นครศรีธรรมราช - ไฟฟ้าถ่านหินนครศรีฯ ขยับลองเชิงตามแผนรุกเตรียมสร้างใน อ.หัวไทร อีกครั้ง พลังงานจังหวัด-ตัวแทน กฟผ.ขอแทรกที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำความเข้าใจ เลือกพื้นที่ก่อสร้าง
ความเคลื่อนไหวในความพยายามที่จะเลือกพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ตามแผนพัฒนาพลังงาน 2010 หรือที่เรียกว่าแผน PDP.2010 โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ได้ถูกเลือกเป็นพื้นที่ในการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินถึง 2 จุด คือใน อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา
แต่อย่างไรก็ตามปรากฏว่า ในส่วนของ อ.ท่าศาลา นั้น ได้มีการปรับแผนชะลอในการดำเนินการไปก่อน และให้ไปเร่งรัดในพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยมีศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) เป็นผู้เร่งรัดดำเนินการผ่านรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์ งานมวลชน และในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลถึงประโยชน์ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และข้อมูลถึงการขาดแคลนพลังงานในอนาคต
ล่าสุดวันนี้ (2 ธ.ค.) ความเคลื่อนไหวของการเตรียมการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ได้ชะลอการดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 3 เดือน ซึ่งในครั้งนี้ได้อ้างว่าชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.หัวไทร ได้ทำหนังสือผ่านถึงพลังงานจังหวัดไปถึง กฟผ.เพื่อให้วิทยากรมาให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ที่เตรียมดำเนินการในพื้นที่ โดยได้เข้าให้ความรู้ในการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน และช่วงเย็นวันเดียวกันจะมีการจัดเลี้ยงครั้งใหญ่ส่งนายทิวา วัชรกาฬ นายอำเภอหัวไทร ที่จะโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอแห่งหนึ่งใน จ.สระบุรี
นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า กิจกรรมเกิดจากชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำหนังสือถึงพลังงานจังหวัดเพื่อขอวิทยากรเข้าให้ข้อมูล ความรู้ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโรงไฟฟ้า ทางกระทรวงพลังงาน และทาง กฟผ.จึงจัดวิทยากร มาให้ความรู้ในการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือน ซึ่งยืนยันว่าเป็นวาระของการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน ไม่ใช่การดำเนินการโดย กฟผ.และพลังงาน
“วาระที่ประชุมนั้นเป็นวาระพิเศษในเชิงวิชาการ วิทยากรได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ของโรงไฟฟ้า ประโยชน์ของพื้นที่ที่จะได้รับตามกรอบของกฎหมาย ข้อมูลเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการผลิตไฟฟ้าเป็นต้น สิ่งที่ดำเนินการนั้นเป็นไปเฉพาะการให้ข้อมูล ทั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเป็นพื้นที่นี้หรือไม่ ต้องดูในหลายเรื่องทั้งเทคนิค ความเหมาะสม ความพร้อมของชุมชน” พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว
ขณะที่นายรอง แก้วสกุล แกนนำกลุ่มประชาชนต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านเหนื่อยกับเรื่องโรงไฟฟ้ามาก ซึ่งหากการไฟฟ้ามีความเคลื่อนไหวอีกครั้งชาวบ้านที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าต้องเคลื่อนไหวกันอีกครั้งเช่นเดียวกัน ช่วงนี้กำลังประสานกันหารือว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรรูปแบบไหน เหนื่อยกับ กฟผ.ที่ก่อนหน้านี้ทำทีเหมือนกับยอมยุติแต่ก็ไม่ใช่ยังคงเดินกันต่อ ชาวบ้านต้องเดินต่อเช่นเดียวกัน
“กฟผ.ต้องฟังเสียงประชาชนบ้างว่า ประชาชนในพื้นที่เอาไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่เอา ไม่ใช่เข้าหาแล้วรับฟังเฉพาะกลุ่มผู้นำ ผมขอฝากไว้ว่า เงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ ชาวบ้านที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเช่นเดียวกันเขายังยืนยันที่จะไม่เอากันต่อไป” นายรองกล่าว
ส่วนแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องรายหนึ่งในเปิดเผยว่า ข้อเท็จจริงแล้วแผนในการดำเนินการก่อสร้างนั้นยังคงมีอยู่ต่อไป เพียงแค่ก่อนหน้านี้มีการชะลอไปบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของ CSR. และมารอบนี้เป็นการเริ่มเดินตามแผนอีกครั้ง การดำเนินการกับที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นการหลีกเลี่ยงข้อครหา กล่าวคือได้ขอความร่วมมือให้ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทำหนังสือไปที่พลังงานตามขั้นตอนเพื่อจัดส่งวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งภาพที่ออกมาไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กฟผ. แต่ไปตรงกับนโยบายของผู้บริหาร กฟผ.ที่ว่าหากพื้นที่ใดพร้อมก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจ เพื่อทำพื้นที่ได้ทันที
ในช่วงเช้าตั้งข้อสังเกตได้เลยว่ามีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนและเป็นนัดสุดท้ายของนายอำเภอที่จะเดินทางไปรับตำแหน่งที่อื่น ค่ำนี้จะมีการเลี้ยงส่งนายอำเภออีกด้วย แน่นอนว่าผู้นำท้องถิ่น ที่จะมารวมกันในงานเลี้ยง จะเป็นโอกาสที่สำคัญในการจัดทำมวลชนผ่านผู้นำเหล่านี้นั่นเอง
ความเคลื่อนไหวในความพยายามที่จะเลือกพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ตามแผนพัฒนาพลังงาน 2010 หรือที่เรียกว่าแผน PDP.2010 โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ได้ถูกเลือกเป็นพื้นที่ในการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินถึง 2 จุด คือใน อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา
แต่อย่างไรก็ตามปรากฏว่า ในส่วนของ อ.ท่าศาลา นั้น ได้มีการปรับแผนชะลอในการดำเนินการไปก่อน และให้ไปเร่งรัดในพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยมีศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) เป็นผู้เร่งรัดดำเนินการผ่านรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์ งานมวลชน และในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลถึงประโยชน์ของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และข้อมูลถึงการขาดแคลนพลังงานในอนาคต
ล่าสุดวันนี้ (2 ธ.ค.) ความเคลื่อนไหวของการเตรียมการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ได้ชะลอการดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 3 เดือน ซึ่งในครั้งนี้ได้อ้างว่าชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.หัวไทร ได้ทำหนังสือผ่านถึงพลังงานจังหวัดไปถึง กฟผ.เพื่อให้วิทยากรมาให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ที่เตรียมดำเนินการในพื้นที่ โดยได้เข้าให้ความรู้ในการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน และช่วงเย็นวันเดียวกันจะมีการจัดเลี้ยงครั้งใหญ่ส่งนายทิวา วัชรกาฬ นายอำเภอหัวไทร ที่จะโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอแห่งหนึ่งใน จ.สระบุรี
นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า กิจกรรมเกิดจากชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำหนังสือถึงพลังงานจังหวัดเพื่อขอวิทยากรเข้าให้ข้อมูล ความรู้ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโรงไฟฟ้า ทางกระทรวงพลังงาน และทาง กฟผ.จึงจัดวิทยากร มาให้ความรู้ในการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือน ซึ่งยืนยันว่าเป็นวาระของการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน ไม่ใช่การดำเนินการโดย กฟผ.และพลังงาน
“วาระที่ประชุมนั้นเป็นวาระพิเศษในเชิงวิชาการ วิทยากรได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ของโรงไฟฟ้า ประโยชน์ของพื้นที่ที่จะได้รับตามกรอบของกฎหมาย ข้อมูลเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการผลิตไฟฟ้าเป็นต้น สิ่งที่ดำเนินการนั้นเป็นไปเฉพาะการให้ข้อมูล ทั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเป็นพื้นที่นี้หรือไม่ ต้องดูในหลายเรื่องทั้งเทคนิค ความเหมาะสม ความพร้อมของชุมชน” พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว
ขณะที่นายรอง แก้วสกุล แกนนำกลุ่มประชาชนต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านเหนื่อยกับเรื่องโรงไฟฟ้ามาก ซึ่งหากการไฟฟ้ามีความเคลื่อนไหวอีกครั้งชาวบ้านที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าต้องเคลื่อนไหวกันอีกครั้งเช่นเดียวกัน ช่วงนี้กำลังประสานกันหารือว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรรูปแบบไหน เหนื่อยกับ กฟผ.ที่ก่อนหน้านี้ทำทีเหมือนกับยอมยุติแต่ก็ไม่ใช่ยังคงเดินกันต่อ ชาวบ้านต้องเดินต่อเช่นเดียวกัน
“กฟผ.ต้องฟังเสียงประชาชนบ้างว่า ประชาชนในพื้นที่เอาไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่เอา ไม่ใช่เข้าหาแล้วรับฟังเฉพาะกลุ่มผู้นำ ผมขอฝากไว้ว่า เงินไม่สามารถซื้อทุกสิ่งทุกอย่างได้ ชาวบ้านที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเช่นเดียวกันเขายังยืนยันที่จะไม่เอากันต่อไป” นายรองกล่าว
ส่วนแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องรายหนึ่งในเปิดเผยว่า ข้อเท็จจริงแล้วแผนในการดำเนินการก่อสร้างนั้นยังคงมีอยู่ต่อไป เพียงแค่ก่อนหน้านี้มีการชะลอไปบ้าง โดยเฉพาะในเรื่องของ CSR. และมารอบนี้เป็นการเริ่มเดินตามแผนอีกครั้ง การดำเนินการกับที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นการหลีกเลี่ยงข้อครหา กล่าวคือได้ขอความร่วมมือให้ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทำหนังสือไปที่พลังงานตามขั้นตอนเพื่อจัดส่งวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งภาพที่ออกมาไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กฟผ. แต่ไปตรงกับนโยบายของผู้บริหาร กฟผ.ที่ว่าหากพื้นที่ใดพร้อมก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจ เพื่อทำพื้นที่ได้ทันที
ในช่วงเช้าตั้งข้อสังเกตได้เลยว่ามีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนและเป็นนัดสุดท้ายของนายอำเภอที่จะเดินทางไปรับตำแหน่งที่อื่น ค่ำนี้จะมีการเลี้ยงส่งนายอำเภออีกด้วย แน่นอนว่าผู้นำท้องถิ่น ที่จะมารวมกันในงานเลี้ยง จะเป็นโอกาสที่สำคัญในการจัดทำมวลชนผ่านผู้นำเหล่านี้นั่นเอง