ศูนย์ข่าวาหาดใหญ่ - ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มีฝนตกทุกวัน จะต้องเฝ้าระวังและดูแลปลาที่เลี้ยง ให้ระวังเรื่องอาหารและโรค รวมทั้งระดับน้ำที่สูงขึ้น
วันนี้ (10 ม.ค.) จากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในช่วงนี้มีฝนตกลงมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำในทะเลสาบสงขลา และในลำคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลมีระดับสูงขึ้น ส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสงขลามีผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังหลายพื้นที่เป็นจำนวนมาก ที่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำและเชื้อโรคในน้ำ รวมทั้งน้ำท่วมกระชังด้วย
เพราะฉะนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของน้ำที่จะมีผลต่อการกินอาหารของปลาลดลง จึงควรปรับปริมาณการให้อาหารในแต่ละมื้อลง โดยให้อาหารที่ละน้อยเท่าที่ปลากินหมด และเฝ้าระวังเรื่องโรคและระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ว่า สำหรับในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนตกระดับน้ำในทะเลจะสูง เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถเก็บผลผลิตได้ก็ต้องรีบเก็บผลผลิตขาย เพราะถ้าทิ้งไว้ก็อาจจะมีความเสี่ยง
ถ้าปลายังเล็กอยู่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร เพราะในช่วงนี้อุณหภูมิต่ำ ปลาจะกินอาหารน้อยลง ถ้าให้มากเกินไปจะเป็นผลเสียและอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องเชื้อโรค ในช่วงนี้เชื้อโรคในน้ำจะสูง เพราะวงจรชีวิตในช่วงนี้จะยาวกว่าปกติ โอกาสที่จะเข้าในเหงือกและมาเกาะตัวปลามีโอกาสสูง
เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวัง เพราะถ้าปลากินอาหารน้อยลงต้องลดอาหารลง ถ้าปลามีเชื้อโรคตัวเบียฬเยอะ ต้องนำปลาขึ้นมาแช่ฟอร์มาลิน หรือพวกคอฟเฟอร์ซันเฟส เพื่อที่จะลดปริมาณของเชื้อที่มาเกาะตามตัวปลาให้ลดลง และในช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง เกษตรกรจะต้องเลื่อนระดับกระชังให้สูงขึ้น ถ้ามีเศษอวนก็ให้เย็บปิดฝากระชังเลย ป้องกันไม่ให้ปลาหลุดลอดไปข้างนอก
วันนี้ (10 ม.ค.) จากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในช่วงนี้มีฝนตกลงมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำในทะเลสาบสงขลา และในลำคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลมีระดับสูงขึ้น ส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสงขลามีผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังหลายพื้นที่เป็นจำนวนมาก ที่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำและเชื้อโรคในน้ำ รวมทั้งน้ำท่วมกระชังด้วย
เพราะฉะนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของน้ำที่จะมีผลต่อการกินอาหารของปลาลดลง จึงควรปรับปริมาณการให้อาหารในแต่ละมื้อลง โดยให้อาหารที่ละน้อยเท่าที่ปลากินหมด และเฝ้าระวังเรื่องโรคและระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น
นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ว่า สำหรับในช่วงนี้เป็นช่วงที่ฝนตกระดับน้ำในทะเลจะสูง เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถเก็บผลผลิตได้ก็ต้องรีบเก็บผลผลิตขาย เพราะถ้าทิ้งไว้ก็อาจจะมีความเสี่ยง
ถ้าปลายังเล็กอยู่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องอาหาร เพราะในช่วงนี้อุณหภูมิต่ำ ปลาจะกินอาหารน้อยลง ถ้าให้มากเกินไปจะเป็นผลเสียและอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องเชื้อโรค ในช่วงนี้เชื้อโรคในน้ำจะสูง เพราะวงจรชีวิตในช่วงนี้จะยาวกว่าปกติ โอกาสที่จะเข้าในเหงือกและมาเกาะตัวปลามีโอกาสสูง
เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวัง เพราะถ้าปลากินอาหารน้อยลงต้องลดอาหารลง ถ้าปลามีเชื้อโรคตัวเบียฬเยอะ ต้องนำปลาขึ้นมาแช่ฟอร์มาลิน หรือพวกคอฟเฟอร์ซันเฟส เพื่อที่จะลดปริมาณของเชื้อที่มาเกาะตามตัวปลาให้ลดลง และในช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง เกษตรกรจะต้องเลื่อนระดับกระชังให้สูงขึ้น ถ้ามีเศษอวนก็ให้เย็บปิดฝากระชังเลย ป้องกันไม่ให้ปลาหลุดลอดไปข้างนอก