นครศรีธรรมราช - เครือข่ายป้องถิ่นภาคประชาชนตื่นตัวนโยบาย “ยิ่งลักษณ์” สัญญาณเตือนชัด-ไฟฟ้าถ่านหิน-แลนบริดจ์ คืนชีพ เตรียมขยับต้านแถลงการณ์ป้องทรัพยากรวิถี โดยรวมตัวประชาชนประกาศไม่เอาแผนพัฒนาอุตสาหกรรมก่อนรัฐบาลใหม่แถลงนโยบาย ด้าน กฟผ.ถลุงงบพาเที่ยวเยอรมนี-ออสเตรเลีย
หลังจากการขยับอีกครั้งเพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งทันทีที่ กฟผ.ขยับได้มีการกระเพื่อมจากประชาชนในพื้นที่ที่กำลังเฝ้าติดตามและต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ในพื้นที่อย่างหนัก ซึ่งราว 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีความเคลื่อนของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ในหลายด้าน ทั้งในส่วนของผู้บริหารฝ่ายสื่อสารองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายสัณห์ เงินถาวร หัวหน้าคณะทำงานศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (คณะทำงานเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน)
ขณะที่พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการยืนยันชัดเจนว่ากระบวนการ 7 ขั้นตอนที่ กฟผ.ดำเนินการนั้นไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับพลังงานจังหวัดทั้งสิ้น เนื่องจากสำนักงานพลังงานจังหวัดมีหน้าที่เพียงสนองนโยบาย อำนวยความสะดวก ประสานงานให้เป็นไปไปตามกรอบนโยบายกระทรวงพลังงานเท่านั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (25 ก.ค.) นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มีการหารือกันในภาพรวมจากเครือข่ายที่มีความรักในท้องถิ่นและวิถีชีวิตของเขาในหลายจังหวัดของภาคใต้ คือ สงขลา สตูล นครศรีธรรมราช ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สาระสำคัญ คือ เรื่องของนโยบายว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีการติดตามอย่างใกล้ชิด จนพบข้อมูลชัดเจนว่า มีสัญญาณบ่งชี้อย่างชัดเจนที่จะมีการสนับสนุนให้เกิดโครงการแลนด์บริดจ์ในภาคใต้ต่อไป รวมทั้งเรื่องแผนพัฒนาพลังงาน หรือ PDP เป็นสัญญาณบ่งเตือนว่า หลังจากนี้ หากประชาชนไม่ตื่นตัวต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือชนิดอื่น อุตสาหกรรมจะขยับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
“เรามีการหารือกันแล้วซึ่งมีข้อสรุปคือจะต้องเคลื่อนไหวให้รัฐบาลทบทวน ในเรื่องของนโยบายแลนด์บริดจ์ โดยแต่ละจังหวัดจะเริ่มขับเคลื่อนก่อนที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อสภา โดยแต่ละจังหวัดในภาคใต้จะเริ่มมาตรการด้วยการออกแถลงการณ์ถึงการปฏิเสธโครงการเหล่านี้ หลังจากนั้นจะติดตามต่อไปอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังเดินหน้าต่อไปภาคประชาชนจะเริ่มมาตรการในการปฏิเสธเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ”
ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ยังกล่าวต่อว่าในส่วนของการปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ทุกส่วนทั้งประชาชน ท้องถิ่น และภาควิชาการ ยังคงมีความเหนียวแน่น ส่วนกฟผ.เท่าที่ติดตามข้อมูล พบว่า ยังคงใช้วิธีการผลาญงบประมาณกันต่อไปเป็นกลยุทธ์ที่ไร้ซึ่งความจริงใจ เจ้าหน้าที่ของ กฟผ.ไม่ได้จริงใจ ไม่รู้จะจ้างคนแบบนี้ไปเพื่ออะไรเหมือนกัน กฟผ.ต้องทบทวนเหมือนกัน
“กฟผ.มีโครงการที่พากลุ่มบุคคลไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ โดยช่วงนี้ไปในประเทศเยอรมนี หลังจากจบทริปเยอรมนีจะไปออสเตรเลีย ทำเป็นแค่ดึงคนไปเที่ยว ไปเลี้ยงดูปูเสื่อ ช่วงชิงบุคคลให้มาเป็นผู้สนับสนุนตัวเอง ทำเหมือนราวกับนักการเมืองเลี้ยงดูหัวคะแนน แต่ไม่เคยลงพื้นที่พูดคุย ทำงานอย่างที่ควรจะทำ” ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลากล่าว
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นครศรีธรรมราช รายหนึ่ง เปิดเผยว่า เป็นความจริงที่ กฟผ.ได้จัดคนไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศโดยใช้งบจำนวนมาก ช่วงนี้อยู่ในระหว่างอยู่ในประเทศเยอรมนี หลังจากที่คณะจากเยอรมนีกลับมา จะพาอีกชุดไปประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการคณะจำนวนหนึ่งซึ่งไม่แน่ใจว่าที่รายไปดูเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินของทั้งสองประเทศ
“ผมเข้าใจว่า เป็นการพาไปดูเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ไม่ได้บอกอีกเช่นเคย ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศไทย ทำได้แค่ไปถ่ายรูป บันทึกเทป มาทำสปอร์ตมาทำโฆษณาชวนเชื่อโดยอาศัยภาพเทคโนโลยีเหล่านั้น ก่อนหน้านี้ มีการนำไปในประเทศแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น สรุปคือไม่ได้อะไรเลย ส่วนในพื้นที่ยังเป็นไปในกรอบเดิมๆ คือ หว่านผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนบางกลุ่มโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์ การใช้งบประมาณจำนวนมากในการเดินทางไปยังต่างประเทศละลายไปอีกเหมือนเคย โดยไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นกับ กฟผ.แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเรื่องนี้ผู้บริหารได้สั่งให้ยุติการทำงานในพื้นที่ชั่วคราวไปแล้ว และยังไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาเข้าใจว่าชุดที่ลงไปต้องทำไปตามแผนที่มีอยู่แล้วทำนองสมองไม่ทำงานแต่มือยังทำงาน”
แหล่งข่าวรายนี้ยังกล่าวด้วยว่า การลงพื้นที่นครศรีธรรมราชรอบใหม่เป็นการลงของ 2 ฝ่าย คือฝ่ายสื่อสารองค์กร และฝ่ายก่อสร้าง ซึ่งการจัดคนไปศึกษาดูงานนั้นฝ่ายก่อสร้างจะเป็นคนเลือกสรร จากนั้นจะส่งให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรไปบริหารจัดการ และล่าสุดมีข้อมูลว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ กฟผ.บางคนต้องรีบเคลียร์ความชัดเจน คือ การใช้จ่ายงบประมาณก่อนหน้านี้ที่มีการทุ่มลงไปจำนวนมาก แต่มีปัญหาที่ไม่ได้มีผลงานกลับมา เช่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่มีแค่ชื่อหนังสือพิมพ์แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ออกมาตามสัญญาว่าจ้าง หรืองบสนับสนุนวิทยุชุมชนหลายคลื่นที่เสมือนเป็นการจ่ายสนับสนุนเท่านั้น ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ตามสัญญาว่าจ้างเป็นต้น
ทั้งนี้ ภายในกำลังมีการตรวจสอบในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การกลับมาอีกครั้งของทีม กฟผ.ครั้งนี้กลับอยู่ในรูปแบบเดิมทั้งหมด คนที่มาอ้างการสนับสนุนการทำงาน กฟผ.เป็นกลุ่มเดิมๆ เพียงแค่ฝ่ายก่อสร้างเป็นผู้ผ่านกระบวนการบริหารจัดการไปให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรทำต่อจากเดิมทีมก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเอง
หลังจากการขยับอีกครั้งเพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งทันทีที่ กฟผ.ขยับได้มีการกระเพื่อมจากประชาชนในพื้นที่ที่กำลังเฝ้าติดตามและต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ในพื้นที่อย่างหนัก ซึ่งราว 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีความเคลื่อนของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ในหลายด้าน ทั้งในส่วนของผู้บริหารฝ่ายสื่อสารองค์กรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายสัณห์ เงินถาวร หัวหน้าคณะทำงานศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (คณะทำงานเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน)
ขณะที่พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการยืนยันชัดเจนว่ากระบวนการ 7 ขั้นตอนที่ กฟผ.ดำเนินการนั้นไม่มีข้อใดเกี่ยวข้องกับพลังงานจังหวัดทั้งสิ้น เนื่องจากสำนักงานพลังงานจังหวัดมีหน้าที่เพียงสนองนโยบาย อำนวยความสะดวก ประสานงานให้เป็นไปไปตามกรอบนโยบายกระทรวงพลังงานเท่านั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (25 ก.ค.) นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มีการหารือกันในภาพรวมจากเครือข่ายที่มีความรักในท้องถิ่นและวิถีชีวิตของเขาในหลายจังหวัดของภาคใต้ คือ สงขลา สตูล นครศรีธรรมราช ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สาระสำคัญ คือ เรื่องของนโยบายว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีการติดตามอย่างใกล้ชิด จนพบข้อมูลชัดเจนว่า มีสัญญาณบ่งชี้อย่างชัดเจนที่จะมีการสนับสนุนให้เกิดโครงการแลนด์บริดจ์ในภาคใต้ต่อไป รวมทั้งเรื่องแผนพัฒนาพลังงาน หรือ PDP เป็นสัญญาณบ่งเตือนว่า หลังจากนี้ หากประชาชนไม่ตื่นตัวต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือชนิดอื่น อุตสาหกรรมจะขยับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
“เรามีการหารือกันแล้วซึ่งมีข้อสรุปคือจะต้องเคลื่อนไหวให้รัฐบาลทบทวน ในเรื่องของนโยบายแลนด์บริดจ์ โดยแต่ละจังหวัดจะเริ่มขับเคลื่อนก่อนที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อสภา โดยแต่ละจังหวัดในภาคใต้จะเริ่มมาตรการด้วยการออกแถลงการณ์ถึงการปฏิเสธโครงการเหล่านี้ หลังจากนั้นจะติดตามต่อไปอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังเดินหน้าต่อไปภาคประชาชนจะเริ่มมาตรการในการปฏิเสธเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ”
ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ยังกล่าวต่อว่าในส่วนของการปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ทุกส่วนทั้งประชาชน ท้องถิ่น และภาควิชาการ ยังคงมีความเหนียวแน่น ส่วนกฟผ.เท่าที่ติดตามข้อมูล พบว่า ยังคงใช้วิธีการผลาญงบประมาณกันต่อไปเป็นกลยุทธ์ที่ไร้ซึ่งความจริงใจ เจ้าหน้าที่ของ กฟผ.ไม่ได้จริงใจ ไม่รู้จะจ้างคนแบบนี้ไปเพื่ออะไรเหมือนกัน กฟผ.ต้องทบทวนเหมือนกัน
“กฟผ.มีโครงการที่พากลุ่มบุคคลไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ โดยช่วงนี้ไปในประเทศเยอรมนี หลังจากจบทริปเยอรมนีจะไปออสเตรเลีย ทำเป็นแค่ดึงคนไปเที่ยว ไปเลี้ยงดูปูเสื่อ ช่วงชิงบุคคลให้มาเป็นผู้สนับสนุนตัวเอง ทำเหมือนราวกับนักการเมืองเลี้ยงดูหัวคะแนน แต่ไม่เคยลงพื้นที่พูดคุย ทำงานอย่างที่ควรจะทำ” ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลากล่าว
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นครศรีธรรมราช รายหนึ่ง เปิดเผยว่า เป็นความจริงที่ กฟผ.ได้จัดคนไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศโดยใช้งบจำนวนมาก ช่วงนี้อยู่ในระหว่างอยู่ในประเทศเยอรมนี หลังจากที่คณะจากเยอรมนีกลับมา จะพาอีกชุดไปประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการคณะจำนวนหนึ่งซึ่งไม่แน่ใจว่าที่รายไปดูเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินของทั้งสองประเทศ
“ผมเข้าใจว่า เป็นการพาไปดูเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ไม่ได้บอกอีกเช่นเคย ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศไทย ทำได้แค่ไปถ่ายรูป บันทึกเทป มาทำสปอร์ตมาทำโฆษณาชวนเชื่อโดยอาศัยภาพเทคโนโลยีเหล่านั้น ก่อนหน้านี้ มีการนำไปในประเทศแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น สรุปคือไม่ได้อะไรเลย ส่วนในพื้นที่ยังเป็นไปในกรอบเดิมๆ คือ หว่านผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนบางกลุ่มโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์ การใช้งบประมาณจำนวนมากในการเดินทางไปยังต่างประเทศละลายไปอีกเหมือนเคย โดยไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นกับ กฟผ.แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเรื่องนี้ผู้บริหารได้สั่งให้ยุติการทำงานในพื้นที่ชั่วคราวไปแล้ว และยังไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาเข้าใจว่าชุดที่ลงไปต้องทำไปตามแผนที่มีอยู่แล้วทำนองสมองไม่ทำงานแต่มือยังทำงาน”
แหล่งข่าวรายนี้ยังกล่าวด้วยว่า การลงพื้นที่นครศรีธรรมราชรอบใหม่เป็นการลงของ 2 ฝ่าย คือฝ่ายสื่อสารองค์กร และฝ่ายก่อสร้าง ซึ่งการจัดคนไปศึกษาดูงานนั้นฝ่ายก่อสร้างจะเป็นคนเลือกสรร จากนั้นจะส่งให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรไปบริหารจัดการ และล่าสุดมีข้อมูลว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่ กฟผ.บางคนต้องรีบเคลียร์ความชัดเจน คือ การใช้จ่ายงบประมาณก่อนหน้านี้ที่มีการทุ่มลงไปจำนวนมาก แต่มีปัญหาที่ไม่ได้มีผลงานกลับมา เช่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ที่มีแค่ชื่อหนังสือพิมพ์แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ออกมาตามสัญญาว่าจ้าง หรืองบสนับสนุนวิทยุชุมชนหลายคลื่นที่เสมือนเป็นการจ่ายสนับสนุนเท่านั้น ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ตามสัญญาว่าจ้างเป็นต้น
ทั้งนี้ ภายในกำลังมีการตรวจสอบในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การกลับมาอีกครั้งของทีม กฟผ.ครั้งนี้กลับอยู่ในรูปแบบเดิมทั้งหมด คนที่มาอ้างการสนับสนุนการทำงาน กฟผ.เป็นกลุ่มเดิมๆ เพียงแค่ฝ่ายก่อสร้างเป็นผู้ผ่านกระบวนการบริหารจัดการไปให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรทำต่อจากเดิมทีมก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการเอง