นครศรีธรรมราช - “กฟผ.” เอาแน่ตั้ง 2 โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองคอน แฉ เดินแผนลึกช่วงเลือกตั้ง ส.ส.ทำทีเหมือนจะหยุดเดินหน้าโครงการ แต่กลับมุดลงดินส่งคนไปกว้านที่แปลงใหญ่ไว้ในมือได้แล้วกว่า 2 พันไร่ที่ อ.หัวไทร พร้อมๆ กับเตรียมงบลับ 30 ล้านใช้หว่านโปรยให้กับ 5 อบต.เจ้าของพื้นที่ ด้านแกนนำกลุ่มต้านเตรียมหามาตรการเดินหน้าชนแล้วเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครศรีธรรมราช ถึงกรณีความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ ซึ่งได้มีการเตรียมการโดยศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งมีเป้าหมายสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินใน 2 พื้นที่คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยมีฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน และฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็น 2 หน่วยงานหลักของ กฟผ.เข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ในพื้นที่นั้นไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดมีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล ยกเว้นระดับผู้บริหารฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อนขึ้นไปเท่านั้น จึงจะสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาจะมีการยุติโครงการไปชั่วคราว แต่ล่าสุดนั้นได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ให้ได้ตามแผนแล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวภายใน กฟผ.เปิดเผยว่า ในส่วนของสายงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.นั้น ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นใน อ.หัวไทร เป็นที่แรก และจะต้องเร่งดำเนินการในเร็วๆนี้ เนื่องจากมีช่องว่างของแนวต้านที่เข้าใจว่า กฟผ.จะยุติโครงการไปในช่วงที่ผ่านมา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปกว้านซื้อที่ดินไปไว้ในมือได้แล้วมากกว่า 2 พันไร่ ในแถบ ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
“แต่ยังเป็นการถือครองของตัวแทนเท่านั้น กฟผ.ยังไม่ถือครองอย่างเป็นทางการ เนื่องจากติดขัดกับกระบวนการที่ต้องทำในพื้นที่ 7 ขั้นตอน ซึ่งขณะนี้อ้างว่าอยู่ในขั้นตอนที่ 1 คือ การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงยังไม่รู้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า
กฟผ.ตั้งเป้าที่จะสร้างให้ได้ภายในเร็วๆ นี้ โดยได้มีการอัดฉีดงบประมาณลงพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เบื้องต้นนั้นมี 5 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่อยู่พื้นที่เป้าหมายและบริเวณรายรอบ มีการตั้งงบประมาณไว้ 30 ล้านบาท แบ่งให้ อบต.ละ 6 ล้านบาท ซึ่งมีหลักการแบ่งคือ ให้ อบต.แต่ละแห่งทำโครงการเสนอขึ้นมา หลังจากนั้นจะอนุมัติงบให้ไป โดยที่จะไม่มีการติดตามหรือตรวจสอบจาก กฟผ. ขอเพียงแค่ถ่ายรูปแล้วรายงานกลับมาให้เท่านั้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบการใช้เงินส่วนนี้
“อย่างไรก็ตาม อีกส่วนหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การแทรกแซงเข้าไปในพื้นที่ โดยการใช้เงินและผลประโยชน์เป็นตัวนำ ให้เกิดความแตกแยกในพื้นที่ค่อนข้างมาก ทั้งฝ่ายท้องที่ ฝ่ายท้องถิ่น ผู้นำชุมชนต่างๆ ในส่วนนี้เป็นที่น่าแปลกใจว่า กฟผ.จะใช้งบประมาณมาจากส่วนไหน อีกทั้งมีการคุยจากผู้บริหารบางรายกับ อบต.ที่กำลังจะหมดวาระในปี 2555 จะมีการสนับสนุนงบประมาณในการเตรียมการเลือกตั้งในเชิงลึกอีกด้วย นับว่าน่าเป็นห่วงมาก”
แหล่งข่าวภายใน กฟผ.ยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ กฟผ.ต้องเร่งสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.หัวไทรให้ได้นั้น เพราะจะต้องให้สอดรับกับการจัดการพื้นที่ใน อ.ระโนด และ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ที่จะต้องถูกกันโซนเป็นโซนสีม่วงคือ โซนอุตสาหกรรมนั่นเอง โดยมีอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ โรงถลุงเหล็กแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในพื้นที่ อ.ระโนด ซึ่งจะต้องมีโรงไฟฟ้าคอยสนับสนุน และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะตามมาอย่างต่อเนื่องอีกหลังจากโรงไฟฟ้าที่ อ.หัวไทรสามารถเกิดขึ้นได้
ด้าน นายรอง แก้วสกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ในพื้นที่กำลังหารือกันในรายละเอียด รวมถึงติดตามการกว้านซื้อขายที่ดินของ กฟผ.ใน อ.หัวไทรที่เกิดขึ้นเช่นกัน ที่ผ่านมาหลังจากที่ กฟผ.ทำทีว่าจะยุติโครงการ แต่แท้จริงแล้วกระบวนการผลักดันจากบนดินกลับมุดลงใต้ดิน
“การลงใต้ดินของ กฟผ.คือ ส่งคนเข้าพื้นที่ไปเดินเกมให้เกิดการยอมรับ ซึ่งได้พยายามเจาะหาชุมชนรอบนอก แต่ในพื้นที่ตอนกลางของ อ.หัวไทร กฟผ.ยังไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเข้าไปเสี้ยมและสร้างความแตกแยก โดยใช้ผลประโยชน์เข้าล่อ เรื่องนี้กลุ่มพี่น้องประชาชนเครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่กำลังเตรียมที่จะกำหนดมาตรการครั้งใหม่ออกมาในเร็วๆ นี้” นายรอง กล่าวตบท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.นครศรีธรรมราช ถึงกรณีความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ ซึ่งได้มีการเตรียมการโดยศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งมีเป้าหมายสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินใน 2 พื้นที่คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยมีฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน และฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็น 2 หน่วยงานหลักของ กฟผ.เข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ในพื้นที่นั้นไม่มีเจ้าหน้าที่รายใดมีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล ยกเว้นระดับผู้บริหารฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อนขึ้นไปเท่านั้น จึงจะสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาจะมีการยุติโครงการไปชั่วคราว แต่ล่าสุดนั้นได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ให้ได้ตามแผนแล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวภายใน กฟผ.เปิดเผยว่า ในส่วนของสายงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ.นั้น ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นใน อ.หัวไทร เป็นที่แรก และจะต้องเร่งดำเนินการในเร็วๆนี้ เนื่องจากมีช่องว่างของแนวต้านที่เข้าใจว่า กฟผ.จะยุติโครงการไปในช่วงที่ผ่านมา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปกว้านซื้อที่ดินไปไว้ในมือได้แล้วมากกว่า 2 พันไร่ ในแถบ ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
“แต่ยังเป็นการถือครองของตัวแทนเท่านั้น กฟผ.ยังไม่ถือครองอย่างเป็นทางการ เนื่องจากติดขัดกับกระบวนการที่ต้องทำในพื้นที่ 7 ขั้นตอน ซึ่งขณะนี้อ้างว่าอยู่ในขั้นตอนที่ 1 คือ การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงยังไม่รู้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า
กฟผ.ตั้งเป้าที่จะสร้างให้ได้ภายในเร็วๆ นี้ โดยได้มีการอัดฉีดงบประมาณลงพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เบื้องต้นนั้นมี 5 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่อยู่พื้นที่เป้าหมายและบริเวณรายรอบ มีการตั้งงบประมาณไว้ 30 ล้านบาท แบ่งให้ อบต.ละ 6 ล้านบาท ซึ่งมีหลักการแบ่งคือ ให้ อบต.แต่ละแห่งทำโครงการเสนอขึ้นมา หลังจากนั้นจะอนุมัติงบให้ไป โดยที่จะไม่มีการติดตามหรือตรวจสอบจาก กฟผ. ขอเพียงแค่ถ่ายรูปแล้วรายงานกลับมาให้เท่านั้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบการใช้เงินส่วนนี้
“อย่างไรก็ตาม อีกส่วนหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การแทรกแซงเข้าไปในพื้นที่ โดยการใช้เงินและผลประโยชน์เป็นตัวนำ ให้เกิดความแตกแยกในพื้นที่ค่อนข้างมาก ทั้งฝ่ายท้องที่ ฝ่ายท้องถิ่น ผู้นำชุมชนต่างๆ ในส่วนนี้เป็นที่น่าแปลกใจว่า กฟผ.จะใช้งบประมาณมาจากส่วนไหน อีกทั้งมีการคุยจากผู้บริหารบางรายกับ อบต.ที่กำลังจะหมดวาระในปี 2555 จะมีการสนับสนุนงบประมาณในการเตรียมการเลือกตั้งในเชิงลึกอีกด้วย นับว่าน่าเป็นห่วงมาก”
แหล่งข่าวภายใน กฟผ.ยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ กฟผ.ต้องเร่งสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.หัวไทรให้ได้นั้น เพราะจะต้องให้สอดรับกับการจัดการพื้นที่ใน อ.ระโนด และ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ที่จะต้องถูกกันโซนเป็นโซนสีม่วงคือ โซนอุตสาหกรรมนั่นเอง โดยมีอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ โรงถลุงเหล็กแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในพื้นที่ อ.ระโนด ซึ่งจะต้องมีโรงไฟฟ้าคอยสนับสนุน และยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จะตามมาอย่างต่อเนื่องอีกหลังจากโรงไฟฟ้าที่ อ.หัวไทรสามารถเกิดขึ้นได้
ด้าน นายรอง แก้วสกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขณะนี้ในพื้นที่กำลังหารือกันในรายละเอียด รวมถึงติดตามการกว้านซื้อขายที่ดินของ กฟผ.ใน อ.หัวไทรที่เกิดขึ้นเช่นกัน ที่ผ่านมาหลังจากที่ กฟผ.ทำทีว่าจะยุติโครงการ แต่แท้จริงแล้วกระบวนการผลักดันจากบนดินกลับมุดลงใต้ดิน
“การลงใต้ดินของ กฟผ.คือ ส่งคนเข้าพื้นที่ไปเดินเกมให้เกิดการยอมรับ ซึ่งได้พยายามเจาะหาชุมชนรอบนอก แต่ในพื้นที่ตอนกลางของ อ.หัวไทร กฟผ.ยังไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเข้าไปเสี้ยมและสร้างความแตกแยก โดยใช้ผลประโยชน์เข้าล่อ เรื่องนี้กลุ่มพี่น้องประชาชนเครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่กำลังเตรียมที่จะกำหนดมาตรการครั้งใหม่ออกมาในเร็วๆ นี้” นายรอง กล่าวตบท้าย