ศูนย์ข่าวภูเก็ต -อบจ.ภูเก็ตจัดสรรงบกว่า 76 ล้าน วางแนวทางพัฒนาการศึกษา ปี 51 ใน 60 โครงการ
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ( อบจ.ภูเก็ต ) กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาของ อบจ.ภูเก็ต ในปี 2551 ว่า ปัจจุบันระดับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง ซึ่งตามนโยบายด้านการศึกษาของ อบจ.ภูเก็ต นั้น มุ่งหมายให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาในระดับสูง โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาร่วม โดยตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2553 เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานเฉลี่ยของโรงเรียนในสังกัดจะต้องมีระดับคุณภาพมาตรฐานเท่ากับ 3.50 และโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาร่วม จะต้องมีระดับคุณภาพมาตรฐานเท่ากับ 2.90
ทั้งนี้ ในปี 2551 อบจ.ภูเก็ต ได้วางแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาทั้งหมด 5 แนวทาง ดำเนินการใน 60 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 76,025,726 บาท แบ่งเป็น 1.แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา มีจำนวน 37 โครงการ งบประมาณ 46,139,986 บาท
เช่น โครงการคลังสมอง ที่ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในภูเก็ตและระดมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการค่ายวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โครงการเปิดประตูสถานศึกษาสู่ชุมชน ที่เป็นการนำเสนอผลงานการจัดการศึกษาเผยแพร่แก่สาธารณชน
2.แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจ และความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีจำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 3,800,000 บาท คือ โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมบาบ๋า – เพอรานากัน ที่เปิดโอกาสให้ชาวบาบ๋า – เพอรานากัน ในจังหวัดภูเก็ตและต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ด้านวัฒนธรรมบาบ๋า ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการพัฒนาห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติและห้องสมุดเคลื่อนที่
3.แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา มีจำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 15,599,920 บาท ประกอบด้วย โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปกติเป็นนานาชาติ สำหรับโรงเรียนจัดการศึกษาแบบ English Program โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเจ้าของภาษา โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และโครงการเพิ่มทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารเพื่ออาชีพ
4.แนวทางส่งเสริมและร่วมมือกับสถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาการศึกษา มีจำนวน 14 โครงการ งบประมาณ 4,763,020 บาท อาทิ ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
และ 5.แนวทางส่งเสริมและผลักดันสถานศึกษาสู่ความเป็นสากล มีจำนวน 3 โครงการ งบประมาณ 5,722,800 บาท ประกอบด้วย โครงการจัดค่ายกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน โครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์กลาส และ โครงการก่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของโรงเรียนสตรีภูเก็ต
นางอัญชลี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน อบจ.ภูเก็ต ได้ดำเนินการรับโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในภูเก็ตมาบริหารจัดการแล้ว จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ต.ราไวย์ ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียน 1,892 คน
โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ ( วันครู 2502 ) ต.ตลาดเหนือ ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียน 970 คน และ โรงเรียน อบจ.บ้านไม้เรียบ ( ตันติโกวิทบำรุง ) ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 193 คน และล่าสุด โรงเรียนบ้านนาบอน ที่เพิ่งผ่านประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คาดว่า จะได้รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษามาสังกัด อบจ.ภูเก็ต ภายในปีการศึกษา 2551
นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต อีก 3 แห่ง คือ โรงเรียนกะทู้วิทยา โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม “จุติ-ก้องอนุสรณ์” และ โรงเรียนถลางพระนางสร้าง ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ความเลิศเฉพาะด้านที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
จากการประเมิน โดยสำนักงานมาตรฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏว่าโรงเรียนทั้ง 7 แห่ง มีมาตรฐานการศึกษาที่สูงกว่าโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและมีมาตรฐานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ( อบจ.ภูเก็ต ) กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาของ อบจ.ภูเก็ต ในปี 2551 ว่า ปัจจุบันระดับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง ซึ่งตามนโยบายด้านการศึกษาของ อบจ.ภูเก็ต นั้น มุ่งหมายให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาในระดับสูง โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาร่วม โดยตั้งเป้าหมายให้ภายในปี 2553 เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานเฉลี่ยของโรงเรียนในสังกัดจะต้องมีระดับคุณภาพมาตรฐานเท่ากับ 3.50 และโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาร่วม จะต้องมีระดับคุณภาพมาตรฐานเท่ากับ 2.90
ทั้งนี้ ในปี 2551 อบจ.ภูเก็ต ได้วางแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาทั้งหมด 5 แนวทาง ดำเนินการใน 60 โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น 76,025,726 บาท แบ่งเป็น 1.แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา มีจำนวน 37 โครงการ งบประมาณ 46,139,986 บาท
เช่น โครงการคลังสมอง ที่ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในภูเก็ตและระดมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โครงการค่ายวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โครงการเปิดประตูสถานศึกษาสู่ชุมชน ที่เป็นการนำเสนอผลงานการจัดการศึกษาเผยแพร่แก่สาธารณชน
2.แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจ และความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีจำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 3,800,000 บาท คือ โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมบาบ๋า – เพอรานากัน ที่เปิดโอกาสให้ชาวบาบ๋า – เพอรานากัน ในจังหวัดภูเก็ตและต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ด้านวัฒนธรรมบาบ๋า ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการพัฒนาห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติและห้องสมุดเคลื่อนที่
3.แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา มีจำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 15,599,920 บาท ประกอบด้วย โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาคปกติเป็นนานาชาติ สำหรับโรงเรียนจัดการศึกษาแบบ English Program โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเจ้าของภาษา โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และโครงการเพิ่มทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารเพื่ออาชีพ
4.แนวทางส่งเสริมและร่วมมือกับสถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาการศึกษา มีจำนวน 14 โครงการ งบประมาณ 4,763,020 บาท อาทิ ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
และ 5.แนวทางส่งเสริมและผลักดันสถานศึกษาสู่ความเป็นสากล มีจำนวน 3 โครงการ งบประมาณ 5,722,800 บาท ประกอบด้วย โครงการจัดค่ายกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน โครงการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับไฟเบอร์กลาส และ โครงการก่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของโรงเรียนสตรีภูเก็ต
นางอัญชลี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน อบจ.ภูเก็ต ได้ดำเนินการรับโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในภูเก็ตมาบริหารจัดการแล้ว จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ต.ราไวย์ ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียน 1,892 คน
โรงเรียน อบจ.บ้านตลาดเหนือ ( วันครู 2502 ) ต.ตลาดเหนือ ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียน 970 คน และ โรงเรียน อบจ.บ้านไม้เรียบ ( ตันติโกวิทบำรุง ) ซึ่งเปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 193 คน และล่าสุด โรงเรียนบ้านนาบอน ที่เพิ่งผ่านประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน คาดว่า จะได้รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษามาสังกัด อบจ.ภูเก็ต ภายในปีการศึกษา 2551
นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต อีก 3 แห่ง คือ โรงเรียนกะทู้วิทยา โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม “จุติ-ก้องอนุสรณ์” และ โรงเรียนถลางพระนางสร้าง ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ความเลิศเฉพาะด้านที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
จากการประเมิน โดยสำนักงานมาตรฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏว่าโรงเรียนทั้ง 7 แห่ง มีมาตรฐานการศึกษาที่สูงกว่าโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและมีมาตรฐานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด