ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากเผยเวลา 2 เดือนกว่า พบเต่าหญ้าเพศเมียเกยตื้นชายหาดภูเก็ต-พังงา แล้ว 24 ตัว ส่วนใหญ่ถูกอวนรัดจนได้รับบาดเจ็บ ล่าสุด วันนี้เกยตื้นอีก 1 ตัว ที่หาดกะรนพบถูกอวนรัดจนขาขาดเจ้าหน้าที่นำตัวรักษา
เมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. วันนี้ (6 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ด ประจำหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ได้ช่วยเหลือเต่าทะเลขนาดใหญ่ ที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดใกล้วงเวียนกะรน ในสภาพได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขาหน้าทั้ง 2 ขา เนื่องจากถูกอวนรัด โดยบริเวณขาหน้าด้านขวาพบว่าถูกอวนรัดจนขาขาด ขณะที่ขาหน้าด้านซ้ายก็ถูกอวนบาดจนถึงกล้ามเนื้อ ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ประกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้นำเต่าตัวดังกล่าวไปอนุบาล และรักษาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว
นายก้องเกียรติ กิติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สภาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวว่า สำหรับเต่าทะเลที่พบขึ้นมาเกยตื้นที่หาดกะรนในวันนี้ (6 ก.ย.) เป็นเต่าหญ้าเพศเมีย ขนาดตัวเต็มวัย ความยาวประมาณ 68 ซม. สภาพภายนอกพบว่าถูกเศษอวนรัดจนขาหน้าด้านขวาขาด ส่วนขาหน้าด้านซ้ายถูกอวนรัดจนบาดลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยในเบื้องต้น ทางสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากจะทำการรักษาเพื่อฟื้นสภาพร่างกายก่อน โดยให้ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบในการรักษา เช่นเดียวกับเต่าทะเลตัวอื่นๆ ที่ได้ช่วยเหลือมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีหลายตัวที่จะต้องทำการผ่าตัดเนื่องจากบาดแผลถูกอวนรัดจนขาขาด บางตัวถูกอวนบาดจนเห็นกระดูก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดูแลรักษา ซึ่งเต่าทุกตัวที่ช่วยเหลือมาได้ยังมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย. พบว่า มีเต่าหญ้าเข้ามาเกยตื้นแล้วจำนวน 24 ตัว และทั้งหมดเป็นเต่าเพศเมียขนาดตัวเต็มวัย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีเต่าถึง 21 ตัวที่เข้ามาเกยตื้นในสภาพที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากถูกอวนบาดขาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส บางตัวขาขาด บางตัวถูกอวนบาดจนเป็นแผลฉกรรจ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากยังคงต้องดูแลรักษา และทำแผลให้เต่าเหล่านี้ทุกวัน รวมทั้งดูแลเรื่องของการให้อาหารเพื่อให้เต่าสามารถฟื้นตัวได้เร็วพร้อมที่จะรับการผาตัดในส่วนของตัวที่ขาขาด ส่วนอีก 3 ตัวที่เหลือพบว่า เข้ามาเกยตื้นเนื่องจากติดคราบน้ำมัน และกินถุงพลาสติกเข้าไป
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเต่าที่ขึ้นมาเกยตื้นในช่วงนี้ทั้งหมดเป็นเต่าหญ้า และขนาดตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์เพื่อวางไข่ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าในปีนี้ จำนวนเต่าหญ้าที่เข้ามาวางไข่บริเวณอันดามันจะมีจำนวนลดลงอย่างแน่นอน เพราะระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือนเศษพบว่ามีเต่าหญ้าเพศเมียขึ้นมาเกยตื้นแล้วถึง 24 ตัว ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก และที่สำคัญเกือบทุกตัวถูกอวนบาดจนได้รับบาดเจ็บทั้งหมด มีทั้งบาดเจ็บสาหัส และบาดเจ็บเล็กน้อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ทำรายงานไปทางผู้อำนวยการสภาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน แล้ว เพื่อหาแนวทางในการทำแผนงานโครงการรณรงค์ลดขยะประมง และขยะพลาสติกที่ทิ้งลงในทะเล เพราะเชื่อว่าถ้ายังเป็นแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลโดยเฉพาะเต่าทะเลอย่างแน่นอน
เมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. วันนี้ (6 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ไลฟ์การ์ด ประจำหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ได้ช่วยเหลือเต่าทะเลขนาดใหญ่ ที่ว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้นบริเวณชายหาดใกล้วงเวียนกะรน ในสภาพได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขาหน้าทั้ง 2 ขา เนื่องจากถูกอวนรัด โดยบริเวณขาหน้าด้านขวาพบว่าถูกอวนรัดจนขาขาด ขณะที่ขาหน้าด้านซ้ายก็ถูกอวนบาดจนถึงกล้ามเนื้อ ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ประกลุ่มสัตว์ทะเลหายากได้นำเต่าตัวดังกล่าวไปอนุบาล และรักษาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว
นายก้องเกียรติ กิติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สภาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กล่าวว่า สำหรับเต่าทะเลที่พบขึ้นมาเกยตื้นที่หาดกะรนในวันนี้ (6 ก.ย.) เป็นเต่าหญ้าเพศเมีย ขนาดตัวเต็มวัย ความยาวประมาณ 68 ซม. สภาพภายนอกพบว่าถูกเศษอวนรัดจนขาหน้าด้านขวาขาด ส่วนขาหน้าด้านซ้ายถูกอวนรัดจนบาดลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยในเบื้องต้น ทางสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากจะทำการรักษาเพื่อฟื้นสภาพร่างกายก่อน โดยให้ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบในการรักษา เช่นเดียวกับเต่าทะเลตัวอื่นๆ ที่ได้ช่วยเหลือมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีหลายตัวที่จะต้องทำการผ่าตัดเนื่องจากบาดแผลถูกอวนรัดจนขาขาด บางตัวถูกอวนบาดจนเห็นกระดูก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดูแลรักษา ซึ่งเต่าทุกตัวที่ช่วยเหลือมาได้ยังมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย. พบว่า มีเต่าหญ้าเข้ามาเกยตื้นแล้วจำนวน 24 ตัว และทั้งหมดเป็นเต่าเพศเมียขนาดตัวเต็มวัย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีเต่าถึง 21 ตัวที่เข้ามาเกยตื้นในสภาพที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากถูกอวนบาดขาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส บางตัวขาขาด บางตัวถูกอวนบาดจนเป็นแผลฉกรรจ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากยังคงต้องดูแลรักษา และทำแผลให้เต่าเหล่านี้ทุกวัน รวมทั้งดูแลเรื่องของการให้อาหารเพื่อให้เต่าสามารถฟื้นตัวได้เร็วพร้อมที่จะรับการผาตัดในส่วนของตัวที่ขาขาด ส่วนอีก 3 ตัวที่เหลือพบว่า เข้ามาเกยตื้นเนื่องจากติดคราบน้ำมัน และกินถุงพลาสติกเข้าไป
นายก้องเกียรติ กล่าวต่อไปว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเต่าที่ขึ้นมาเกยตื้นในช่วงนี้ทั้งหมดเป็นเต่าหญ้า และขนาดตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์เพื่อวางไข่ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเชื่อว่าในปีนี้ จำนวนเต่าหญ้าที่เข้ามาวางไข่บริเวณอันดามันจะมีจำนวนลดลงอย่างแน่นอน เพราะระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือนเศษพบว่ามีเต่าหญ้าเพศเมียขึ้นมาเกยตื้นแล้วถึง 24 ตัว ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก และที่สำคัญเกือบทุกตัวถูกอวนบาดจนได้รับบาดเจ็บทั้งหมด มีทั้งบาดเจ็บสาหัส และบาดเจ็บเล็กน้อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ทำรายงานไปทางผู้อำนวยการสภาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน แล้ว เพื่อหาแนวทางในการทำแผนงานโครงการรณรงค์ลดขยะประมง และขยะพลาสติกที่ทิ้งลงในทะเล เพราะเชื่อว่าถ้ายังเป็นแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลโดยเฉพาะเต่าทะเลอย่างแน่นอน