ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “วิทยาลัยวันศุกร์” จัดเสวนาเรื่องการเมืองใหม่ โดย น.พ. อนันต์ บุญโสภณ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา มีเนื้อหาสรุปดังนี้
“การเมืองใหม่” ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญ และกำลังเป็นเรื่องที่สังคมไทยกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ ก็เพราะระบอบการเมืองที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ปัญหา และสนองตอบความต้องการของสังคมได้อีกต่อไป เสมือนการเดินทางมาถึง”ทางตัน” ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ จึงต้องหาหนทางใหม่
ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นระยะ ๆ
ความหมายของ “การเมือง” คือ กระบวนการในการจัดระบบของสังคมให้ได้รับประโยชน์และปลอดภัยตามสภาพของแต่ละสังคมตามยุคสมัย
**วิวัฒนาการของการเมือง
จากสังคมบรรพกาล เมื่อหัวหน้าครอบครัว หรือหัวหน้าเผ่าเล็ก ๆ ไม่สามารถคุ้มครองดูแลรักษาประโยชน์และความปลอดภัยสังคมเล็กๆ นั้นได้ต่อไป “การเมือง” ก็เปลี่ยนใหม่เป็นระบอบกษัตริย์ ระบอบเผด็จการ ะบอบประชาธิปไตยปลอมบ้าง จริงบ้าง างประเทศก็แยกประเภทของสังคมและระบอบเศรษฐกิจเพิ่มเติมเข้าไปอีก เป็นเผด็จการทุนนิยมบ้าง เป็นเผด็จการสังคมนิยมบ้าง เสรีทุนนิยมประชาธิปไตย หรือ สังคมนิยมประชาธิปไตย แล้วแต่สภาพของแต่ละประเทศนั้น ๆ และ”การเมือง” องแต่ละประเทศนั้นก็จะดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่ยังจัดการให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับได้ แต่เมื่อไรที่ “การเมือง”ในประเทศนั้นๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาของสังคมในประเทศนั้น ๆ ได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงไปสู่”การเมืองใหม่”ที่เหมาะสมกว่าก็จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
**“การเมือง”ของประเทศไทย
ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงมาตามวิวัฒนาการดังกล่าว จากระบอบเจ้าผู้ครองนครในยุคต่าง ๆ สู่ระบอบกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งภายในและอิทธิพลจากต่างประเทศ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-5-6- จนมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถูกล้มไปในสมัยรัชกาลที่ 7
เพราะประเทศไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” เป็นเพียง “เผด็จการในคราบประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง สู่อีกรูปแบบหนึ่ง” ที่แก้ปัญหาได้เพียงบางอย่าง แต่กลับก่อปัญหามากมายเพราะอำนาจในการปกครองที่เลว จนมาถึง “ทางตัน” ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสู่ “การเมืองใหม่” ก่อนที่สังคมจะเกิดจลาจลหรือล่มสลาย
ทำไมจึงกล่าวว่าประเทศไทยเราไม่ได้เปลี่ยนเป็น”ประชาธิปไตยที่แท้จริง” นับตั้งแต่ พ.ศ.2475 “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” จะต้องประกอบด้วย ค่านิยม หลักการ โครงสร้าง และ กฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน ไม่ใช่มีเพียงบางข้อ เช่นมีการเลือกตั้ง หรือให้มีเสรีภาพบางอย่างแล้วเท่านั้น แต่อำนาจในการปกครองยังตกอยู่ในอำนาจหรืออิทธิพลของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
“ประชาธิปไตยที่ดีและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา” นอกจากจะต้องเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงแล้ว จะต้องรักษาผลประโยชน์ และสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ให้ได้โดยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญของ “คณะราษฎร์” ยังผูกขาดอำนาจการปกครองไว้ โดยอาศัย ส.ส. ประเภท 2 ที่มาจากการแต่งตั้ง แม้จะมีการแย่งอำนาจกันบ้างก็ยังอยู่ในพวกตน ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 2485-88 ) ถูกสังคมโลกกดดันให้มีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่พอมีลักษณะประชาธิปไตยบ้างอยู่เพียง 1 ปี ยังไม่ทันมีการเลือกตั้งทั่วไป ก็มีรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 กลับไปเป็น “เผด็จการทหาร” อีก ตามด้วย การกบฏ รัฐประหาร และรัฐประหารตนเอง เป็นเผด็จการทหารสืบมาจนถึง พ.ศ. 2516 ที่เผด็จการทหารครองอำนาจและผลประโยชน์ มีพรรคการเมืองที่เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ที่อาศัยการเมืองเป็นเครื่องมือเกิดขึ้น
ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ความตื่นตัวทางการเมืองในหมู่ประชาชนมากขึ้น เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ล้มเผด็จการทหารลงได้ก็จริง แต่อิทธิพลของกลุ่มอำนาจเผด็จการยังดำรงอยู่ และพรรคการเมืองต่าง ๆ ยังมีลักษณะเป็นกลุ่มนักเลือกตั้ง และกลุ่มผลประโยชน์ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่ให้เสรีภาพมาก แต่การบังคับกฎหมายอ่อนแอ ความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง ความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลผสมของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2518 ในขณะที่อิทธิหลและอำนาจเก่าที่ดำรงอยู่
นำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และรัฐประหารโค่นรัฐบาลที่ตนเองตั้งขึ้นอีก ใน พ.ศ. 2520 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ที่ร่างขึ้น ก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เพราะยังให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งของกลุ่มอำนาจรัฐประหารเอง ร่วมรับรองคนของพวกตนที่ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลได้ต่อไปอีกในวาระ 4 ปีแรก ( รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมนันท์ ต่อด้วยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 1 จนต่อไป 2 ได้ )
การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2530 หลังจากสิ้นสุดบทเฉพาะกาล ที่จะให้วุฒิสมาชิกมีอำนาจในการรับรองการเป็นรัฐบาลต่อไป ที่จะเข้าลักษณะของระบอบประชาธิปไตย และได้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยหลายพรรคการเมืองที่ยังมีลักษณะเป็นกลุ่มการเมือง มีลักษณะของผลประโยชน์ของกลุ่มมาก ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ จึงถูกนำมาเป็นเหคุให้คณะทหาร( รสช.) ทำรัฐประหารใน พ.ศ. 2534 ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองกลุ่มเดิมๆ ยอมเข้าร่วม และยอมรับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ให้เป็นนายกรัฐมนตรี...จนมีการชุมนุมประท้วงของประชาชน...เกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” 17 – 20 พ.ค. 2535
รัฐบาลในระบอบเผด็จการภายภายใต้ชื่อประชาธิปไตย ร่วมกับกลุ่มผลประโยชน์ภายใต้ชื่อพรรคการเมือง นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาของชาติได้แล้ว กลับกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง อาจทำให้ชาติล่มสลายได้
ขอกล่าวโดยสรุปย่อ ๆ
1. การไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง มีคนเพียงบางกลุ่มที่มีอำนาจ ผูกขาดอำนาจ และสามารถแสวงผลประโยชน์อันมิชอบได้ ( Power tends to corrupt ) ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วม หรือควบคุมตรวจสอบได้
2. กลุ่มผลประโยชน์ในนามพรรคการเมือง โดยตัวเอง หรือ ร่วมกับเผด็จการ สามารถหาผลประโยชน์ส่วนตน มากกว่าบริหารประเทศเพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
3. เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เป็นธรรม และ การใช้อำนาจอย่างไม่ขอบธรรม เกิดระบบพวก ฯลฯ ทำให้ปัญหาของสังคมเพิ่ม
4. ความขัดแย้งในสังคม ( Civil conflicts ) เพิ่ม ความมั่นคงของชาติ ( National security ) ลด อาชญากรรม และ การก่อการร้าย ( Crime and Insurgency ) เพิ่ม เกิดจลาจล และ สงครามกลางเมือง ( Civil unrest and Civil war )
5. ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ไม่รักษาผลประโยชน์ของขาติ และไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ทำให้รัฐอ่อนแอ ( Weak state ) รัฐที่ล้มเหลว ( Failed state ) และอาจเป็น รัฐที่ล่มสลาย ( Collapsed state ) ในที่สุด
ประชาธิปไตยที่ไม่สมประกอบภายหลัง “พฤษภาทมิฬ” ก่อให้เกิดเผด็จการพลเรือนในระบอบรัฐสภา หลังเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” พ.ศ. 2535 แม้ประชาชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตยสามารถผลักดัน จนสามารถล้มระบอบเผด็จการลงไปได้ แต่คำมั่นสัญญาที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็ล่าช้ามาอีกเกือบ 4 ปี จนขบวนการของประชาชนต้องออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง จึงสามารถผลักดันให้รัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองในขณะนั้น จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร.) ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางก็จริง แต่การยกร่างอยู่ในอำนาจของกรรมการยกร่าง และการลงมติจะรับหรือไม่ก็อยู่ที่สภาซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองอยู่ และการออกข่าวว่าถ้าไม่ยอมในข้อนั้นบ้าง ข้อนี้บ้าง พรรคการเมืองในสภาก็จะไม่ยอมผ่านการลงมติให้
จนประชาชนต้องมี “ขบวนการธงเขียว” ในการรณรงค์ และได้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เพราะได้รับฟังความเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางแล้ว กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากมาย รวมถึงสิทธิของสื่อ และชุมชน สิทธิในการเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย และตรวจสอบฯ จัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบอำนาจรัฐ ฯลฯ
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ให้อำนาจแก่พรรคการเมืองมาก หัวหน้าพรรคการเมืองมีอำนาจควบคุมพรรค ส.ส.ต้องสังกัดพรรค พรรคเล็กได้รับเลือกไม่ถึงร้อยละ 5 จะถูกยุบพรรค ( แม้จะให้โอกาสตั้งพรรคการเมืองได้ใหม่ แต่ก็จะทำให้พรรคเล็กที่จะตั้งใหม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก ) การไม่ห้ามการรวมพรรค ฯลฯ ......แม้จะมีการทักท้วงกันว่า ข้อต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เกิด “เผด็จการระบอบรัฐสภา” ขึ้นได้....และในที่สุด กลุ่มทุนก็สามารถตั้งพรรคการเมืองใหญ่ สามารถใช้เงินในการหาเสียง การโกงการเลือกตั้ง การใช้เงินแทรกแซงการทำงานองค์กรอิสระต่าง ๆ ( ดังหลักฐานในการตัดสินของศาล ในกรณีต่างๆ ) เป็น “เผด็จการรัฐสภา” เต็มรูปแบบ มีการทุจริตอย่างมหาศาล
นำไปสู่การต่อต้านของประชาชน จนมีการรวมตัวเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ... เกิดรัฐประหาร โดย คมช. ... มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวที่ยังถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจเก่า ... มีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีบทควบคุมการใช้อำนาจรัฐให้เข้มแข็งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนไปบ้างฯ และรีบจัดให้มีการเลือกตั้ง ในขณะที่ยังไม่ทันสะสางอำนาจเผด็จการของกลุ่มทุนให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการยุติธรรม และจัดการปรับปรุงองค์กรอิสระในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้บริสุทธิ์สะอาดตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญใหม่( พ.ศ.2550 ) ได้ครบถ้วน
ผลจึงปรากฏว่า พรรคตัวแทนของพรรคการเมืองเก่าที่ทุจริตจนศาลฎีกาพิพากษาให้ถูกยุบไป ได้รับเลือกเข้ามาเป็นเสียงข้างมาก ท่ามกลางการร้องเรียนเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งตามแบบเดิม ที่ กกต. และศาล ยังตัดสินไม่หมด แต่ยอมให้สภาที่สมาชิกจากพรรคการเมืองหลายคนยังมีคดีการเลือกตั้งไม่สุจริตอยู่ในศาล ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลในลักษณะตัวแทนของกลุ่มอำนาจเก่าที่เพิ่งถูกขับออกไปขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางการปฏิเสธของประชาชนดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
หากสถานการณ์ทางการเมืองยังดำรงอยู่เช่นนี้ต่อไป การผูกขาดอำนาจ การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม การใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ตนและพวกตน ความไม่ชอบธรรมต่าง ๆ การทุจริตและการกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติและธรรมชาติ และความเลวร้ายต่าง ๆ ในสังคม ตลอดถึงความพยายามแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกมาตราที่ลงโทษการกระทำผิดกฎหมายของพวกตนเสียอีกด้วย ฯลฯ ปัญหาเลวร้ายต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถได้รับการแก้ไข เพราะรัฐบาลและพวกผู้มีอำนาจกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง ซึ่งจะไม่สามารถแก้แก้ปัญหาโดยรวมของชาติและประชาชนได้เลย
นี่คือ “ทางตัน” ของการเมืองแบบเก่า อันเป็นความจำเป็นที่จะต้องมี “การเมืองใหม่”
**“การเมืองใหม่” คืออะไร ?
ในเมื่อระบอบการเมืองเก่าจนถึงปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาของชาติได้อีกต่อไป “การเมืองใหม่” ก็คือระบอบการเมือง ที่จะสามารถแก้ปัญหาของชาติในปัจจุบัน เพื่อจะนำพาชาติไปสู่อนาคตที่ดีและมั่นคงสถาพรตามความต้องการของประชาชนนั่นเอง
**“การเมืองใหม่” จะต้องนี้จะมีลักษณะอย่างไร
แม้ว่าไม่มีระบอบการเมืองอะไรที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ 100 % แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า “ระบอบประชาธิปไตย” ที่แท้จริง ที่มีโครงสร้างสอดคล้องกับค่านิยมของคนในชาติ มีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ที่มีระเบียบและกฎเกณฑ์ในการบริหารและบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ ที่สามารถอำนวยประโยชน์และความสุข สะดวกสบาย ให้ความปลอดภัย และ ความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ก็จะเป็น “การเมือง” ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศนั้น ๆ
**“ระบอบประชาธิปไตย” ดังกล่าวนี้ จะมีลักษณะอย่างไร และจะสามารถแก้ปัญหาของชาติได้อย่างไร
หากลำดับไปตามอุดมการณ์และค่านิยมของระบอบประชาธิปไตยให้ครบถ้วน ก็จะสามารถอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น “ประชาธิปไตย” คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจในการปกครองเป็นของประชาชน แม้จะมีการเลือกตั้งผู้แทนให้ไปทำหน้าที่แทน ก็เป็นการมอบให้ทำหน้าที่บางอย่างเท่านั้น และให้ทำเฉพาะตามเงื่อนไขและตามวาระที่กำหนด( under condition) ไม่ใช่ให้ไปทำอะไรแทนตามอำเภอใจทั้งหมด (เหมือนอย่างที่ ส.ส. ในปัจจุบันชอบอ้าง) ประชาชนยังจะต้องมีอำนาจในการตรวจสอบ และถอดถอนได้ถ้ากระทำผิดเงื่อนไข อำนาจนี้ต้องมาจากประชาชน
ประชาชนจึงต้องมีอำนาจเต็มที่ในการตัดสินใจ ว่าจะมอบให้ใคร ทำแทน โดยผ่านการเลือกตั้งที่เสรี บริสุทธิ์ และเป็นธรรม( Free and Fair Election) ไม่ใช่ผู้ใดคณะใดจะมาทำหน้าที่แทนโดยพลการได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง จึงต้องให้มีเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น และการได้รับข้อมูลข่าวสาร( การมี ส.ส.ประเภท 2 หรือ วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง ให้มามีอำนาจในการรับรองความเป็นรัฐบาล อย่างที่เคยมีในอดีตนั้น ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย และจะก่อให้เกิดระบบพวก ใช้อำนาจอย่างมิชอบ ) และเป็นอำนาจเพื่อประชาชน( for the People) หมายถึงอำนาจนั้นจะต้องเอาไปทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเท่านั้น ไม่ใช้เอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของคนใดกลุ่มใด จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง และต้องมีการกำหนดให้ครอบคลุมชัดเจน ว่าผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมที่สำคัญ ๆ นั้นมีอะไรบ้าง
เช่น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของชาติ การพลังงาน กิจการรัฐวิสาหกิจที่สำคัญและจำเป็นแก่การดำรงชีพ ความสะดวกด้านคมนาคม หรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ฯลฯ ที่รัฐจะต้องดำรงไว้( แปรรูปไปไม่ได้เด็ดขาด) เหล่านี้จะต้องกำหนดไว้เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐอย่างชัดเจน มีการควบคุมและบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยให้มีการทุจริตหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน กำหนดเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐให้ชัดเจน ว่าต้องการระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบไหน จะมีนโยบายที่ครอบคลุมค่านิยม สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ... อย่างไร ไม่ปล่อยให้พรรคการเมืองใดมีนโยบายไปทำให้เกิดความเสียหาย...เช่นไปออกกฎหมายแปรรูป ปตท. และความพยายามของพรรคการเมืองที่จะแปรรูปอีกหลาย ๆ รัฐวิสาหกิจ
หลักการ เสรีภาพ (Liberty) ต้องกำหนดให้ประชาชนมีเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกลิดรอนโดยกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม หรือถูกกลั่นแกล้งด้วยอำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดถึงเสรีภาพของสื่อ เสรีภาพของชุมชน ตลอดไปถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องได้รับโดยมีหลักประกันทางกฎหมาย...หลัก ความเสมอภาค( Equality) ต้องมีความเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความเสมอภาคทางการเมือง หนึ่งคนจะต้องมี 1 เสียงเท่าเทียมกัน( Equal right or One man , one vote ) คนใดคณะใดจะถือสิทธิมาเลือกใครแทนประชาชน(เท่ากับมีเสียงมากกว่าประชาชน ) ไม่ได้ และหลัก ภราดรภาพ( Fraternity) การอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง การเคารพกฎหมายที่เป็นธรรม การมีวินัย การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพมติเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย หรือของชนกลุ่มน้อย ( Majority rule, Minority right ) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน( Public hearing) ในโครงการที่อาจมีผลกระทบ ฯ... ( ต้องคิดให้รอบด้าน เพื่อกำหนดในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ )
หลักกฎหมาย (Rule of Law) จะต้องมีการบังคับกฎหมาย( Law enforcement ) ด้วย จึงจะมีประสิทธิภาพ มีการปฏิรูปกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมาย หรือประพฤติมิชอบ การทุจริตการเลือกตั้ง จะต้องมีบทลงโทษมากกว่าคนธรรมดา แต่ทั้งนี้ต้องยึดหลักความเป็นธรรม และมีการควบคุมไม่ให้มีการใช้กฎหมายด้วยอำนาจอันมิชอบด้วย จะต้องจัดระบบในกระบวนการยุติธรรมกันใหม่ ( Judicial reform ) ตั้งแต่ระบบตำรวจ อัยการ ศาล และองค์กรอิสระในการตรวจการใช้อำนาจรัฐ การมีดุลยอำนาจ ( Check and Balance ) เพื่อให้มีความสะอาด บริสุทธิ์ โปร่งใส ( Transparency ) สามารถตรวจสอบได้ ( Accountable ) และมีประสิทธิภาพเป็นเป็นธรรม เพื่อการเป็นนิติรัฐที่ดี
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จะต้องมีการเลือกผู้แทน การเลือกตั้งต้องเสรีและเป็นธรรม การทุจริตในการเลือกตั้งถือเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย จะต้องได้รับโทษหนักและรวดเร็วทันที กฎหมายพรรคการเมืองต้องไม่ตัดสิทธิพรรคเล็ก ไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค เพราะขัดกับเสรีภาพของบุคคล ส.ส.ที่ได้รับเลือกแล้ว ถ้าจะย้ายพรรคต้องหมดสภาพการเป็น ส.ส. เพราะถือว่าเท่ากับทำให้สิทธิของประชาชนผู้เลือกเสียหาย การมี ส.ส.จากเขตพื้นที่อย่างเดียวได้พิสูจน์แล้วว่าจะได้แต่นักเลือกตั้งของพวกกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมี ส.ส.( ผู้แทน ) ที่เลือกตั้งจากกลุ่มอาชีพ กลุ่มชนส่วนน้อย และกลุ่มศาสนา ฯลฯ เข้ามาด้วย ( เพราะในการเลือกตั้งทั่วไป จะได้แต่นักเลือกตั้งของพรรคการเมือง ไม่สามารถมีตัวแทนจากกลุ่มคนเหล่านี้ (Occupational or Functional Groups) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ มีตัวแทน ในสภาได้กว้างขวางขึ้น แต่ จะให้มีจำนวนและสัดส่วนที่เหมาะสมเท่าไรนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันในรายละเอียด)
“การเมืองใหม่” ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญ และกำลังเป็นเรื่องที่สังคมไทยกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ ก็เพราะระบอบการเมืองที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ปัญหา และสนองตอบความต้องการของสังคมได้อีกต่อไป เสมือนการเดินทางมาถึง”ทางตัน” ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ จึงต้องหาหนทางใหม่
ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นระยะ ๆ
ความหมายของ “การเมือง” คือ กระบวนการในการจัดระบบของสังคมให้ได้รับประโยชน์และปลอดภัยตามสภาพของแต่ละสังคมตามยุคสมัย
**วิวัฒนาการของการเมือง
จากสังคมบรรพกาล เมื่อหัวหน้าครอบครัว หรือหัวหน้าเผ่าเล็ก ๆ ไม่สามารถคุ้มครองดูแลรักษาประโยชน์และความปลอดภัยสังคมเล็กๆ นั้นได้ต่อไป “การเมือง” ก็เปลี่ยนใหม่เป็นระบอบกษัตริย์ ระบอบเผด็จการ ะบอบประชาธิปไตยปลอมบ้าง จริงบ้าง างประเทศก็แยกประเภทของสังคมและระบอบเศรษฐกิจเพิ่มเติมเข้าไปอีก เป็นเผด็จการทุนนิยมบ้าง เป็นเผด็จการสังคมนิยมบ้าง เสรีทุนนิยมประชาธิปไตย หรือ สังคมนิยมประชาธิปไตย แล้วแต่สภาพของแต่ละประเทศนั้น ๆ และ”การเมือง” องแต่ละประเทศนั้นก็จะดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่ยังจัดการให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับได้ แต่เมื่อไรที่ “การเมือง”ในประเทศนั้นๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาของสังคมในประเทศนั้น ๆ ได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงไปสู่”การเมืองใหม่”ที่เหมาะสมกว่าก็จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
**“การเมือง”ของประเทศไทย
ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงมาตามวิวัฒนาการดังกล่าว จากระบอบเจ้าผู้ครองนครในยุคต่าง ๆ สู่ระบอบกษัตริย์ในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งภายในและอิทธิพลจากต่างประเทศ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4-5-6- จนมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถูกล้มไปในสมัยรัชกาลที่ 7
เพราะประเทศไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” เป็นเพียง “เผด็จการในคราบประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง สู่อีกรูปแบบหนึ่ง” ที่แก้ปัญหาได้เพียงบางอย่าง แต่กลับก่อปัญหามากมายเพราะอำนาจในการปกครองที่เลว จนมาถึง “ทางตัน” ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสู่ “การเมืองใหม่” ก่อนที่สังคมจะเกิดจลาจลหรือล่มสลาย
ทำไมจึงกล่าวว่าประเทศไทยเราไม่ได้เปลี่ยนเป็น”ประชาธิปไตยที่แท้จริง” นับตั้งแต่ พ.ศ.2475 “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” จะต้องประกอบด้วย ค่านิยม หลักการ โครงสร้าง และ กฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ที่ถูกต้องอย่างครบถ้วน ไม่ใช่มีเพียงบางข้อ เช่นมีการเลือกตั้ง หรือให้มีเสรีภาพบางอย่างแล้วเท่านั้น แต่อำนาจในการปกครองยังตกอยู่ในอำนาจหรืออิทธิพลของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
“ประชาธิปไตยที่ดีและมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา” นอกจากจะต้องเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงแล้ว จะต้องรักษาผลประโยชน์ และสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ให้ได้โดยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญของ “คณะราษฎร์” ยังผูกขาดอำนาจการปกครองไว้ โดยอาศัย ส.ส. ประเภท 2 ที่มาจากการแต่งตั้ง แม้จะมีการแย่งอำนาจกันบ้างก็ยังอยู่ในพวกตน ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 2485-88 ) ถูกสังคมโลกกดดันให้มีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่พอมีลักษณะประชาธิปไตยบ้างอยู่เพียง 1 ปี ยังไม่ทันมีการเลือกตั้งทั่วไป ก็มีรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 กลับไปเป็น “เผด็จการทหาร” อีก ตามด้วย การกบฏ รัฐประหาร และรัฐประหารตนเอง เป็นเผด็จการทหารสืบมาจนถึง พ.ศ. 2516 ที่เผด็จการทหารครองอำนาจและผลประโยชน์ มีพรรคการเมืองที่เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ที่อาศัยการเมืองเป็นเครื่องมือเกิดขึ้น
ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ความตื่นตัวทางการเมืองในหมู่ประชาชนมากขึ้น เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ล้มเผด็จการทหารลงได้ก็จริง แต่อิทธิพลของกลุ่มอำนาจเผด็จการยังดำรงอยู่ และพรรคการเมืองต่าง ๆ ยังมีลักษณะเป็นกลุ่มนักเลือกตั้ง และกลุ่มผลประโยชน์ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่ให้เสรีภาพมาก แต่การบังคับกฎหมายอ่อนแอ ความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง ความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลผสมของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2518 ในขณะที่อิทธิหลและอำนาจเก่าที่ดำรงอยู่
นำไปสู่การรัฐประหารอีกครั้งหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และรัฐประหารโค่นรัฐบาลที่ตนเองตั้งขึ้นอีก ใน พ.ศ. 2520 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 ที่ร่างขึ้น ก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เพราะยังให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งของกลุ่มอำนาจรัฐประหารเอง ร่วมรับรองคนของพวกตนที่ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลได้ต่อไปอีกในวาระ 4 ปีแรก ( รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมนันท์ ต่อด้วยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 1 จนต่อไป 2 ได้ )
การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2530 หลังจากสิ้นสุดบทเฉพาะกาล ที่จะให้วุฒิสมาชิกมีอำนาจในการรับรองการเป็นรัฐบาลต่อไป ที่จะเข้าลักษณะของระบอบประชาธิปไตย และได้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลผสมที่ประกอบด้วยหลายพรรคการเมืองที่ยังมีลักษณะเป็นกลุ่มการเมือง มีลักษณะของผลประโยชน์ของกลุ่มมาก ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ จึงถูกนำมาเป็นเหคุให้คณะทหาร( รสช.) ทำรัฐประหารใน พ.ศ. 2534 ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งที่พรรคการเมืองกลุ่มเดิมๆ ยอมเข้าร่วม และยอมรับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ให้เป็นนายกรัฐมนตรี...จนมีการชุมนุมประท้วงของประชาชน...เกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” 17 – 20 พ.ค. 2535
รัฐบาลในระบอบเผด็จการภายภายใต้ชื่อประชาธิปไตย ร่วมกับกลุ่มผลประโยชน์ภายใต้ชื่อพรรคการเมือง นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาของชาติได้แล้ว กลับกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง อาจทำให้ชาติล่มสลายได้
ขอกล่าวโดยสรุปย่อ ๆ
1. การไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง มีคนเพียงบางกลุ่มที่มีอำนาจ ผูกขาดอำนาจ และสามารถแสวงผลประโยชน์อันมิชอบได้ ( Power tends to corrupt ) ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วม หรือควบคุมตรวจสอบได้
2. กลุ่มผลประโยชน์ในนามพรรคการเมือง โดยตัวเอง หรือ ร่วมกับเผด็จการ สามารถหาผลประโยชน์ส่วนตน มากกว่าบริหารประเทศเพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
3. เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เป็นธรรม และ การใช้อำนาจอย่างไม่ขอบธรรม เกิดระบบพวก ฯลฯ ทำให้ปัญหาของสังคมเพิ่ม
4. ความขัดแย้งในสังคม ( Civil conflicts ) เพิ่ม ความมั่นคงของชาติ ( National security ) ลด อาชญากรรม และ การก่อการร้าย ( Crime and Insurgency ) เพิ่ม เกิดจลาจล และ สงครามกลางเมือง ( Civil unrest and Civil war )
5. ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ไม่รักษาผลประโยชน์ของขาติ และไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ ทำให้รัฐอ่อนแอ ( Weak state ) รัฐที่ล้มเหลว ( Failed state ) และอาจเป็น รัฐที่ล่มสลาย ( Collapsed state ) ในที่สุด
ประชาธิปไตยที่ไม่สมประกอบภายหลัง “พฤษภาทมิฬ” ก่อให้เกิดเผด็จการพลเรือนในระบอบรัฐสภา หลังเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” พ.ศ. 2535 แม้ประชาชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองในแนวทางประชาธิปไตยสามารถผลักดัน จนสามารถล้มระบอบเผด็จการลงไปได้ แต่คำมั่นสัญญาที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็ล่าช้ามาอีกเกือบ 4 ปี จนขบวนการของประชาชนต้องออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง จึงสามารถผลักดันให้รัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองในขณะนั้น จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร.) ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางก็จริง แต่การยกร่างอยู่ในอำนาจของกรรมการยกร่าง และการลงมติจะรับหรือไม่ก็อยู่ที่สภาซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองที่มีผลประโยชน์ทางการเมืองอยู่ และการออกข่าวว่าถ้าไม่ยอมในข้อนั้นบ้าง ข้อนี้บ้าง พรรคการเมืองในสภาก็จะไม่ยอมผ่านการลงมติให้
จนประชาชนต้องมี “ขบวนการธงเขียว” ในการรณรงค์ และได้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เพราะได้รับฟังความเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางแล้ว กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากมาย รวมถึงสิทธิของสื่อ และชุมชน สิทธิในการเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย และตรวจสอบฯ จัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบอำนาจรัฐ ฯลฯ
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ให้อำนาจแก่พรรคการเมืองมาก หัวหน้าพรรคการเมืองมีอำนาจควบคุมพรรค ส.ส.ต้องสังกัดพรรค พรรคเล็กได้รับเลือกไม่ถึงร้อยละ 5 จะถูกยุบพรรค ( แม้จะให้โอกาสตั้งพรรคการเมืองได้ใหม่ แต่ก็จะทำให้พรรคเล็กที่จะตั้งใหม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก ) การไม่ห้ามการรวมพรรค ฯลฯ ......แม้จะมีการทักท้วงกันว่า ข้อต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เกิด “เผด็จการระบอบรัฐสภา” ขึ้นได้....และในที่สุด กลุ่มทุนก็สามารถตั้งพรรคการเมืองใหญ่ สามารถใช้เงินในการหาเสียง การโกงการเลือกตั้ง การใช้เงินแทรกแซงการทำงานองค์กรอิสระต่าง ๆ ( ดังหลักฐานในการตัดสินของศาล ในกรณีต่างๆ ) เป็น “เผด็จการรัฐสภา” เต็มรูปแบบ มีการทุจริตอย่างมหาศาล
นำไปสู่การต่อต้านของประชาชน จนมีการรวมตัวเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ... เกิดรัฐประหาร โดย คมช. ... มีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวที่ยังถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจเก่า ... มีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีบทควบคุมการใช้อำนาจรัฐให้เข้มแข็งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนไปบ้างฯ และรีบจัดให้มีการเลือกตั้ง ในขณะที่ยังไม่ทันสะสางอำนาจเผด็จการของกลุ่มทุนให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการยุติธรรม และจัดการปรับปรุงองค์กรอิสระในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้บริสุทธิ์สะอาดตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญใหม่( พ.ศ.2550 ) ได้ครบถ้วน
ผลจึงปรากฏว่า พรรคตัวแทนของพรรคการเมืองเก่าที่ทุจริตจนศาลฎีกาพิพากษาให้ถูกยุบไป ได้รับเลือกเข้ามาเป็นเสียงข้างมาก ท่ามกลางการร้องเรียนเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งตามแบบเดิม ที่ กกต. และศาล ยังตัดสินไม่หมด แต่ยอมให้สภาที่สมาชิกจากพรรคการเมืองหลายคนยังมีคดีการเลือกตั้งไม่สุจริตอยู่ในศาล ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลในลักษณะตัวแทนของกลุ่มอำนาจเก่าที่เพิ่งถูกขับออกไปขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางการปฏิเสธของประชาชนดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
หากสถานการณ์ทางการเมืองยังดำรงอยู่เช่นนี้ต่อไป การผูกขาดอำนาจ การใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม การใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ตนและพวกตน ความไม่ชอบธรรมต่าง ๆ การทุจริตและการกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติและธรรมชาติ และความเลวร้ายต่าง ๆ ในสังคม ตลอดถึงความพยายามแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกมาตราที่ลงโทษการกระทำผิดกฎหมายของพวกตนเสียอีกด้วย ฯลฯ ปัญหาเลวร้ายต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถได้รับการแก้ไข เพราะรัฐบาลและพวกผู้มีอำนาจกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง ซึ่งจะไม่สามารถแก้แก้ปัญหาโดยรวมของชาติและประชาชนได้เลย
นี่คือ “ทางตัน” ของการเมืองแบบเก่า อันเป็นความจำเป็นที่จะต้องมี “การเมืองใหม่”
**“การเมืองใหม่” คืออะไร ?
ในเมื่อระบอบการเมืองเก่าจนถึงปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาของชาติได้อีกต่อไป “การเมืองใหม่” ก็คือระบอบการเมือง ที่จะสามารถแก้ปัญหาของชาติในปัจจุบัน เพื่อจะนำพาชาติไปสู่อนาคตที่ดีและมั่นคงสถาพรตามความต้องการของประชาชนนั่นเอง
**“การเมืองใหม่” จะต้องนี้จะมีลักษณะอย่างไร
แม้ว่าไม่มีระบอบการเมืองอะไรที่สามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ 100 % แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า “ระบอบประชาธิปไตย” ที่แท้จริง ที่มีโครงสร้างสอดคล้องกับค่านิยมของคนในชาติ มีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ที่มีระเบียบและกฎเกณฑ์ในการบริหารและบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ ที่สามารถอำนวยประโยชน์และความสุข สะดวกสบาย ให้ความปลอดภัย และ ความเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ก็จะเป็น “การเมือง” ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศนั้น ๆ
**“ระบอบประชาธิปไตย” ดังกล่าวนี้ จะมีลักษณะอย่างไร และจะสามารถแก้ปัญหาของชาติได้อย่างไร
หากลำดับไปตามอุดมการณ์และค่านิยมของระบอบประชาธิปไตยให้ครบถ้วน ก็จะสามารถอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น “ประชาธิปไตย” คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจในการปกครองเป็นของประชาชน แม้จะมีการเลือกตั้งผู้แทนให้ไปทำหน้าที่แทน ก็เป็นการมอบให้ทำหน้าที่บางอย่างเท่านั้น และให้ทำเฉพาะตามเงื่อนไขและตามวาระที่กำหนด( under condition) ไม่ใช่ให้ไปทำอะไรแทนตามอำเภอใจทั้งหมด (เหมือนอย่างที่ ส.ส. ในปัจจุบันชอบอ้าง) ประชาชนยังจะต้องมีอำนาจในการตรวจสอบ และถอดถอนได้ถ้ากระทำผิดเงื่อนไข อำนาจนี้ต้องมาจากประชาชน
ประชาชนจึงต้องมีอำนาจเต็มที่ในการตัดสินใจ ว่าจะมอบให้ใคร ทำแทน โดยผ่านการเลือกตั้งที่เสรี บริสุทธิ์ และเป็นธรรม( Free and Fair Election) ไม่ใช่ผู้ใดคณะใดจะมาทำหน้าที่แทนโดยพลการได้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง จึงต้องให้มีเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น และการได้รับข้อมูลข่าวสาร( การมี ส.ส.ประเภท 2 หรือ วุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง ให้มามีอำนาจในการรับรองความเป็นรัฐบาล อย่างที่เคยมีในอดีตนั้น ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย และจะก่อให้เกิดระบบพวก ใช้อำนาจอย่างมิชอบ ) และเป็นอำนาจเพื่อประชาชน( for the People) หมายถึงอำนาจนั้นจะต้องเอาไปทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเท่านั้น ไม่ใช้เอาไปใช้เพื่อประโยชน์ของคนใดกลุ่มใด จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง และต้องมีการกำหนดให้ครอบคลุมชัดเจน ว่าผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมที่สำคัญ ๆ นั้นมีอะไรบ้าง
เช่น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของชาติ การพลังงาน กิจการรัฐวิสาหกิจที่สำคัญและจำเป็นแก่การดำรงชีพ ความสะดวกด้านคมนาคม หรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ฯลฯ ที่รัฐจะต้องดำรงไว้( แปรรูปไปไม่ได้เด็ดขาด) เหล่านี้จะต้องกำหนดไว้เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐอย่างชัดเจน มีการควบคุมและบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยให้มีการทุจริตหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน กำหนดเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐให้ชัดเจน ว่าต้องการระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบไหน จะมีนโยบายที่ครอบคลุมค่านิยม สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ... อย่างไร ไม่ปล่อยให้พรรคการเมืองใดมีนโยบายไปทำให้เกิดความเสียหาย...เช่นไปออกกฎหมายแปรรูป ปตท. และความพยายามของพรรคการเมืองที่จะแปรรูปอีกหลาย ๆ รัฐวิสาหกิจ
หลักการ เสรีภาพ (Liberty) ต้องกำหนดให้ประชาชนมีเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกลิดรอนโดยกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม หรือถูกกลั่นแกล้งด้วยอำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดถึงเสรีภาพของสื่อ เสรีภาพของชุมชน ตลอดไปถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องได้รับโดยมีหลักประกันทางกฎหมาย...หลัก ความเสมอภาค( Equality) ต้องมีความเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความเสมอภาคทางการเมือง หนึ่งคนจะต้องมี 1 เสียงเท่าเทียมกัน( Equal right or One man , one vote ) คนใดคณะใดจะถือสิทธิมาเลือกใครแทนประชาชน(เท่ากับมีเสียงมากกว่าประชาชน ) ไม่ได้ และหลัก ภราดรภาพ( Fraternity) การอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง การเคารพกฎหมายที่เป็นธรรม การมีวินัย การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพมติเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย หรือของชนกลุ่มน้อย ( Majority rule, Minority right ) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน( Public hearing) ในโครงการที่อาจมีผลกระทบ ฯ... ( ต้องคิดให้รอบด้าน เพื่อกำหนดในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ )
หลักกฎหมาย (Rule of Law) จะต้องมีการบังคับกฎหมาย( Law enforcement ) ด้วย จึงจะมีประสิทธิภาพ มีการปฏิรูปกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมาย หรือประพฤติมิชอบ การทุจริตการเลือกตั้ง จะต้องมีบทลงโทษมากกว่าคนธรรมดา แต่ทั้งนี้ต้องยึดหลักความเป็นธรรม และมีการควบคุมไม่ให้มีการใช้กฎหมายด้วยอำนาจอันมิชอบด้วย จะต้องจัดระบบในกระบวนการยุติธรรมกันใหม่ ( Judicial reform ) ตั้งแต่ระบบตำรวจ อัยการ ศาล และองค์กรอิสระในการตรวจการใช้อำนาจรัฐ การมีดุลยอำนาจ ( Check and Balance ) เพื่อให้มีความสะอาด บริสุทธิ์ โปร่งใส ( Transparency ) สามารถตรวจสอบได้ ( Accountable ) และมีประสิทธิภาพเป็นเป็นธรรม เพื่อการเป็นนิติรัฐที่ดี
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จะต้องมีการเลือกผู้แทน การเลือกตั้งต้องเสรีและเป็นธรรม การทุจริตในการเลือกตั้งถือเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย จะต้องได้รับโทษหนักและรวดเร็วทันที กฎหมายพรรคการเมืองต้องไม่ตัดสิทธิพรรคเล็ก ไม่บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค เพราะขัดกับเสรีภาพของบุคคล ส.ส.ที่ได้รับเลือกแล้ว ถ้าจะย้ายพรรคต้องหมดสภาพการเป็น ส.ส. เพราะถือว่าเท่ากับทำให้สิทธิของประชาชนผู้เลือกเสียหาย การมี ส.ส.จากเขตพื้นที่อย่างเดียวได้พิสูจน์แล้วว่าจะได้แต่นักเลือกตั้งของพวกกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมี ส.ส.( ผู้แทน ) ที่เลือกตั้งจากกลุ่มอาชีพ กลุ่มชนส่วนน้อย และกลุ่มศาสนา ฯลฯ เข้ามาด้วย ( เพราะในการเลือกตั้งทั่วไป จะได้แต่นักเลือกตั้งของพรรคการเมือง ไม่สามารถมีตัวแทนจากกลุ่มคนเหล่านี้ (Occupational or Functional Groups) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ มีตัวแทน ในสภาได้กว้างขวางขึ้น แต่ จะให้มีจำนวนและสัดส่วนที่เหมาะสมเท่าไรนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันในรายละเอียด)