นครศรีธรรมราช - กฟผ.โปรยยาหอมให้ท้องถิ่นหาที่ดินก่อสร้างโรงไฟฟ้าสร้างได้จ่ายวันละ 1 ล้าน นายกอบต.ท่าขึ้นยันเมินต้านแน่ เผยจ่อสร้างอีกกระบี่-ตรัง-สุราษฎร์ธานี-ตราด ส่งทีมดอดลงพื้นที่พบกำลังถูกตรวจสอบงบประมาณใช้จ่ายในนครศรีธรรมราชถูกผลาญทิ้งอื้อ
กรณีความเคลื่อนไหวของศูนย์ข้อมูล พัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (โครงการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน) ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ต่อการเตรียมโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยหลังจากที่ต้องยุติโครงการไปชั่วคราวเนื่องจากมีการขอร้องจาก ผวจ.นครศรีธรรมราช ไปยังผู้ว่าการ กฟผ.เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างหนักของประชาชนในพื้นที่ และทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ยุติโครงการมาได้เพียงไม่กี่เดือน ปรากฏว่า ได้มีความเคลื่อนไหวในพื้นที่เพื่อผลักดันโครงการนี้อีกครั้งซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช มีอยู่ด้วยกันสองส่วน คือ ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) นำโดยนายสัณห์ เงินถาวร วิศวกร 9 ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งในส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน กฟผ. อีกส่วนคือฝ่ายสื่อสารองค์กร
ล่าสุดนั้น มีการนำคณะไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี และออสเตรเลียเป็นประเทศไทย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน กฟผ.เองยืนยันว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง และแตกต่างกันเป็นคนละชุดกับที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นการใช้จ่ายงบที่ไร้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ กฟผ.เอง
วันนี้ (27 ก.ค.) นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังสุด กฟผ.ได้มีความเคลื่อนไหวเพื่อสร้างจูงใจให้กับ อบต.กล่าวคือมีข้อเสนอเพื่อลดแรงต้านของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้วิธีการให้ อบต.ในพื้นที่จัดหาพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง โดยหากสร้างได้นั้น อบต.ที่มีโรงไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นงบประมาณเข้าสู่ อบต.ถึงวันละ 1 ล้านบาท
“ประเด็นนี้ได้มีการสอบถามจากเครือข่ายที่ร่วมต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกับเรามาก ซึ่งเรายืนชัดในแนวทางเดิม คือ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด ไม่เอาอุตสาหกรรมหนักลงมาในพื้นที่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นในละแวกนี้ ยืนยันว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ปฏิเสธไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนเงินวันละล้านดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่ กฟผ.จะมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นเงินที่เราไม่ต้องการมันไม่มีประโยชน์ได้เงินมาแล้วแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมเอาคืนมาไม่ได้ จะกี่ล้านก็ไม่คุ้มหลังจากนี้จะมีการหารือจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้งเพื่อแสดงจุดยืนต่อการปฏิเสธถ่านหินและอุตสาหกรรมหนักภายหลังจากรัฐบาลใหม่แล้ว” นายก อบต.ท่าขึ้น กล่าว
ด้านความเคลื่อนไหวภายใน กฟผ.แหล่งข่าวระดับสูง เปิดเผยว่า ทีมทำงานที่ลงไปในพื้นที่ยังคงเดินหน้าซึ่งยอมรับว่าหลายฝ่ายเป็นห่วงมาก เกรงว่า จะบานปลายเหมือนกับในประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในประจวบคีรีขันธ์ แม้ว่า กฟผ.จะมีที่ดินพร้อมสร้างแล้วก็ตามและปรับแผนที่จะสร้างเป็นไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มที่คัดค้านต่อต้านยังมีความหวาดระแวงว่าต่อไปจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งถ้าเปิดใจให้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามา เท่ากับว่ายอมให้ถ่านหินเข้ามาด้วย ซึ่ง กฟผ.พยายามทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่มีทั้งหนุนและต้านพลังงานแสดงอาทิตย์
“ในส่วนของไฟฟ้าถ่านหินนั้น กฟผ.ได้ส่งทีมลงมาทำงานเหมือนกับนครศรีธรรมราช เพื่อเตรียมการก่อสร้างเพิ่มอีก 4 จังหวัดในขณะนี้คือที่ จ.กระบี่ จะมีการสร้างขึ้นอีกครั้ง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นแผนสำรองหากนครศรีธรรมราช สร้างไม่ได้จะสร้างที่ จ.สุราษฎร์ธานี หรืออาจจะทั้งสองที่ จ.ตรัง และ จ.ตราด ที่บ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งจะเป็นไฟฟ้าถ่านหินชุดแรกที่จะต้องสร้าง” แหล่งข่าวภายใน กฟผ.รายนี้กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมในส่วนของนครศรีธรรมราช ว่า ได้มีบุคคลบางกลุ่มที่อุปโลกตัวเองสามารถควบคุมประสานงานสื่อมวลชนได้ เพื่อเสนอข่าวให้เป็นไปในเชิงบวกกับ กฟผ.เข้าไปพยายามต่อรองในเรื่องผลประโยชน์ต่างๆกับผู้ที่มีอำนาจอนุมัติเบิกจ่ายเงินของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช จนหลงเชื่อเสียงบประมาณในการสนับสนุนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาของการรายงานไปยังผู้บริหาร กฟผ.ก่อนหน้านี้ ว่า สามารถควบคุมมวลชน และควบคุมสื่อได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
ในที่สุดรายงานฉบับดังกล่าวนั้นสวนทางกับความเป็นจริงจนนำไปสู่การยุติโครงการชั่วคราวและกลับมาอีกครั้งในกรอบการทำงานแบบเดิม โดยมีกลุ่มเดิมเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้การทำงานของ กฟผ.เป็นไปอย่างไร้ทิศทางในที่สุด ซึ่งขณะนี้มีการตรวจสอบในเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณของ กฟผ.ที่ใช้จ่ายลงมาในพื้นที่แล้ว
กรณีความเคลื่อนไหวของศูนย์ข้อมูล พัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (โครงการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน) ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ต่อการเตรียมโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยหลังจากที่ต้องยุติโครงการไปชั่วคราวเนื่องจากมีการขอร้องจาก ผวจ.นครศรีธรรมราช ไปยังผู้ว่าการ กฟผ.เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างหนักของประชาชนในพื้นที่ และทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ยุติโครงการมาได้เพียงไม่กี่เดือน ปรากฏว่า ได้มีความเคลื่อนไหวในพื้นที่เพื่อผลักดันโครงการนี้อีกครั้งซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช มีอยู่ด้วยกันสองส่วน คือ ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) นำโดยนายสัณห์ เงินถาวร วิศวกร 9 ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งในส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน กฟผ. อีกส่วนคือฝ่ายสื่อสารองค์กร
ล่าสุดนั้น มีการนำคณะไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าในประเทศเยอรมนี และออสเตรเลียเป็นประเทศไทย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน กฟผ.เองยืนยันว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง และแตกต่างกันเป็นคนละชุดกับที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นการใช้จ่ายงบที่ไร้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ กฟผ.เอง
วันนี้ (27 ก.ค.) นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังสุด กฟผ.ได้มีความเคลื่อนไหวเพื่อสร้างจูงใจให้กับ อบต.กล่าวคือมีข้อเสนอเพื่อลดแรงต้านของประชาชนในพื้นที่ โดยใช้วิธีการให้ อบต.ในพื้นที่จัดหาพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง โดยหากสร้างได้นั้น อบต.ที่มีโรงไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นงบประมาณเข้าสู่ อบต.ถึงวันละ 1 ล้านบาท
“ประเด็นนี้ได้มีการสอบถามจากเครือข่ายที่ร่วมต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกับเรามาก ซึ่งเรายืนชัดในแนวทางเดิม คือ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด ไม่เอาอุตสาหกรรมหนักลงมาในพื้นที่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นในละแวกนี้ ยืนยันว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ปฏิเสธไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนเงินวันละล้านดังกล่าวนั้นเป็นเงินที่ กฟผ.จะมาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นเงินที่เราไม่ต้องการมันไม่มีประโยชน์ได้เงินมาแล้วแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่สภาพแวดล้อมเอาคืนมาไม่ได้ จะกี่ล้านก็ไม่คุ้มหลังจากนี้จะมีการหารือจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้งเพื่อแสดงจุดยืนต่อการปฏิเสธถ่านหินและอุตสาหกรรมหนักภายหลังจากรัฐบาลใหม่แล้ว” นายก อบต.ท่าขึ้น กล่าว
ด้านความเคลื่อนไหวภายใน กฟผ.แหล่งข่าวระดับสูง เปิดเผยว่า ทีมทำงานที่ลงไปในพื้นที่ยังคงเดินหน้าซึ่งยอมรับว่าหลายฝ่ายเป็นห่วงมาก เกรงว่า จะบานปลายเหมือนกับในประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในประจวบคีรีขันธ์ แม้ว่า กฟผ.จะมีที่ดินพร้อมสร้างแล้วก็ตามและปรับแผนที่จะสร้างเป็นไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มที่คัดค้านต่อต้านยังมีความหวาดระแวงว่าต่อไปจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งถ้าเปิดใจให้โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามา เท่ากับว่ายอมให้ถ่านหินเข้ามาด้วย ซึ่ง กฟผ.พยายามทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่มีทั้งหนุนและต้านพลังงานแสดงอาทิตย์
“ในส่วนของไฟฟ้าถ่านหินนั้น กฟผ.ได้ส่งทีมลงมาทำงานเหมือนกับนครศรีธรรมราช เพื่อเตรียมการก่อสร้างเพิ่มอีก 4 จังหวัดในขณะนี้คือที่ จ.กระบี่ จะมีการสร้างขึ้นอีกครั้ง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นแผนสำรองหากนครศรีธรรมราช สร้างไม่ได้จะสร้างที่ จ.สุราษฎร์ธานี หรืออาจจะทั้งสองที่ จ.ตรัง และ จ.ตราด ที่บ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งจะเป็นไฟฟ้าถ่านหินชุดแรกที่จะต้องสร้าง” แหล่งข่าวภายใน กฟผ.รายนี้กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมในส่วนของนครศรีธรรมราช ว่า ได้มีบุคคลบางกลุ่มที่อุปโลกตัวเองสามารถควบคุมประสานงานสื่อมวลชนได้ เพื่อเสนอข่าวให้เป็นไปในเชิงบวกกับ กฟผ.เข้าไปพยายามต่อรองในเรื่องผลประโยชน์ต่างๆกับผู้ที่มีอำนาจอนุมัติเบิกจ่ายเงินของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช จนหลงเชื่อเสียงบประมาณในการสนับสนุนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาของการรายงานไปยังผู้บริหาร กฟผ.ก่อนหน้านี้ ว่า สามารถควบคุมมวลชน และควบคุมสื่อได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
ในที่สุดรายงานฉบับดังกล่าวนั้นสวนทางกับความเป็นจริงจนนำไปสู่การยุติโครงการชั่วคราวและกลับมาอีกครั้งในกรอบการทำงานแบบเดิม โดยมีกลุ่มเดิมเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้การทำงานของ กฟผ.เป็นไปอย่างไร้ทิศทางในที่สุด ซึ่งขณะนี้มีการตรวจสอบในเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณของ กฟผ.ที่ใช้จ่ายลงมาในพื้นที่แล้ว