นครศรีธรรมราช - คณะทำงานเตรียมก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงพื้นที่ส่อเป็น “ศรีธนญชัย” คนในเผยคำสั่งปลดล็อกในตัวเองหลังเลือกตั้ง ที่เหลือเดินหน้าตามแผน ด้านเครือข่ายต่อต้านแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ เตรียมประชุม 6 ส.ค.ก่อนประกาศแผน “เพชรเกษม 41” ต้านโครงการยักษ์
กรณีความเคลื่อนไหวของศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ต่อการเตรียมโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยหลังจากที่ต้องยุติโครงการไปชั่วคราว เนื่องจากมีการขอร้องจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังผู้ว่าการ กฟผ.เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างหนักของประชาชนในพื้นที่ และทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และหลังจากที่ยุติโครงการมาได้เพียงไม่กี่เดือน ปรากฏว่า ได้มีความเคลื่อนไหวในพื้นที่ เพื่อผลักดันโครงการนี้อีกครั้ง ซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) นำโดยนายสัณห์ เงินถาวร วิศวกร 9 ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งในส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน กฟผ.
อีกส่วนคือฝ่ายสื่อสารองค์กร โดยล่าสุดนั้น มีการนำคณะไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าในประเทศเยอรมัน และออสเตรเลีย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน กฟผ.เองยืนยันว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง และแตกต่างกันเป็นคนละชุดกับที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นการใช้จ่ายงบที่ไร้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ กฟผ.เอง นอกจากนั้น ยังมีความเคลื่อนไหวในการเตรียมการลักษณะเดียวกันกับนครศรีธรรมราช อีก 3 จังหวัดคือสุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ และ จ.ตราด โดยได้มีการปรับแผนพยายามที่จะเข้าหาพื้นที่การก่อสร้าง โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีรายได้จาก กฟผ.เข้าพัฒนาท้องถิ่นถึงวันละ 1 ล้านบาท
ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (29 ก.ค.) แหล่งข่าวภายใน กฟผ.ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องของการดูงานยังต่างประเทศ โดยเอาผู้ที่จะเดินทางไปศึกษานั้นมาจากพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้าง โดยก่อนหน้านี้ มีการเรียกประชุมเมื่อราววันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทำความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยฝ่ายสื่อสารองค์กรของ กฟผ.ซึ่งมีทั้งการรายงานสถานการณ์ ข้อเสนอแนะ และตรวจสอบแผนและตารางการดูงานโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ซึ่งประเทศแรก คือ เยอรมนี และถัดมาคือออสเตรเลีย
ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของการทำงานลงพื้นที่มีการประชุมกลุ่มย่อยกันเป็นการภายใน ซึ่งยังไม่มีการพูดถึงเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช แต่มีการพูดถึงโครงการที่ถูกรื้อขึ้นมาทำการก่อสร้างในเร็วๆ นี้ คือ กระบี่ และ ตรัง เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินลักษณะยื่นสะพานลงไปในทะเลราว 4 กม.
และประเด็นที่ 3 คือ เรื่องภาพรวมทั่วไป อย่างไรก็ตาม ต่อกรณีการสั่งให้ยุติโครงการของนครศรีธรรมราช นั้นได้มีการปลดล็อกคำสั่งไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการสั่งยุติก่อนการเลือกตั้ง ดังนั้น เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วการทำงานทุกอย่างได้รับการปลดล็อก ทุกอย่างจึงเดินไปตามแผนการลงพื้นที่ของคณะทำงานชุดต่างๆ จึงเป็นเรื่องปกติ ทำไปตามแผนเดิมที่มีมาก่อนแล้ว ดังนั้นนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ลำดับต้นๆ ในแผนเช่นเดียวกับ บ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด” แหล่งข่าวรายนี้ กล่าว
ส่วนทางด้านเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้งในวัน 6 ส.ค.หลังจากนั้นจะประกาศวันดีเดย์พร้อมกันทั่วภาคใต้ เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้านนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ คือ เรื่องพลังงาน แลนด์บริดจ์ การถมทะเลอ่าวคอไก่ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ท่าเรือน้ำลึกสตูล โรงไฟฟ้าจะนะ โรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใน จ.ชุมพร การขุดเจาะปิโตรเลียมจุดที่ใกล้กับเกาะสมุย อันนี้เป็นสาระสำคัญในภาพรวม
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช เราได้ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจน ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง คือ การทำสัญญาประชาคมไม่เอาโรงไฟฟ้าโดยผู้สมัครทั้งได้รับเลือกตั้ง และไม่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ในเมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังกลับมาอีกครั้งจะมีการเชิญ ส.ส.และอดีตผู้สมัคร ส.ส.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมหารือตามสัญญาประชาคมที่เคยให้ไว้เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันอีกครั้ง
“เรายืนยันว่า ในส่วนของนครศรีธรรมราชได้มองข้ามโรงฟ้าถ่านหินไปแล้ว แต่เรากำลังหารือและดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ ที่จะนำงบประมาณของท้องถิ่นมาดำเนินการสร้างระบบพลังงานหมุนเวียนซึ่งสีวัตถุดิบอยู่ในท้องถิ่นของตัวเอง รอเพียงการปลดล็อก เหล่านี้สามารถที่จะตอบสนองชุมชนได้ นำเข้าสู่ระบบหมุนเวียนพลังงานของท้องถิ่น” ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กล่าว
กรณีความเคลื่อนไหวของศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ต่อการเตรียมโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช โดยหลังจากที่ต้องยุติโครงการไปชั่วคราว เนื่องจากมีการขอร้องจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังผู้ว่าการ กฟผ.เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างหนักของประชาชนในพื้นที่ และทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และหลังจากที่ยุติโครงการมาได้เพียงไม่กี่เดือน ปรากฏว่า ได้มีความเคลื่อนไหวในพื้นที่ เพื่อผลักดันโครงการนี้อีกครั้ง ซึ่งในส่วนของนครศรีธรรมราช มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช (ศูนย์เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน) นำโดยนายสัณห์ เงินถาวร วิศวกร 9 ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งในส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน กฟผ.
อีกส่วนคือฝ่ายสื่อสารองค์กร โดยล่าสุดนั้น มีการนำคณะไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าในประเทศเยอรมัน และออสเตรเลีย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน กฟผ.เองยืนยันว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง และแตกต่างกันเป็นคนละชุดกับที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นการใช้จ่ายงบที่ไร้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ กฟผ.เอง นอกจากนั้น ยังมีความเคลื่อนไหวในการเตรียมการลักษณะเดียวกันกับนครศรีธรรมราช อีก 3 จังหวัดคือสุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ และ จ.ตราด โดยได้มีการปรับแผนพยายามที่จะเข้าหาพื้นที่การก่อสร้าง โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีรายได้จาก กฟผ.เข้าพัฒนาท้องถิ่นถึงวันละ 1 ล้านบาท
ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (29 ก.ค.) แหล่งข่าวภายใน กฟผ.ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความเคลื่อนไหวใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องของการดูงานยังต่างประเทศ โดยเอาผู้ที่จะเดินทางไปศึกษานั้นมาจากพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้าง โดยก่อนหน้านี้ มีการเรียกประชุมเมื่อราววันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทำความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยฝ่ายสื่อสารองค์กรของ กฟผ.ซึ่งมีทั้งการรายงานสถานการณ์ ข้อเสนอแนะ และตรวจสอบแผนและตารางการดูงานโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ซึ่งประเทศแรก คือ เยอรมนี และถัดมาคือออสเตรเลีย
ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องของการทำงานลงพื้นที่มีการประชุมกลุ่มย่อยกันเป็นการภายใน ซึ่งยังไม่มีการพูดถึงเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช แต่มีการพูดถึงโครงการที่ถูกรื้อขึ้นมาทำการก่อสร้างในเร็วๆ นี้ คือ กระบี่ และ ตรัง เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินลักษณะยื่นสะพานลงไปในทะเลราว 4 กม.
และประเด็นที่ 3 คือ เรื่องภาพรวมทั่วไป อย่างไรก็ตาม ต่อกรณีการสั่งให้ยุติโครงการของนครศรีธรรมราช นั้นได้มีการปลดล็อกคำสั่งไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการสั่งยุติก่อนการเลือกตั้ง ดังนั้น เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วการทำงานทุกอย่างได้รับการปลดล็อก ทุกอย่างจึงเดินไปตามแผนการลงพื้นที่ของคณะทำงานชุดต่างๆ จึงเป็นเรื่องปกติ ทำไปตามแผนเดิมที่มีมาก่อนแล้ว ดังนั้นนครศรีธรรมราชเป็นพื้นที่ลำดับต้นๆ ในแผนเช่นเดียวกับ บ้านไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด” แหล่งข่าวรายนี้ กล่าว
ส่วนทางด้านเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้งในวัน 6 ส.ค.หลังจากนั้นจะประกาศวันดีเดย์พร้อมกันทั่วภาคใต้ เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้านนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ คือ เรื่องพลังงาน แลนด์บริดจ์ การถมทะเลอ่าวคอไก่ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ท่าเรือน้ำลึกสตูล โรงไฟฟ้าจะนะ โรงฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใน จ.ชุมพร การขุดเจาะปิโตรเลียมจุดที่ใกล้กับเกาะสมุย อันนี้เป็นสาระสำคัญในภาพรวม
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช เราได้ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจน ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง คือ การทำสัญญาประชาคมไม่เอาโรงไฟฟ้าโดยผู้สมัครทั้งได้รับเลือกตั้ง และไม่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ในเมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังกลับมาอีกครั้งจะมีการเชิญ ส.ส.และอดีตผู้สมัคร ส.ส.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมหารือตามสัญญาประชาคมที่เคยให้ไว้เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันอีกครั้ง
“เรายืนยันว่า ในส่วนของนครศรีธรรมราชได้มองข้ามโรงฟ้าถ่านหินไปแล้ว แต่เรากำลังหารือและดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ ที่จะนำงบประมาณของท้องถิ่นมาดำเนินการสร้างระบบพลังงานหมุนเวียนซึ่งสีวัตถุดิบอยู่ในท้องถิ่นของตัวเอง รอเพียงการปลดล็อก เหล่านี้สามารถที่จะตอบสนองชุมชนได้ นำเข้าสู่ระบบหมุนเวียนพลังงานของท้องถิ่น” ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กล่าว