ศูนย์ข่าวภูเก็ต - อนุ กมธ.ต่างประเทศ วุฒิสภา ศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยฯ ลงพื้นที่ภูเก็ต ติดตามปัญหาชาวเล เตรียมเสนอรัฐบาลช่วยเหลือแก้ปัญหากรรมสิทธิ์การถือครองที่ดิน
วันนี้ (17 มี.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายพิเชต สุนทรพิพิธ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย พร้อมคณะ เดินทางมารับทราบปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมี นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายขันตี ศิลปะ นายอำเภอเมืองภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบรรยายสรุป พร้อมนำลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชม และรับทราบปัญหาของพี่น้องชุมชนไทยใหม่ ราไวย์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้หาดราไวย์ หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีชาวไทยใหม่ให้การตอนรับ และนำเสนอปัญหาความต้องการ
สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดภูเก็ต มีชาวไทยใหม่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมอแกลน อาศัยอยู่บ้านแหลมหลา และบ้านหินลูกเดียว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง กับกลุ่มอุลักลาโว้ย อาศัยอยู่บ้านเกาะสิเหร่ ต.รัษฎา หาดราไวย์ ต.ราไวย์ และบ้านสะปำ ต.เกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต มีครัวเรือน 984 หลัง และมีประชากร จำนวน 3,816 คน
โดยปัญหาของชุมชุมในภาพรวมมีทั้งปัญหาด้านความมั่นคงในชีวิต เช่น ปัญหาที่ตั้งชุมชน ปัญหาที่ทำกิน เอกชนเจ้าของที่ดินฟ้องร้องเรื่องการสร้างบ้านและต่อเติมบ้าน การขอเลขที่บ้านไม่ได้ การเข้าไปประกอบอาชีพในเขตหวงห้ามถูกทางราชการจับกุม เอกชนขับไล่ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น ด้านการศึกษา เช่น ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน เด็กจบการศึกษาภาคบังคับไม่ได้ศึกษาต่อหรือฝึกอาชีพ เด็กจบการศึกษาภาคบังคับส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ บางส่วนไม่ได้เรียนหนังสือตามเกณฑ์ เด็กมีปมด้อยเพราะถูกดูแคลนจากเพื่อนนักเรียนจากชุมชนอื่นในโรงเรียน เป็นต้น ด้านสาธารณสุข เช่น โรคน้ำหนีบ ชุมชนและส่วนราชการขาดการดูแลเอาใจใส่ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม บางพื้นที่ยังมีการคลอดลูกจากหมอตำแยที่ยังไม่ผ่านการอบรม ส้วมไม่เพียงพอ บัตรประกันสุขภาพไม่ครบทุกครัวเรือน เป็นต้น ด้านการนับถือศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี เช่น ความแตกแยกในชุมชนเนื่องจากถูกชักจูงให้นับถือศาสนา เด็กรุ่นใหม่พูดภาษาตนเองไม่ได้ ไม่มีการสืบสานวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาของจังหวัดภูเก็ตในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนต่างๆ จำนวน 28 ชุมชน ในระดับจังหวัดและอำเภอ โดยนำมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลน 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ชุมชนตั้งบ้านเรือนก่อนวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 โดยผ่อนผันให้ราษฎรอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ กับกรณีที่ 2 ชุมชนที่ตั้งบ้านเรือน หลังวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ให้จังหวัดทำเรื่องผ่อนผันขอใช้พื้นที่ป่าเลนและให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 1 โดยให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันป้องกันการบุกรุกเพิ่ม รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลป่าชายเลนบริเวณใกล้เคียงมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วย ให้มีการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีประมาณ 30 คน ลงนามความร่วมมือในการร่วมกันปลูกป่าชายเลนจำนวน 1 ล้านต้น พัฒนาองค์การการเงินจัดให้มีกลุ่มออมทรัพย์และพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน จัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระดับจังหวัด การดูแลด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในชุมชนราไวย์ และจัดทำคำของบประมาณประจำปี 2553 โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวเล
นายพิเชต กล่าวหลังรับฟังบรรยายสรุป และลงพื้นที่รับทราบปัญหา ว่า เท่าที่รับฟังพบว่ามีปัญหาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย หลังจากกลับไปแล้วก็จะได้หารือถึงแนวทางการแก้ไข เพราะเป็นเรื่องของค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยการตรวจพิสูจน์สิทธิ์ ซึ่งจะได้นำเสนอปัญหาให้กับรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับด้านสุขอนามัย การศึกษา และสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ในระดับพื้นที่ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของทางอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเข้าไปช่วยดูแลแก้ปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
ปัจจุบันทางกรรมาธิการได้ยกปัญหาเรื่องชาติพันธุ์เป็นวาระสำคัญและได้มีการดำเนินการไปแล้วในบางกลุ่ม เช่น ชุมชนพม่าในประเทศไทย เป็นต้น หลังจากนั้นก็ได้มีการดำเนินการต่อในส่วนของกลุ่มโรฮิงญาและกลุ่มของชาวไทยใหม่หรือชาวเล ซึ่งก็จะต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้นก็จะนำเสนอข้อมูลให้กับรัฐบาลไปดำเนินการต่อ และติดตามผลว่าเป็นอย่างไร
วันนี้ (17 มี.ค.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายพิเชต สุนทรพิพิธ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย พร้อมคณะ เดินทางมารับทราบปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดภูเก็ต โดยมี นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายขันตี ศิลปะ นายอำเภอเมืองภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบรรยายสรุป พร้อมนำลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชม และรับทราบปัญหาของพี่น้องชุมชนไทยใหม่ ราไวย์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้หาดราไวย์ หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีชาวไทยใหม่ให้การตอนรับ และนำเสนอปัญหาความต้องการ
สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดภูเก็ต มีชาวไทยใหม่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมอแกลน อาศัยอยู่บ้านแหลมหลา และบ้านหินลูกเดียว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง กับกลุ่มอุลักลาโว้ย อาศัยอยู่บ้านเกาะสิเหร่ ต.รัษฎา หาดราไวย์ ต.ราไวย์ และบ้านสะปำ ต.เกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต มีครัวเรือน 984 หลัง และมีประชากร จำนวน 3,816 คน
โดยปัญหาของชุมชุมในภาพรวมมีทั้งปัญหาด้านความมั่นคงในชีวิต เช่น ปัญหาที่ตั้งชุมชน ปัญหาที่ทำกิน เอกชนเจ้าของที่ดินฟ้องร้องเรื่องการสร้างบ้านและต่อเติมบ้าน การขอเลขที่บ้านไม่ได้ การเข้าไปประกอบอาชีพในเขตหวงห้ามถูกทางราชการจับกุม เอกชนขับไล่ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น ด้านการศึกษา เช่น ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือเตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน เด็กจบการศึกษาภาคบังคับไม่ได้ศึกษาต่อหรือฝึกอาชีพ เด็กจบการศึกษาภาคบังคับส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ บางส่วนไม่ได้เรียนหนังสือตามเกณฑ์ เด็กมีปมด้อยเพราะถูกดูแคลนจากเพื่อนนักเรียนจากชุมชนอื่นในโรงเรียน เป็นต้น ด้านสาธารณสุข เช่น โรคน้ำหนีบ ชุมชนและส่วนราชการขาดการดูแลเอาใจใส่ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม บางพื้นที่ยังมีการคลอดลูกจากหมอตำแยที่ยังไม่ผ่านการอบรม ส้วมไม่เพียงพอ บัตรประกันสุขภาพไม่ครบทุกครัวเรือน เป็นต้น ด้านการนับถือศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี เช่น ความแตกแยกในชุมชนเนื่องจากถูกชักจูงให้นับถือศาสนา เด็กรุ่นใหม่พูดภาษาตนเองไม่ได้ ไม่มีการสืบสานวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาของจังหวัดภูเก็ตในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนต่างๆ จำนวน 28 ชุมชน ในระดับจังหวัดและอำเภอ โดยนำมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลน 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ชุมชนตั้งบ้านเรือนก่อนวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 โดยผ่อนผันให้ราษฎรอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ กับกรณีที่ 2 ชุมชนที่ตั้งบ้านเรือน หลังวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ให้จังหวัดทำเรื่องผ่อนผันขอใช้พื้นที่ป่าเลนและให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ 1 โดยให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันป้องกันการบุกรุกเพิ่ม รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลป่าชายเลนบริเวณใกล้เคียงมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วย ให้มีการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีประมาณ 30 คน ลงนามความร่วมมือในการร่วมกันปลูกป่าชายเลนจำนวน 1 ล้านต้น พัฒนาองค์การการเงินจัดให้มีกลุ่มออมทรัพย์และพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน จัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระดับจังหวัด การดูแลด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมในชุมชนราไวย์ และจัดทำคำของบประมาณประจำปี 2553 โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวเล
นายพิเชต กล่าวหลังรับฟังบรรยายสรุป และลงพื้นที่รับทราบปัญหา ว่า เท่าที่รับฟังพบว่ามีปัญหาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย หลังจากกลับไปแล้วก็จะได้หารือถึงแนวทางการแก้ไข เพราะเป็นเรื่องของค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยการตรวจพิสูจน์สิทธิ์ ซึ่งจะได้นำเสนอปัญหาให้กับรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ รวมไปถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับด้านสุขอนามัย การศึกษา และสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ในระดับพื้นที่ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของทางอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเข้าไปช่วยดูแลแก้ปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
ปัจจุบันทางกรรมาธิการได้ยกปัญหาเรื่องชาติพันธุ์เป็นวาระสำคัญและได้มีการดำเนินการไปแล้วในบางกลุ่ม เช่น ชุมชนพม่าในประเทศไทย เป็นต้น หลังจากนั้นก็ได้มีการดำเนินการต่อในส่วนของกลุ่มโรฮิงญาและกลุ่มของชาวไทยใหม่หรือชาวเล ซึ่งก็จะต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้นก็จะนำเสนอข้อมูลให้กับรัฐบาลไปดำเนินการต่อ และติดตามผลว่าเป็นอย่างไร