คอลัมน์ : จุดคบไฟใต้
โดย...ไชยยงค์ มณีพิลึก
“ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คือความไม่เป็นธรรม” ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กล่าวคำพูดประโยคนี้ แต่ถือว่าเป็นคำพูดคำกล่าวที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะกับ “นิยาม” ของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
เพราะรากเหง้าของปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนจวบจนถึงวันนี้ ล้วนมาจากรัฐบริหารจัดการกระบวนการความยุติธรรมเพื่อให้แก่ประชาชนด้วยความล่าช้าแทบทั้งสิ้น
เช่น กระบวนการคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่าที่รัฐจะคืนความเป็นด้วยการเยียวยาต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี
หรือข้อเรียกร้องง่ายๆ ที่นักโทษในเรือนจำที่นับถือศาสนาอิสลามต้องการที่จะได้เครื่องแต่งกายตามหลักศาสนา และต้องการอาหารที่ปรุงโดยวิธีการ “ฮาลาล” กว่าที่ข้อเรียกร้องดังกล่าวจะบรรลุผล ต้องใช้เวลานานมาก และเพิ่งจะมาสำเร็จได้ ในยุคที่ ศอ.บต. มีเลขาธิการคนที่ 2 คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นี่เอง
ซึ่งเป็นเลขาธิการที่เป็นอดีตตำรวจ และเป็นเลขาธิการ ศอ.บต. ที่ทุกคนเชื่อว่า เป็นของที่พรรคเพื่อไทย ส่งมาเพื่อสร้างฐานทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในครั้งแรกสังคมไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และตั้งใจในการแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้มากนัก
หรือแม้แต่การขึ้นค่าตอบแทนให้แก่ผู้นำศาสนาที่มีการร้องเรียกกันมานมนาน ก็เพิ่งจะทำได้สำเร็จในครั้งนี้ แม้ว่าวันนี้ ผู้นำศาสนาเห็นเพียงคำสั่งเห็นชอบให้ขึ้นค่าตอบแทน แต่ยังไม่เห็นตัวเงิน เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดงบประมาณ แต่ผู้นำศาสนาทุกกลุ่มต่างพึงพอใจ และเห็นถึงความจริงใจของรัฐบาล
และไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นผลทางการเมืองในการสร้างฐานให้แก่พรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าสิ่งที่ทำลงไป คือ การสร้างความเป็นธรรม สร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นแก่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำมาถึงความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน และอาจจะเป็นแนวทางในการสร้างความสงบให้เกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่ดีงาม และตรงกับเป้าหมายของการแก้ปัญหาความไม่สงบของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง
แต่โจทย์ใหม่ของความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คืนความไม่เป็นธรรมที่ต้องมีการชำระสะสาง คือ ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมทางด้านคดีความ ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากการจับกุมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กลุ่มแนวร่วม ผู้อยู่ในบัญชีดำที่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ จับกุมมาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นไปด้วยความล่าช้า
ซึ่งความล่าช้าเหล่านี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ในขั้นตอนของการสอบสวน สืบสวนที่โรงพัก จนถึงขั้นการส่งฟ้องยังพนักงานอัยการ และสุดท้าย การพิจารณาคดีของกระบวนการศาลยุติธรรม ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนถึงอุธรณ์ และฎีกา ที่ต้องใช้เวลานานหลายปี
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม ที่ต้องการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่กระบวนการสร้างความยุติธรรม ของกระบวนการยุติธรรมที่มีเงื่อนไขมากมาย จนไม่เป็นโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสในการต่อสู้คดีเพราะความยากจน เพราะไม่มีหลักทรัพย์ในการประกันตัว เพื่อออกมาต่อสู้คดีนอกเรือนจำ หรือเพราะข้อหาที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อหาฉกรรจ์ที่กระบวนการยุติธรรมไม่อนุญาตให้ประกันตัว
และแม้แต่กระบวนการพิจารณาคดีในขั้นตอนการสืบพยานที่เต็มไปด้วยความล่าช้า ต้องใช้เวลาในการนำสืบ เพราะมีเงื่อนไขตั้งแต่การโยกย้ายของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นพยานเรื่องของทนายความ และเรื่องอื่นๆ ซึ่งกลายเป็น เงื่อนไขของการที่ผู้เป็นผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย มองว่า เป็นความอยุติธรรม หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมแทบทั้งสิ้น
มีการพูดถึง กล่าวถึงปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คือ ความไม่เป็นธรรมมาหลายครั้ง หลายๆ เวทีมีการนำเสนอการตั้งศาลความมั่นคง การตั้งพนักงานสอบสวนเพื่อทำคดีความมั่นคง และการมีพนักงานอัยการเพื่อทำคดีความมั่นคงโดยเฉพาะ เพื่อให้การพิจารณาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อที่จะให้กระบวนการยุติธรรมเกิดความรวดเร็ว เพื่อขจัดความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง แต่สุดท้าย ทุกอย่างก็ไม่มีความคืบหน้า
วิธีการพิจารณาคดีของกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง หรือคดีก่อการร้าย ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คดีความเป็นจำนวนมากที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงขณะนี้ยังไม่คืบหน้า และคดีเป็นจำนวนมากที่ถูกสั่งไม่ฟ้อง หลังจากที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้รับการประกันตัว
แน่นอน ผู้ถูกสั่งไม่ฟ้อง หรือหลักฐานของพนักงานสอบสวนไม่พอฟ้อง ไม่มีพยานหลักฐาน หรือหลักฐานอ่อน ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกปล่อยตัวไม่ผิด แต่เป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถที่จะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้น และในขณะเดียวกัน ผู้ถูกกล่าวหาจำนวนหนึ่ง ก็คือ “แพะ” ที่ถูกกวาดต้อน เข้าสู้กระบวนการพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารที่ใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมนำมาเป็นจำเลย ซึ่งสุดท้ายเมื่อไม่มีหลักฐาน ไร้ซึ่งพยาน ก็ถูกศาลสั่งปล่อยตัวเป็นอิสระ
คนเหล่านี้คือคนที่พกพาความไม่เป็นธรรม ที่นำไปขยายความต่อสังคม ซึ่งกลายเป็นความเสียหายของกระบวนการความยุติธรรมของรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่กระบวนการยุติธรรม ได้พยายามที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่กระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า ถูกแปรสภาพว่า นั่นคือ ความไม่เป็นธรรมที่ประชาชนผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลยได้รับ
ผมเห็นถึงความตั้งใจของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ที่พยายามในการคืนความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการ “เยียวยา” ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่เป็นเรื่องลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้ทุกคนทุกกลุ่มพอใจในวงเงินที่ไม่เท่ากัน แต่สุดท้าย ทุกฝ่ายก็ยอมรับ
ดังนั้น เรื่องการแก้ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมที่กลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เห็นว่า ศอ.บต. จะต้องเร่งเข้ามาดูกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อขจัดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้ล่าช้า และปิดกั้นจนเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้เป็นจำเลย เพราะคือประเด็นใหญ่ของการแก้ปัญหาความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
แม้ว่า 7-8 เดือนที่ผ่านมา จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ว่า หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยุติธรรมให้แก่ผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หลายเรื่องเหมือนกับการปลูก “ถั่วงอก” แต่ผมก็เชื่อว่า “ถั่วงอก” ที่ปลูกในวันนี้ จะเป็น “ถั่วเขียว” ที่สร้างประโยชน์ให้แก่แผ่นดินด้ามขวานแห่งนี้ในอนาคต
โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม คือ ความไม่เป็นธรรมที่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้รอที่จะเห็นปัญหานี้ได้รับการแก้ไข และรอที่จะได้เห็นความเป็นธรรมจากกระบวนการนุติธรรมอย่างแท้จริง และเป็นสิ่งที่ ศอ.บต. ต้องเป็น “หัวหอก” ในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เพราะคือคือ รากเหง้าของปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย...ไชยยงค์ มณีพิลึก
“ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คือความไม่เป็นธรรม” ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นผู้กล่าวคำพูดประโยคนี้ แต่ถือว่าเป็นคำพูดคำกล่าวที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะกับ “นิยาม” ของปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
เพราะรากเหง้าของปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนจวบจนถึงวันนี้ ล้วนมาจากรัฐบริหารจัดการกระบวนการความยุติธรรมเพื่อให้แก่ประชาชนด้วยความล่าช้าแทบทั้งสิ้น
เช่น กระบวนการคืนความยุติธรรมให้แก่เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่าที่รัฐจะคืนความเป็นด้วยการเยียวยาต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี
หรือข้อเรียกร้องง่ายๆ ที่นักโทษในเรือนจำที่นับถือศาสนาอิสลามต้องการที่จะได้เครื่องแต่งกายตามหลักศาสนา และต้องการอาหารที่ปรุงโดยวิธีการ “ฮาลาล” กว่าที่ข้อเรียกร้องดังกล่าวจะบรรลุผล ต้องใช้เวลานานมาก และเพิ่งจะมาสำเร็จได้ ในยุคที่ ศอ.บต. มีเลขาธิการคนที่ 2 คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นี่เอง
ซึ่งเป็นเลขาธิการที่เป็นอดีตตำรวจ และเป็นเลขาธิการ ศอ.บต. ที่ทุกคนเชื่อว่า เป็นของที่พรรคเพื่อไทย ส่งมาเพื่อสร้างฐานทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในครั้งแรกสังคมไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และตั้งใจในการแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้มากนัก
หรือแม้แต่การขึ้นค่าตอบแทนให้แก่ผู้นำศาสนาที่มีการร้องเรียกกันมานมนาน ก็เพิ่งจะทำได้สำเร็จในครั้งนี้ แม้ว่าวันนี้ ผู้นำศาสนาเห็นเพียงคำสั่งเห็นชอบให้ขึ้นค่าตอบแทน แต่ยังไม่เห็นตัวเงิน เพราะยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดงบประมาณ แต่ผู้นำศาสนาทุกกลุ่มต่างพึงพอใจ และเห็นถึงความจริงใจของรัฐบาล
และไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น จะเป็นผลทางการเมืองในการสร้างฐานให้แก่พรรคเพื่อไทยหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าสิ่งที่ทำลงไป คือ การสร้างความเป็นธรรม สร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นแก่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำมาถึงความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน และอาจจะเป็นแนวทางในการสร้างความสงบให้เกิดขึ้น ล้วนเป็นสิ่งที่ดีงาม และตรงกับเป้าหมายของการแก้ปัญหาความไม่สงบของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง
แต่โจทย์ใหม่ของความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คืนความไม่เป็นธรรมที่ต้องมีการชำระสะสาง คือ ความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมทางด้านคดีความ ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากการจับกุมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กลุ่มแนวร่วม ผู้อยู่ในบัญชีดำที่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ จับกุมมาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นไปด้วยความล่าช้า
ซึ่งความล่าช้าเหล่านี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ในขั้นตอนของการสอบสวน สืบสวนที่โรงพัก จนถึงขั้นการส่งฟ้องยังพนักงานอัยการ และสุดท้าย การพิจารณาคดีของกระบวนการศาลยุติธรรม ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนถึงอุธรณ์ และฎีกา ที่ต้องใช้เวลานานหลายปี
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม ที่ต้องการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่กระบวนการสร้างความยุติธรรม ของกระบวนการยุติธรรมที่มีเงื่อนไขมากมาย จนไม่เป็นโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสในการต่อสู้คดีเพราะความยากจน เพราะไม่มีหลักทรัพย์ในการประกันตัว เพื่อออกมาต่อสู้คดีนอกเรือนจำ หรือเพราะข้อหาที่ถูกกล่าวหาเป็นข้อหาฉกรรจ์ที่กระบวนการยุติธรรมไม่อนุญาตให้ประกันตัว
และแม้แต่กระบวนการพิจารณาคดีในขั้นตอนการสืบพยานที่เต็มไปด้วยความล่าช้า ต้องใช้เวลาในการนำสืบ เพราะมีเงื่อนไขตั้งแต่การโยกย้ายของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นพยานเรื่องของทนายความ และเรื่องอื่นๆ ซึ่งกลายเป็น เงื่อนไขของการที่ผู้เป็นผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย มองว่า เป็นความอยุติธรรม หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมแทบทั้งสิ้น
มีการพูดถึง กล่าวถึงปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม คือ ความไม่เป็นธรรมมาหลายครั้ง หลายๆ เวทีมีการนำเสนอการตั้งศาลความมั่นคง การตั้งพนักงานสอบสวนเพื่อทำคดีความมั่นคง และการมีพนักงานอัยการเพื่อทำคดีความมั่นคงโดยเฉพาะ เพื่อให้การพิจารณาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อที่จะให้กระบวนการยุติธรรมเกิดความรวดเร็ว เพื่อขจัดความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง แต่สุดท้าย ทุกอย่างก็ไม่มีความคืบหน้า
วิธีการพิจารณาคดีของกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง หรือคดีก่อการร้าย ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คดีความเป็นจำนวนมากที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงขณะนี้ยังไม่คืบหน้า และคดีเป็นจำนวนมากที่ถูกสั่งไม่ฟ้อง หลังจากที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกคุมขังเป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้รับการประกันตัว
แน่นอน ผู้ถูกสั่งไม่ฟ้อง หรือหลักฐานของพนักงานสอบสวนไม่พอฟ้อง ไม่มีพยานหลักฐาน หรือหลักฐานอ่อน ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกปล่อยตัวไม่ผิด แต่เป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถที่จะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้น และในขณะเดียวกัน ผู้ถูกกล่าวหาจำนวนหนึ่ง ก็คือ “แพะ” ที่ถูกกวาดต้อน เข้าสู้กระบวนการพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารที่ใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมนำมาเป็นจำเลย ซึ่งสุดท้ายเมื่อไม่มีหลักฐาน ไร้ซึ่งพยาน ก็ถูกศาลสั่งปล่อยตัวเป็นอิสระ
คนเหล่านี้คือคนที่พกพาความไม่เป็นธรรม ที่นำไปขยายความต่อสังคม ซึ่งกลายเป็นความเสียหายของกระบวนการความยุติธรรมของรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่กระบวนการยุติธรรม ได้พยายามที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่กระบวนการยุติธรรมที่ล่าช้า ถูกแปรสภาพว่า นั่นคือ ความไม่เป็นธรรมที่ประชาชนผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลยได้รับ
ผมเห็นถึงความตั้งใจของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ที่พยายามในการคืนความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการ “เยียวยา” ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรม ทั้งที่เป็นเรื่องลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้ทุกคนทุกกลุ่มพอใจในวงเงินที่ไม่เท่ากัน แต่สุดท้าย ทุกฝ่ายก็ยอมรับ
ดังนั้น เรื่องการแก้ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรมที่กลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เห็นว่า ศอ.บต. จะต้องเร่งเข้ามาดูกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อขจัดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้ล่าช้า และปิดกั้นจนเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้เป็นจำเลย เพราะคือประเด็นใหญ่ของการแก้ปัญหาความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
แม้ว่า 7-8 เดือนที่ผ่านมา จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ว่า หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยุติธรรมให้แก่ผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่หลายเรื่องเหมือนกับการปลูก “ถั่วงอก” แต่ผมก็เชื่อว่า “ถั่วงอก” ที่ปลูกในวันนี้ จะเป็น “ถั่วเขียว” ที่สร้างประโยชน์ให้แก่แผ่นดินด้ามขวานแห่งนี้ในอนาคต
โดยเฉพาะในเรื่องการแก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม คือ ความไม่เป็นธรรมที่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้รอที่จะเห็นปัญหานี้ได้รับการแก้ไข และรอที่จะได้เห็นความเป็นธรรมจากกระบวนการนุติธรรมอย่างแท้จริง และเป็นสิ่งที่ ศอ.บต. ต้องเป็น “หัวหอก” ในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เพราะคือคือ รากเหง้าของปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้