นครศรีธรรมราช - คืนชีพโรงไฟฟ้าถ่านหิน นครศรี ส่อเดือดรอบใหม่-คน กฟผ.แบ่งตำบลกระสุนตกโยนกลองวุ่น พลังงานจังหวัดยันไม่ได้เป็นหัวหอกให้ กฟผ.ไม่เกี่ยวทั้ง 7 ขั้นตอนเครือข่ายท่าศาลายันไม่ต้องเจรจาไม่เอาดักคอคน กฟผ.อย่าเสนอหน้าไปรายงาน “นาย” ว่า เจรจาลงตัว
กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีเป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ถูกประชาชนใน 2 อำเภอ คือ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช คัดค้านอย่างหนักและเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนทางนายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกหนังสือร้องขอไปยังผู้ว่า กฟผ.ให้ยุติโครงการไว้ก่อนและให้ย้ายเจ้าหน้าที่โครงการนี้ของ กฟผ.ออกนอกพื้นที่ไปก่อน และล่าสุดนั้น เจ้าหน้าที่ของ กฟผ.ได้กลับมาในพื้นที่เริ่มโครงการรอบใหม่อีกครั้ง โดยเริ่มผ่านวิธีการต่างๆ แบบเดิมๆ ในกรอบแนวคิดแบบเดิมที่สร้างปัญหาให้อย่างหนักในแบบรอบที่แล้ว
ความคืบหน้าวันนี้ ( 21 ก.ค.) แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับ กฟผ.ระดับสูงรายหนึ่งเปิดเผยว่า กระบวนการทำงานในพื้นที่ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งจริงตั้งแต่หลังเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยมีการส่งทีมปฏิบัติงานลงไป 2 ชุดคือทีมสื่อสารองค์กร และทีมก่อสร้างโครงการ ส่วนทีมงานด้านมวลชนสัมพันธ์นั้นต้องยุติไว้ก่อน เนื่องจากเมื่อลงไปนั้นไม่ประสบความสำเร็จและยิ่งมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจในเรื่องนี้คือต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่นครศรีธรรมราชแน่นอน
“ผมพบข้อมูลมีการรายงานผู้บริหารจากทีมงาน กฟผ.ในพื้นที่ว่าสามารถเจรจากับแกนนำเครือข่ายต่อต้านต่างๆ แล้ว รวมทั้งสามารถบริหารจัดการบางฝ่ายที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้ คิดว่าการลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่มีปัญหา ซึ่งในกรณีนี้การรายงานเช่นนี้เป็นไปได้ยากมากในพื้นที่ไม่น่าจะเจรจาได้อย่างง่ายดาย” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนการก่อสร้างนั้นเข้าใจว่า โรงแรกน่าจะเกิดขึ้นใน อ.หัวไทร ก่อน อ.ท่าศาลา เพราะโดยทางลึกนั้นมีการเตรียมหาที่ดินไว้อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เข้าใจว่าได้มาแล้วเกือบ 2,000 ไร่ ซึ่งจริงๆแล้ว กฟผ.ควรเปิดเผยทำอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้นไม่ควรชักเข้าชักออกตั้งแต่ต้น ควรบอกไปเลยว่าจะทำเพราะอะไร อย่างไร ไม่ใช่เข้าไปคลุมถุงกล่อมชาวบ้านสร้างความแตกแยกเช่นนี้ และยิ่งมาครั้งนี้พยายามโยนออกไปว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น กฟผ.ไม่ได้ดำเนินการเองแต่เจ้าภาพหลักคือกระทรวงพลังงานและในพื้นที่คือพลังงานจังหวัดเข้าใจว่ายังผิดฝากผิดตัว
ด้าน นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า ต้องอธิบายให้ชัดสืบเนื่องจากครั้งที่แล้วการเป็นเจ้าภาพ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จะนำเอาทุกฝ่ายมาเจรจาพูดคุยในทางวิชาการหาข้อยุติว่าเห็นด้วยให้สร้างมีเหตุผลอย่างไร ไม่เห็นด้วยให้สร้างมีเหตุผลอย่างไร การเป็นเจ้าภาพของจังหวัดคือการเป็นแกนกลางพูดคุย พลังงานจังหวัดจึงรับหน้าที่ในการประสานงานกับทุกฝ่ายมาร่วมคุยกันในเร็วๆ นี้ เข้าใจว่า หลังจากรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว
“ผมเข้าใจว่าที่คน กฟผ.บางคนให้ข้อมูลว่าพลังงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพเรื่องของโรงไฟฟ้านั้นเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่เข้าใจ กรอบอำนาจหน้าที่ของพลังงานจังหวัดคืออำนวยความสะดวก ประสานงาน ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงาน ไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ทำตามหน้าที่อยู่แล้ว และในภารกิจ 7 ข้อของ กฟผ.จนถึงขั้นสร้างโรงไฟฟ้านั้นพลังงานจังหวัดไม่เกี่ยวเลย ซึ่งในขณะนี้พลังงานจังหวัดเดินตามแนวทางของผู้ว่าราชการจังหวัดคือต้องมาข้อยุติร่วมกันคือประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่สร้างเท่านั้น แต่ทั้งนี้ขอบอกว่าแนวคิดคือในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีทั้งหมดและไม่ดีทั้งหมด และไม่มีการพัฒนาใดๆ ที่ไม่เกิดความสูญเสีย” พลังงานจังหวัดนครศรีรรมราช ระบุ
ขณะที่ นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่มีการถูกระบุว่าสามารถเจรจาได้ลงตัว นายทรงวุฒิกล่าวว่าขอประกาศชัดๆ เลยว่าไม่มีใครที่จะติดต่อพูดคุยกับตนในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเลย ขอยืนยันว่าเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา พร้อมที่จะเดินในแนวทางเดิมคือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด
“เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมายังมีการพูดคุยประสานกันอย่างชัดเจนในความเป็นเป็นปึกแผ่นทั้งเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลาซึ่งเป็นภาคประชาชน เครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งนายก อบต. ส.อบต. ส.จ.เป็นต้น และเครือข่ายวิชาการ เป็นนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในภาคใต้มีจุดยืนเดียวกัน คือ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด 400 ล้าน เราก็ไม่เอา ไม่ต้องไปรายงานว่าสามารถมาเคลียร์พูดคุยได้ หรือถ้ารายงานไปแล้วขอย้ำชัดๆ ว่า ลูกน้องไปรายงานเท็จ” นายทรงวุฒิ กล่าว
ส่วนในพื้นที่ อ.หัวไทร นายสมิง พัฒนานนท์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช แกนนำ เครือข่ายต่อต้านโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.หัวไทร เปิดเผยว่าเป็นความจริงในขณะนี้ กฟผ.เริ่มเปิดทำงานในพื้นที่อีกครั้งแล้ว หลังจากยุติไปหลายเดือน ซึ่งในส่วนของประชาชนในพื้นที่เริ่มรับรู้ถึงสัญญาณการรุกเข้ามาของ กฟผ.อีกครั้ง เมื่อคืนที่ผ่านมา แกนนำต่อต้านของ อ.หัวไทร ได้ประชุมกันมีข้อสรุปชัดและเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่เอาโรงไฟฟ้า จะดำเนินการคัดค้านต่อต้านกันอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากนี้ จะประสานกับประชานในพื้นที่ที่ยังไม่ทราบข้อมูลให้ทราบว่า กฟผ.กำลังกลับมาอีกครั้ง
กรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีเป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่นครศรีธรรมราช ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ถูกประชาชนใน 2 อำเภอ คือ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช คัดค้านอย่างหนักและเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นจนทางนายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกหนังสือร้องขอไปยังผู้ว่า กฟผ.ให้ยุติโครงการไว้ก่อนและให้ย้ายเจ้าหน้าที่โครงการนี้ของ กฟผ.ออกนอกพื้นที่ไปก่อน และล่าสุดนั้น เจ้าหน้าที่ของ กฟผ.ได้กลับมาในพื้นที่เริ่มโครงการรอบใหม่อีกครั้ง โดยเริ่มผ่านวิธีการต่างๆ แบบเดิมๆ ในกรอบแนวคิดแบบเดิมที่สร้างปัญหาให้อย่างหนักในแบบรอบที่แล้ว
ความคืบหน้าวันนี้ ( 21 ก.ค.) แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับ กฟผ.ระดับสูงรายหนึ่งเปิดเผยว่า กระบวนการทำงานในพื้นที่ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งจริงตั้งแต่หลังเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยมีการส่งทีมปฏิบัติงานลงไป 2 ชุดคือทีมสื่อสารองค์กร และทีมก่อสร้างโครงการ ส่วนทีมงานด้านมวลชนสัมพันธ์นั้นต้องยุติไว้ก่อน เนื่องจากเมื่อลงไปนั้นไม่ประสบความสำเร็จและยิ่งมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจในเรื่องนี้คือต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่นครศรีธรรมราชแน่นอน
“ผมพบข้อมูลมีการรายงานผู้บริหารจากทีมงาน กฟผ.ในพื้นที่ว่าสามารถเจรจากับแกนนำเครือข่ายต่อต้านต่างๆ แล้ว รวมทั้งสามารถบริหารจัดการบางฝ่ายที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้ คิดว่าการลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่มีปัญหา ซึ่งในกรณีนี้การรายงานเช่นนี้เป็นไปได้ยากมากในพื้นที่ไม่น่าจะเจรจาได้อย่างง่ายดาย” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนการก่อสร้างนั้นเข้าใจว่า โรงแรกน่าจะเกิดขึ้นใน อ.หัวไทร ก่อน อ.ท่าศาลา เพราะโดยทางลึกนั้นมีการเตรียมหาที่ดินไว้อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เข้าใจว่าได้มาแล้วเกือบ 2,000 ไร่ ซึ่งจริงๆแล้ว กฟผ.ควรเปิดเผยทำอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้นไม่ควรชักเข้าชักออกตั้งแต่ต้น ควรบอกไปเลยว่าจะทำเพราะอะไร อย่างไร ไม่ใช่เข้าไปคลุมถุงกล่อมชาวบ้านสร้างความแตกแยกเช่นนี้ และยิ่งมาครั้งนี้พยายามโยนออกไปว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น กฟผ.ไม่ได้ดำเนินการเองแต่เจ้าภาพหลักคือกระทรวงพลังงานและในพื้นที่คือพลังงานจังหวัดเข้าใจว่ายังผิดฝากผิดตัว
ด้าน นายอุทัย ภูริพงศธร พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า ต้องอธิบายให้ชัดสืบเนื่องจากครั้งที่แล้วการเป็นเจ้าภาพ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จะนำเอาทุกฝ่ายมาเจรจาพูดคุยในทางวิชาการหาข้อยุติว่าเห็นด้วยให้สร้างมีเหตุผลอย่างไร ไม่เห็นด้วยให้สร้างมีเหตุผลอย่างไร การเป็นเจ้าภาพของจังหวัดคือการเป็นแกนกลางพูดคุย พลังงานจังหวัดจึงรับหน้าที่ในการประสานงานกับทุกฝ่ายมาร่วมคุยกันในเร็วๆ นี้ เข้าใจว่า หลังจากรัฐบาลใหม่เรียบร้อยแล้ว
“ผมเข้าใจว่าที่คน กฟผ.บางคนให้ข้อมูลว่าพลังงานจังหวัดเป็นเจ้าภาพเรื่องของโรงไฟฟ้านั้นเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดและไม่เข้าใจ กรอบอำนาจหน้าที่ของพลังงานจังหวัดคืออำนวยความสะดวก ประสานงาน ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงพลังงาน ไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ทำตามหน้าที่อยู่แล้ว และในภารกิจ 7 ข้อของ กฟผ.จนถึงขั้นสร้างโรงไฟฟ้านั้นพลังงานจังหวัดไม่เกี่ยวเลย ซึ่งในขณะนี้พลังงานจังหวัดเดินตามแนวทางของผู้ว่าราชการจังหวัดคือต้องมาข้อยุติร่วมกันคือประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่สร้างเท่านั้น แต่ทั้งนี้ขอบอกว่าแนวคิดคือในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีทั้งหมดและไม่ดีทั้งหมด และไม่มีการพัฒนาใดๆ ที่ไม่เกิดความสูญเสีย” พลังงานจังหวัดนครศรีรรมราช ระบุ
ขณะที่ นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่มีการถูกระบุว่าสามารถเจรจาได้ลงตัว นายทรงวุฒิกล่าวว่าขอประกาศชัดๆ เลยว่าไม่มีใครที่จะติดต่อพูดคุยกับตนในเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเลย ขอยืนยันว่าเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา พร้อมที่จะเดินในแนวทางเดิมคือไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด
“เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมายังมีการพูดคุยประสานกันอย่างชัดเจนในความเป็นเป็นปึกแผ่นทั้งเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลาซึ่งเป็นภาคประชาชน เครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งนายก อบต. ส.อบต. ส.จ.เป็นต้น และเครือข่ายวิชาการ เป็นนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยในภาคใต้มีจุดยืนเดียวกัน คือ ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเด็ดขาด 400 ล้าน เราก็ไม่เอา ไม่ต้องไปรายงานว่าสามารถมาเคลียร์พูดคุยได้ หรือถ้ารายงานไปแล้วขอย้ำชัดๆ ว่า ลูกน้องไปรายงานเท็จ” นายทรงวุฒิ กล่าว
ส่วนในพื้นที่ อ.หัวไทร นายสมิง พัฒนานนท์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช แกนนำ เครือข่ายต่อต้านโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.หัวไทร เปิดเผยว่าเป็นความจริงในขณะนี้ กฟผ.เริ่มเปิดทำงานในพื้นที่อีกครั้งแล้ว หลังจากยุติไปหลายเดือน ซึ่งในส่วนของประชาชนในพื้นที่เริ่มรับรู้ถึงสัญญาณการรุกเข้ามาของ กฟผ.อีกครั้ง เมื่อคืนที่ผ่านมา แกนนำต่อต้านของ อ.หัวไทร ได้ประชุมกันมีข้อสรุปชัดและเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่เอาโรงไฟฟ้า จะดำเนินการคัดค้านต่อต้านกันอย่างต่อเนื่อง โดยหลังจากนี้ จะประสานกับประชานในพื้นที่ที่ยังไม่ทราบข้อมูลให้ทราบว่า กฟผ.กำลังกลับมาอีกครั้ง