปลาขี้ตัง หลังเกษตรกรขาดแคลนลูกพันธุ์ปลาขี้ตังอย่างหนัก

จากการที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประสบปัญหาในการเพาะพันธุ์ปลาขี้ตัง สาเหตุจากระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลาเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา มีไข่ที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ส่งผลให้การผสมเทียมปลาขี้ตังมีปัญหา
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ก็ไม่ได้ละความพยายามในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ยังคงทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา โดยในวันนี้ (3 พ.ค.) ได้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จำนวน 10 ตัว มาทำการฉีดผสมเทียมกระตุ้นด้วยฮอร์โมน และรีดไข่ผสมเทียม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาขี้ตังในกระชัง หลังขาดแคลนลูกปลาขี้ตังมาหลายเดือน ซึ่งผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

นายมาวิทย์ อัศวอารีย์ นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มวิจัยการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปกติเราก็ต้องอาศัยชาวประมงในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาให้เรา โดยการไปวางลอบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา โดยเราจะออกไปรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น เราก็จะเช็กความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาก่อนที่จะนำมาผสมเทียม โดยการดูดไข่ออกมาดูว่าไข่มีความพร้อมในการที่จะกระตุ้นฮอร์โมนหรือยัง หากไข่มีความพร้อมที่จะกระตุ้นฮอร์โมน เราก็จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาทำการกระตุ้นฮอร์โมนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยจะใช้ระยะเวลาฉีดผสมเทียมหลังจากที่เราฉีดกระตุ้นฮอร์โมน 32-36 ชั่วโมง พ่อแม่พันธุ์ปลา โดยเฉพาะแม่ปลาจะมีไข่สุกแล้วเราจะรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้ นั่นคือขั้นตอนการผสมเทียม

ในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาต่อ 1 ครั้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 10-15 ตัว ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาซึ่งเราจะทำการคัด ปกติช่วงที่ปลาขี้ตังจะวางไข่ในรอบปีมี 2 ช่วง คือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนสิงหาคม-กันยายน การผสมเทียมในวันนี้ก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ประมาณ 50% สำหรับการฟักเป็นตัวของไข่ปลาขี้ตังจะใช้ระยะเวลา 17 ชั่วโมง หลังจากผสมเทียม แล้วปลาก็จะฟักเป็นตัว หลังจากรุ่นนี้แล้วในสัปดาห์หน้า ก็จะดำเนินการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามาทำการผสมเทียมในรุ่นต่อไป เนื่องจากยังเหลือระยะเวลาในการผสมเทียมเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียวเท่านั้น ก็จะพ้นช่วงที่ปลาขี้ตังวางไข่ โดยสถาบันฯเองก็จะพยายามเพาะพันธุ์ปลาขี้ตังให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้


จากการที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ประสบปัญหาในการเพาะพันธุ์ปลาขี้ตัง สาเหตุจากระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนไป หลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลาเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา มีไข่ที่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ส่งผลให้การผสมเทียมปลาขี้ตังมีปัญหา
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ก็ไม่ได้ละความพยายามในการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ยังคงทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา โดยในวันนี้ (3 พ.ค.) ได้นำพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่รวบรวมได้จำนวน 10 ตัว มาทำการฉีดผสมเทียมกระตุ้นด้วยฮอร์โมน และรีดไข่ผสมเทียม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เลี้ยงปลาขี้ตังในกระชัง หลังขาดแคลนลูกปลาขี้ตังมาหลายเดือน ซึ่งผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร
นายมาวิทย์ อัศวอารีย์ นักวิชาการประมงชำนาญการ รักษาการหัวหน้ากลุ่มวิจัยการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ปกติเราก็ต้องอาศัยชาวประมงในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาให้เรา โดยการไปวางลอบบริเวณปากทะเลสาบสงขลา โดยเราจะออกไปรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น เราก็จะเช็กความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาก่อนที่จะนำมาผสมเทียม โดยการดูดไข่ออกมาดูว่าไข่มีความพร้อมในการที่จะกระตุ้นฮอร์โมนหรือยัง หากไข่มีความพร้อมที่จะกระตุ้นฮอร์โมน เราก็จะนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาทำการกระตุ้นฮอร์โมนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยจะใช้ระยะเวลาฉีดผสมเทียมหลังจากที่เราฉีดกระตุ้นฮอร์โมน 32-36 ชั่วโมง พ่อแม่พันธุ์ปลา โดยเฉพาะแม่ปลาจะมีไข่สุกแล้วเราจะรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้ นั่นคือขั้นตอนการผสมเทียม
ในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาต่อ 1 ครั้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 10-15 ตัว ตรงนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์ปลาซึ่งเราจะทำการคัด ปกติช่วงที่ปลาขี้ตังจะวางไข่ในรอบปีมี 2 ช่วง คือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และเดือนสิงหาคม-กันยายน การผสมเทียมในวันนี้ก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ประมาณ 50% สำหรับการฟักเป็นตัวของไข่ปลาขี้ตังจะใช้ระยะเวลา 17 ชั่วโมง หลังจากผสมเทียม แล้วปลาก็จะฟักเป็นตัว หลังจากรุ่นนี้แล้วในสัปดาห์หน้า ก็จะดำเนินการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลาขี้ตังที่ใช้ในการผสมเทียมจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทะเลสาบสงขลามาทำการผสมเทียมในรุ่นต่อไป เนื่องจากยังเหลือระยะเวลาในการผสมเทียมเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียวเท่านั้น ก็จะพ้นช่วงที่ปลาขี้ตังวางไข่ โดยสถาบันฯเองก็จะพยายามเพาะพันธุ์ปลาขี้ตังให้ได้มากที่สุดในช่วงนี้