ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เต่าหญ้าเพศเมียพาเหรดเกยตื้นชายหาดภูเก็ต-พังงา วันเดียวขึ้น 6 ตัว ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากเศษอวนบาด บางตัวขาขาด ขณะช่วง 3 วันที่ผ่านมา มีเต่าทะเล รวมทั้งสัตว์ทะเลประเภทโลมา และพะยูนขึ้นมาเกยตื้นเป็นจำนวนมากจากเหตุคลื่นลมแรง
วันนี้ (28 ส.ค.) เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต รับแจ้งมีเหตุเต่าทะเลขึ้นมาเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงาจำนวนหลายตัว หลังรับแจ้ง นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกไปทำการช่วยเหลือ และรับเต่าทะเลมารักษาและอนุบาลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ซึ่งเต่าที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในวันนี้ (28 ส.ค.) มีมากถึง 6 ตัว ซึ่งทั้งหมดเป็นเต่าหญ้าเพศเมียขนาดตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากถูกเศษอวนบาด บางตัวขาขาดทั้ง 2 ข้าง บางตัวถูกเศษอวนบาดจนถึงกระดูก บางตัวมีบาดแผลบนกระดอง คาดว่าน่าจะถูกใบพัดเรือ
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า สำหรับเต่าทะเลทั้ง 6 ตัวที่เข้ามาเกยตื้นในวันนี้ เป็นเต่าที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่หาดไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จำนวน 4 ตัว และอีก 2 ตัวช่วยเหลือมาจากเกาะคอเขา และบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นที่น่าสังเกตว่า เต่าทะเลทั้ง 6 ตัวที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในครั้งนี้ เป็นเต่าเพศเมีย และเต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่ไม่พบขึ้นมาวางไข่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และเป็นเต่าที่หายาก อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. จนถึงวันนี้ (28 ส.ค.) มีสัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเล พะยูน และโลมาถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงาแล้วประมาณ 10 ตัว ซึ่งในส่วนของเต่าทะเลพบว่ายังมีชีวิตทั้งหมด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเข้ามาเกยตื้นจำนวนมากในช่วงนี้ ก็เนื่องจากเต่าได้รับบาดเจ็บจากเศษอวนรัด ซึ่งบางตัวถูกรัดจนขาขาด บางตัวตัวถูกรัดจนไม่สามารถดำน้ำได้ทำให้ต้องลอยน้ำอยู่เป็นเวลานานทำให้มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงทำให้ซัดเอาเต่าทะเลที่ได้รับบาดเจ็บเข้ามาเกยตื้น ประกอบกับช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เต่าว่ายน้ำจากทะเลลึกเข้ามาบริเวณชายฝั่งเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ และเตรียมวางไข่ในช่วงปลายปี คือ ช่วงระหว่างเดือน พ.ย.-ม.ค. ของทุกปี เมื่อเต่าว่ายน้ำเข้ามาใกล้ชายฝั่ง และมาเจอกับเศษอวนซึ่งมีปลาติดอยู่ก็จะว่ายน้ำเข้าไปหาเพื่อกินปลาก็จะถูกอวนรัดจนดิ้นไม่หลุด บางตัวดิ้นจนขาขาดทั้ง 2 ข้าง
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง และเป็นภัยกับสัตว์ทะเลมากที่สุด คือ เรื่องของปัญหาขยะในทะเล ซึ่งมีทั้งเศษอวน และถุงพลาสติก ซึ่งพบว่าเต่าทะเลที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นประมาณ 60% ได้รับบาดเจ็บจากถูกอวนบาด มีน้อยมากที่เจ็บป่วยโดยธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้คงจะต้องสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชน และชาวประมงให้เห็นความสำคัญของการไม่ทิ้งเศษอวนลงในทะเล หรือเศษขยะลงในทะเล รวมทั้งน้ำมันเครื่อง หรือน้ำมันต่างๆ ลงทะเล เพราะสิ่งเหล้านั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ทะเลเป็นอย่างมาก
วันนี้ (28 ส.ค.) เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต รับแจ้งมีเหตุเต่าทะเลขึ้นมาเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงาจำนวนหลายตัว หลังรับแจ้ง นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกไปทำการช่วยเหลือ และรับเต่าทะเลมารักษาและอนุบาลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ ซึ่งเต่าที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในวันนี้ (28 ส.ค.) มีมากถึง 6 ตัว ซึ่งทั้งหมดเป็นเต่าหญ้าเพศเมียขนาดตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากถูกเศษอวนบาด บางตัวขาขาดทั้ง 2 ข้าง บางตัวถูกเศษอวนบาดจนถึงกระดูก บางตัวมีบาดแผลบนกระดอง คาดว่าน่าจะถูกใบพัดเรือ
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า สำหรับเต่าทะเลทั้ง 6 ตัวที่เข้ามาเกยตื้นในวันนี้ เป็นเต่าที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่หาดไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต จำนวน 4 ตัว และอีก 2 ตัวช่วยเหลือมาจากเกาะคอเขา และบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นที่น่าสังเกตว่า เต่าทะเลทั้ง 6 ตัวที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในครั้งนี้ เป็นเต่าเพศเมีย และเต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่ไม่พบขึ้นมาวางไข่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และเป็นเต่าที่หายาก อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. จนถึงวันนี้ (28 ส.ค.) มีสัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเล พะยูน และโลมาถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงาแล้วประมาณ 10 ตัว ซึ่งในส่วนของเต่าทะเลพบว่ายังมีชีวิตทั้งหมด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเข้ามาเกยตื้นจำนวนมากในช่วงนี้ ก็เนื่องจากเต่าได้รับบาดเจ็บจากเศษอวนรัด ซึ่งบางตัวถูกรัดจนขาขาด บางตัวตัวถูกรัดจนไม่สามารถดำน้ำได้ทำให้ต้องลอยน้ำอยู่เป็นเวลานานทำให้มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรงทำให้ซัดเอาเต่าทะเลที่ได้รับบาดเจ็บเข้ามาเกยตื้น ประกอบกับช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เต่าว่ายน้ำจากทะเลลึกเข้ามาบริเวณชายฝั่งเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ และเตรียมวางไข่ในช่วงปลายปี คือ ช่วงระหว่างเดือน พ.ย.-ม.ค. ของทุกปี เมื่อเต่าว่ายน้ำเข้ามาใกล้ชายฝั่ง และมาเจอกับเศษอวนซึ่งมีปลาติดอยู่ก็จะว่ายน้ำเข้าไปหาเพื่อกินปลาก็จะถูกอวนรัดจนดิ้นไม่หลุด บางตัวดิ้นจนขาขาดทั้ง 2 ข้าง
นายก้องเกียรติ ยังได้กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง และเป็นภัยกับสัตว์ทะเลมากที่สุด คือ เรื่องของปัญหาขยะในทะเล ซึ่งมีทั้งเศษอวน และถุงพลาสติก ซึ่งพบว่าเต่าทะเลที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นประมาณ 60% ได้รับบาดเจ็บจากถูกอวนบาด มีน้อยมากที่เจ็บป่วยโดยธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้คงจะต้องสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชน และชาวประมงให้เห็นความสำคัญของการไม่ทิ้งเศษอวนลงในทะเล หรือเศษขยะลงในทะเล รวมทั้งน้ำมันเครื่อง หรือน้ำมันต่างๆ ลงทะเล เพราะสิ่งเหล้านั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ทะเลเป็นอย่างมาก