นครศรีธรรมราช - “เครือข่ายป้องใต้” เดินหน้าแผนปฏิบัติการ “เพชรเกษม 41” ปรับแผนต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินท่าศาลา-หัวไทร ที่ จ.ชุมพร ในวันที่ 21-22 สิงหาคม พร้อมเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งถึงการสรุปการหารือระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชน
วันนี้ (15 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าในการติดตามโครงการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งตามเป้าหมายนั้น ได้ถูกกำหนดใน 2 พื้นที่ คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยล่าสุดนั้น มีแนวโน้มที่จะมีการเริ่มโครงการอย่างเต็มรูปแบบใน อ.หัวไทร เนื่องจาก กฟผ.มีความเคลื่อนไหวอย่างหนักมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การพาคนไปท่องเที่ยวศึกษาดูงานในประเทศเยอรมนี และออสเตรเลีย รวมทั้งความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน)
ฝ่ายสื่อสารองค์กรของ กฟผ.ได้ชี้แจงถึงกระบวนการต่างๆ ในพื้นที่นั้นเป็นไปตาม 7 ขั้นตอน ซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช ยังอยู่เพียงแค่ขั้นที่ 1 คือ การให้ความรู้ความเข้าใจเท่านั้น และยังไม่มีการจัดซื้อที่ดิน หรือการจัดงบประมาณ 30 ล้านบาท ลง อปท.ในพื้นที่ อ.หัวไทรแต่อย่างใด
ล่าสุดแหล่งข่าวภายในรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ที่มีการชี้แจงออกมาจากฝ่ายสื่อสารองค์กร กฟผ.นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ซึ่งต้องชี้แจงไปตามนั้น ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติที่ควรจะเป็นไปตามกรอบระเบียบกฎหมาย ต้องเข้าใจว่า ระดับผู้บริหารมอบแค่กรอบนโยบายให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่ไปทำเป็นระบบเดียวกับข้าราชการ ซึ่งในส่วนของพื้นที่ อ.หัวไทร ที่มีปัญหามากนั้นส่วนหนึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในพื้นที่ ขณะที่ อปท.ต่างๆ ที่เตรียมทำโครงการเสนอในระยะนี้ต้องประสบปัญหาแน่นอน เนื่องจากการขอสนับสนุนจะถูกจับตามองเป็นพิเศษ
การทำงานในพื้นที่นั้นต้องยอมรับว่า กฟผ.อยู่ในลักษณะเหมือนกับการหาเสียงทางการเมือง พยายามหาเสียงผู้สนับสนุนให้มากที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายคือการก่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้เกิดขึ้นให้ได้เพียงแค่นั้น ส่วนวิธีการนั้นต้องยอมรับว่า มีทั้งบนดินใต้ดิน เช่น เมื่อหาเสียงสนับสนุนให้มีโรงไฟฟ้าก็ต้องใช้วิธีต้องมีการสนับสนุนเงิน สนับสนุนสิ่งของไปยังจุดต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน อปท.ผู้นำท้องถิ่น
ที่ผ่านมา กฟผ.ยังต้องตอบว่า ที่สนับสนุนไปหลายแห่งทั้งวัด โรงเรียน อบต.ต่างๆ การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เอาเงินจากส่วนไหนมา หรือการพาคนไปศึกษาดูงานที่นั่นที่นี่ แม้แต่ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นการใช้งบที่สูงมากเอาเงินมาจากตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือไปเที่ยว ตลอดนับปีที่ผ่านมา กฟผ.จ่ายเงินไปแล้วเท่าไหร่
วิธีนี้ถ้าเป็นการเมืองเขาเรียกว่า “ซื้อเสียง” แต่ กฟผ.เรียกว่า การทำ CSR ซึ่งแท้จริงควรที่จะเปิดโอกาส เปิดกว้างในการให้ความรู้ การพบปะทำความเข้าใจและชี้แจงข้อมูลมากกว่า ซึ่งถ้าคนที่คิดเห็นแตกต่างกับ กฟผ.ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จะมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้านเป็นฝ่ายศัตรูทันที ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ที่จะมารับความเห็น คงเป็นเพียงแค่สถานะของผู้ที่มาให้ความรู้จริงๆ คือ จะต้องให้คนรู้ในสิ่งที่ กฟผ.อยากให้รู้เท่านั้นเอง ส่วนนอกจากนั้นสิ่งที่คนไปรู้ในสิ่งที่ กฟผ.ไม่อยากให้รู้จะถูกมองเป็นฝ่ายตรงข้ามไปทันที
ขณะที่นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ซึ่งเป็นกิจกรรมในการเรียกร้องให้ภาคใต้ คนใต้ได้กำหนดวิถีชีวิตของตนเองและปฏิเสธอุตสาหกรรมหนักในด้านต่างๆ รวมทั้งการฟื้นแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งในส่วนของแลนด์บริดจ์ เซาเทิร์นซีบอร์ด อุตสาหกรรมพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ได้มีการหารือกันเป็นระยะในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินของพื้นที่นครศรีธรรมราช 2 จุด คือ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะมีการเคลื่อนไหวกันอีกครั้งหลังจากเสร็จกิจกรรม เพชรเกษม 41 ที่ จ.ชุมพร ในวันที่ 21-22 สิงหาคม
“ทั้งการปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร เป็นเนื้อเดียวกันมีความร่วมมือกัน ซึ่งหลังจากวันที่ 22 ส.ค.เราจะเริ่มจากการพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกรอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทบทวนและต้องแจ้งถึงการสรุปการหารือระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ จากเหตุการณ์เมื่อ 24 ก.พ.54 และจากการลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน เมื่อ 24 มิ.ย.54 ถึงเจตนารมณ์ของภาคการเมืองระดับชาติใน อ.ท่าศาลา ซึ่งที่ อ.ท่าศาลา กฟผ.จะยุติหรือไม่นั้น จะหารือกันอีกครั้ง” นายทรงวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ จะมีการเชิญตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นรัฐบาล ภาคประชาชน และข้าราชการในท้องที่ มากำหนดร่วมกันว่าจะเอากันอย่างไรหากมีการเดินหน้าถือว่าไม่เคารพมติซึ่งกันและกัน
ส่วนกรณีโรงไฟฟ้าที่ อ.หัวไทร เราร่วมมือกับชาวหัวไทรแน่นอน เพราะผลกระทบมันไม่สามารถควบคุมได้ การที่ กฟผ.จะเลือกเอาที่หัวไทรถือเป็นการไม่แฟร์ในหลักการเดิม
วันนี้ (15 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าในการติดตามโครงการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งตามเป้าหมายนั้น ได้ถูกกำหนดใน 2 พื้นที่ คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยล่าสุดนั้น มีแนวโน้มที่จะมีการเริ่มโครงการอย่างเต็มรูปแบบใน อ.หัวไทร เนื่องจาก กฟผ.มีความเคลื่อนไหวอย่างหนักมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การพาคนไปท่องเที่ยวศึกษาดูงานในประเทศเยอรมนี และออสเตรเลีย รวมทั้งความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน)
ฝ่ายสื่อสารองค์กรของ กฟผ.ได้ชี้แจงถึงกระบวนการต่างๆ ในพื้นที่นั้นเป็นไปตาม 7 ขั้นตอน ซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช ยังอยู่เพียงแค่ขั้นที่ 1 คือ การให้ความรู้ความเข้าใจเท่านั้น และยังไม่มีการจัดซื้อที่ดิน หรือการจัดงบประมาณ 30 ล้านบาท ลง อปท.ในพื้นที่ อ.หัวไทรแต่อย่างใด
ล่าสุดแหล่งข่าวภายในรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ที่มีการชี้แจงออกมาจากฝ่ายสื่อสารองค์กร กฟผ.นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ซึ่งต้องชี้แจงไปตามนั้น ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติที่ควรจะเป็นไปตามกรอบระเบียบกฎหมาย ต้องเข้าใจว่า ระดับผู้บริหารมอบแค่กรอบนโยบายให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่ไปทำเป็นระบบเดียวกับข้าราชการ ซึ่งในส่วนของพื้นที่ อ.หัวไทร ที่มีปัญหามากนั้นส่วนหนึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในพื้นที่ ขณะที่ อปท.ต่างๆ ที่เตรียมทำโครงการเสนอในระยะนี้ต้องประสบปัญหาแน่นอน เนื่องจากการขอสนับสนุนจะถูกจับตามองเป็นพิเศษ
การทำงานในพื้นที่นั้นต้องยอมรับว่า กฟผ.อยู่ในลักษณะเหมือนกับการหาเสียงทางการเมือง พยายามหาเสียงผู้สนับสนุนให้มากที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายคือการก่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้เกิดขึ้นให้ได้เพียงแค่นั้น ส่วนวิธีการนั้นต้องยอมรับว่า มีทั้งบนดินใต้ดิน เช่น เมื่อหาเสียงสนับสนุนให้มีโรงไฟฟ้าก็ต้องใช้วิธีต้องมีการสนับสนุนเงิน สนับสนุนสิ่งของไปยังจุดต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน อปท.ผู้นำท้องถิ่น
ที่ผ่านมา กฟผ.ยังต้องตอบว่า ที่สนับสนุนไปหลายแห่งทั้งวัด โรงเรียน อบต.ต่างๆ การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เอาเงินจากส่วนไหนมา หรือการพาคนไปศึกษาดูงานที่นั่นที่นี่ แม้แต่ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น เป็นการใช้งบที่สูงมากเอาเงินมาจากตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือไปเที่ยว ตลอดนับปีที่ผ่านมา กฟผ.จ่ายเงินไปแล้วเท่าไหร่
วิธีนี้ถ้าเป็นการเมืองเขาเรียกว่า “ซื้อเสียง” แต่ กฟผ.เรียกว่า การทำ CSR ซึ่งแท้จริงควรที่จะเปิดโอกาส เปิดกว้างในการให้ความรู้ การพบปะทำความเข้าใจและชี้แจงข้อมูลมากกว่า ซึ่งถ้าคนที่คิดเห็นแตกต่างกับ กฟผ.ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จะมองว่าเป็นฝ่ายต่อต้านเป็นฝ่ายศัตรูทันที ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ที่จะมารับความเห็น คงเป็นเพียงแค่สถานะของผู้ที่มาให้ความรู้จริงๆ คือ จะต้องให้คนรู้ในสิ่งที่ กฟผ.อยากให้รู้เท่านั้นเอง ส่วนนอกจากนั้นสิ่งที่คนไปรู้ในสิ่งที่ กฟผ.ไม่อยากให้รู้จะถูกมองเป็นฝ่ายตรงข้ามไปทันที
ขณะที่นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ซึ่งเป็นกิจกรรมในการเรียกร้องให้ภาคใต้ คนใต้ได้กำหนดวิถีชีวิตของตนเองและปฏิเสธอุตสาหกรรมหนักในด้านต่างๆ รวมทั้งการฟื้นแผนพัฒนาภาคใต้ทั้งในส่วนของแลนด์บริดจ์ เซาเทิร์นซีบอร์ด อุตสาหกรรมพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ได้มีการหารือกันเป็นระยะในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินของพื้นที่นครศรีธรรมราช 2 จุด คือ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะมีการเคลื่อนไหวกันอีกครั้งหลังจากเสร็จกิจกรรม เพชรเกษม 41 ที่ จ.ชุมพร ในวันที่ 21-22 สิงหาคม
“ทั้งการปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร เป็นเนื้อเดียวกันมีความร่วมมือกัน ซึ่งหลังจากวันที่ 22 ส.ค.เราจะเริ่มจากการพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกรอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทบทวนและต้องแจ้งถึงการสรุปการหารือระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ จากเหตุการณ์เมื่อ 24 ก.พ.54 และจากการลงนามแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน เมื่อ 24 มิ.ย.54 ถึงเจตนารมณ์ของภาคการเมืองระดับชาติใน อ.ท่าศาลา ซึ่งที่ อ.ท่าศาลา กฟผ.จะยุติหรือไม่นั้น จะหารือกันอีกครั้ง” นายทรงวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ จะมีการเชิญตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นรัฐบาล ภาคประชาชน และข้าราชการในท้องที่ มากำหนดร่วมกันว่าจะเอากันอย่างไรหากมีการเดินหน้าถือว่าไม่เคารพมติซึ่งกันและกัน
ส่วนกรณีโรงไฟฟ้าที่ อ.หัวไทร เราร่วมมือกับชาวหัวไทรแน่นอน เพราะผลกระทบมันไม่สามารถควบคุมได้ การที่ กฟผ.จะเลือกเอาที่หัวไทรถือเป็นการไม่แฟร์ในหลักการเดิม