ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งเกาะราชา จ.ภูเก็ต เร่งแก้ปัญหาน้ำเสีย-ขยะบนเกาะ หลังพบแนวโน้มปัญหาน่าเป็นห่วง ระบุปล่อยไว้สร้างความเสียหายให้เกาะซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และกระทบต่อชาวประมงในพื้นที่ ด้านรองผู้ว่าฯ แนะทำความเข้าใจผู้ประกอบการ ถ้าไม่ทำตามให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (28 พ.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งเกาะราชา จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2/2555 เพื่อติดตามการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเกาะราชา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จ.ภูเก็ต) เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 เป็นต้น เทศบาลตำบลราไวย์ และตัวแทนภาคประชาชน เข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการรายงานผลการตรวจสอบปัญหาน้ำเสียและขยะบนเกาะราชาใหญ่ โดยในเรื่องของน้ำเสีย แม้จะมีสถานประกอบการบางแห่งสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย แต่ปรากฏว่า มีขนาดเล็กเกินไปไม่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีน้ำล้นออกมา และไหลลงสู่ลำคลองสาธารณะทำให้เกิดปัญหาเน่าเสีย และน้ำดังกล่าวก็ไหลลงทะเล ส่งผลกระทบต่อปะการังและสัตว์น้ำในทะเลบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวพบว่ามีอยู่หลายจุดบนเกาะ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตกของอ่าวสยาม แม้ในช่วงที่มีการลงไปตรวจสอบจะมีความเจือจางไปบ้างแล้วเพราะฝนตก
ส่วนปัญหาขยะปรากฏว่า มีการใช้วิธีฝังกลบ ซึ่งบางรายก็ไม่ได้มีการปิดปากหลุมให้เรียบร้อยทำให้ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นภาพอุจาด มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถ่ายภาพไปโพสต์ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้เคยมีการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะและการนำขยะอินทรีย์มาทำเป็นน้ำปุ๋ยชีวภาพแต่ก็ได้ผลในระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับโครงการนำขวดแก้วไปบดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ปรากฏว่าปัจจุบัน ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการหารือและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการมาแล้วหลายครั้ง แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งหากยังคงปล่อยไว้เช่นนี้ก็จะสร้างความเสียหายให้แก่เกาะราชาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงกระทบกับแหล่งทำกินของประมงพื้นบ้านด้วย อยากให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ แต่นั่นหมายความว่า จะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อทรัพยากรเกิดความเสียหายแล้วการที่จะแก้ไขให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ควรที่จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้ด้วย
เช่นเดียวกับนายอัครวัฒน์ หิรัญพันธุ์ ตัวแทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 กล่าวว่า ทั้งเรื่องปัญหาน้ำเสียและปัญหาขยะของเกาะราชามีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังพบการบุกรุกที่ลำรางสาธารณะและชายหาดกรณีสร้างแนวกันคลื่น จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปทำการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งฝากเรื่องการอนุญาตก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่ควรจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียด
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการนำเสนอข้อมูลและแนวทางการแก้ปัญหาแล้ว น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จากข้อมูลเบื้องต้นทราบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฉบับ คือ กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร ซึ่งทางเทศบาลฯ เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และกฎหมายของกรมเจ้าท่า มาตรา 117 เกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ชายหาด
นอกจากนั้น ในการแก้ไขปัญหาเกาะราชาขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือและลงไปชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกันได้ หากพบว่ายังมีการขัดขืน หรือไม่ปฏิบัติตามก็ให้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการ
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (28 พ.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งเกาะราชา จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2/2555 เพื่อติดตามการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเกาะราชา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (จ.ภูเก็ต) เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 เป็นต้น เทศบาลตำบลราไวย์ และตัวแทนภาคประชาชน เข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการรายงานผลการตรวจสอบปัญหาน้ำเสียและขยะบนเกาะราชาใหญ่ โดยในเรื่องของน้ำเสีย แม้จะมีสถานประกอบการบางแห่งสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย แต่ปรากฏว่า มีขนาดเล็กเกินไปไม่เพียงพอรองรับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีน้ำล้นออกมา และไหลลงสู่ลำคลองสาธารณะทำให้เกิดปัญหาเน่าเสีย และน้ำดังกล่าวก็ไหลลงทะเล ส่งผลกระทบต่อปะการังและสัตว์น้ำในทะเลบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวพบว่ามีอยู่หลายจุดบนเกาะ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตกของอ่าวสยาม แม้ในช่วงที่มีการลงไปตรวจสอบจะมีความเจือจางไปบ้างแล้วเพราะฝนตก
ส่วนปัญหาขยะปรากฏว่า มีการใช้วิธีฝังกลบ ซึ่งบางรายก็ไม่ได้มีการปิดปากหลุมให้เรียบร้อยทำให้ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นภาพอุจาด มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถ่ายภาพไปโพสต์ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้เคยมีการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะและการนำขยะอินทรีย์มาทำเป็นน้ำปุ๋ยชีวภาพแต่ก็ได้ผลในระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับโครงการนำขวดแก้วไปบดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ปรากฏว่าปัจจุบัน ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
นายสุทา ประทีป ณ ถลาง กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาได้มีการหารือและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการมาแล้วหลายครั้ง แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งหากยังคงปล่อยไว้เช่นนี้ก็จะสร้างความเสียหายให้แก่เกาะราชาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงกระทบกับแหล่งทำกินของประมงพื้นบ้านด้วย อยากให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ แต่นั่นหมายความว่า จะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อทรัพยากรเกิดความเสียหายแล้วการที่จะแก้ไขให้ฟื้นกลับคืนมาเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ควรที่จะมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้ด้วย
เช่นเดียวกับนายอัครวัฒน์ หิรัญพันธุ์ ตัวแทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 กล่าวว่า ทั้งเรื่องปัญหาน้ำเสียและปัญหาขยะของเกาะราชามีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังพบการบุกรุกที่ลำรางสาธารณะและชายหาดกรณีสร้างแนวกันคลื่น จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปทำการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งฝากเรื่องการอนุญาตก่อสร้างอาคารต่างๆ ที่ควรจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียด
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการนำเสนอข้อมูลและแนวทางการแก้ปัญหาแล้ว น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จากข้อมูลเบื้องต้นทราบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฉบับ คือ กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร ซึ่งทางเทศบาลฯ เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และกฎหมายของกรมเจ้าท่า มาตรา 117 เกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ชายหาด
นอกจากนั้น ในการแก้ไขปัญหาเกาะราชาขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือและลงไปชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อให้เห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกันได้ หากพบว่ายังมีการขัดขืน หรือไม่ปฏิบัติตามก็ให้ใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการ