“สมชาย” ดัน กรอ.ส่วนจะยึดหลักการเดิมหรือไม่ ขอเวลาศึกษารายละเอียด ส่วนคอมพ์ล้านเครื่อง มีประโยชน์แก่เด็ก ยันผู้บริหาร ศธ.ไม่มีพฤติกรรมงาบ ด้าน อภิสิทธิ์ ยันไม่ได้ค้าน กรอ.เพราะเกรง กยศ.จะถูกยุบ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นโยบายเร่งด่วนของ ศธ.ที่จะดำเนินการไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยนโยบายเร่งด่วนของ ศธ.ที่จะเร่งดำเนินการคือกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) คาดว่า จะเร่งดำเนินการให้ทันปีการศึกษา 2551 อย่างไรก็ตามต้องปรึกษากับสำนักงบประมาณก่อน รัฐบาลมีความจริงใจเรื่องนี้ เพราะการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากการพัฒนาคนมีปัญหา การพัฒนาอย่างอื่นก็มีปัญหาไปด้วย ที่ผ่านมา ศธ.ได้งบประมาณมากกว่ากระทรวงอื่น แต่ขึ้นกับการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ศธ.จะพยายามชี้ให้รัฐบาลเห็นความสำคัญกองทุน กรอ.ส่วนจะยึดหลักการเดิมหรือไม่ ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนดำเนินการ โดยจะไม่ดำเนินการอย่างลวกๆ แต่จะทำให้ที่สุด
สำหรับนโยบายคอมพิวเตอร์ล้านเครื่องนั้น เชื่อว่า จะเป็นประโยชน์กับสถานศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลนครู อาทิ ครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ ที่ผลิตครูได้น้อย รวมทั้งนักเรียนต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลจะได้สัมผัสเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีความเร็วสูงมาช่วยจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ อาจใช้อบรมพัฒนาคุณภาพด้วย ส่วนที่นักวิชาการเกรงว่าจะมีการทุจริตในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ขอแจงว่า ตนตั้งใจทำเรื่องนี้ให้ดีและเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่เคยคิดทำอะไรที่ไม่สุจริต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันตรวจสอบ
“ผมยืนยันว่า ผู้บริหารใน ศธ.ไม่มีพฤติกรรมทุจริต หากมีอะไรไม่ชอบมาพากลขอให้ช่วยกันตรวจสอบ ผมยืนยันว่า สมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี จะไม่ให้มีเรื่องการทุจริตขึ้น แต่ถ้ามีอะไรออกนอกทางขอให้ช่วยกันติดตามตรวจสอบ เพราะภาษีเป็นของประชาชนทุกคน ส่วนจะเริ่มดำเนินการเมื่อไรนั้น คงต้องหารือก่อน เพราะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะ รมว.ศึกษาธิการเงา กล่าวว่า ตนอยากให้โยนการเมืองทิ้งไป ไม่อยากให้คิดว่า ปชป.ค้าน กรอ.เพราะเป็นคนคิด กยศ.แล้วกลัว กยศ.จะถูกยุบ เพราะโดยหลักการยืนยันว่าต้องมีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคน โดยนำข้อดีของทั้งสองกองทุนมาใช้ คือ กรอ.มีส่วนดีเรื่องของความทั่วถึง ขณะที่ กยศ.มีกฎหมายรองรับ และดูแลเด็กที่ยากจนให้สามารถกู้ในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ ดังนั้น เมื่อรวมข้อดีได้แล้วก็มาปรับหลักเกณฑ์ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้กู้มากที่สุด โดยเด็กที่ยากจนสามารถกู้ได้ทั้งค่าหน่วยกิตและค่าใช้จ่ายส่วนตัว ส่วนเด็กที่พอมีเงินก็อาจจะกู้เฉพาะค่าหน่วยกิต ขณะที่เด็กที่มีฐานะดีอาจจะไม่ยื่นกู้เลยก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีเกณฑ์รายได้ของครอบครัว ซึ่งจะทำให้เด็กทุกคนที่มีความสามารถเรียนได้เรียน ส่วนจะเรียกกองทุนนี้ กรอ.ตนก็ยอม นอกจากนี้ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ควรจะอิงอัตราเงินเฟ้อ ควรกำหนดอัตราตายตัวเช่นเดียวกับ กยศ.เพื่อที่เด็กจะได้รู้ว่า เมื่อเขาเรียนจบเขามีภาระหนี้ที่แน่นอนเท่าไหร่ และเป็นการประกันความเสี่ยงแทนการผลักภาระให้กับเด็ก ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ ที่รัฐบาลต้องการจ่ายเงินอุดหนุนให้กับเด็กโดยตรง แทนการจ่ายไปให้มหาวิทยาลัยนั้น ตนเห็นว่า รัฐบาลควรจะไปหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว แยกออกจากหลักคิดเรื่องการให้โอกาสทางการศึกษา
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นโยบายเร่งด่วนของ ศธ.ที่จะดำเนินการไม่ได้อยู่ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยนโยบายเร่งด่วนของ ศธ.ที่จะเร่งดำเนินการคือกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) คาดว่า จะเร่งดำเนินการให้ทันปีการศึกษา 2551 อย่างไรก็ตามต้องปรึกษากับสำนักงบประมาณก่อน รัฐบาลมีความจริงใจเรื่องนี้ เพราะการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากการพัฒนาคนมีปัญหา การพัฒนาอย่างอื่นก็มีปัญหาไปด้วย ที่ผ่านมา ศธ.ได้งบประมาณมากกว่ากระทรวงอื่น แต่ขึ้นกับการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ศธ.จะพยายามชี้ให้รัฐบาลเห็นความสำคัญกองทุน กรอ.ส่วนจะยึดหลักการเดิมหรือไม่ ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนดำเนินการ โดยจะไม่ดำเนินการอย่างลวกๆ แต่จะทำให้ที่สุด
สำหรับนโยบายคอมพิวเตอร์ล้านเครื่องนั้น เชื่อว่า จะเป็นประโยชน์กับสถานศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดแคลนครู อาทิ ครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ ที่ผลิตครูได้น้อย รวมทั้งนักเรียนต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลจะได้สัมผัสเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีความเร็วสูงมาช่วยจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ อาจใช้อบรมพัฒนาคุณภาพด้วย ส่วนที่นักวิชาการเกรงว่าจะมีการทุจริตในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ขอแจงว่า ตนตั้งใจทำเรื่องนี้ให้ดีและเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่เคยคิดทำอะไรที่ไม่สุจริต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันตรวจสอบ
“ผมยืนยันว่า ผู้บริหารใน ศธ.ไม่มีพฤติกรรมทุจริต หากมีอะไรไม่ชอบมาพากลขอให้ช่วยกันตรวจสอบ ผมยืนยันว่า สมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี จะไม่ให้มีเรื่องการทุจริตขึ้น แต่ถ้ามีอะไรออกนอกทางขอให้ช่วยกันติดตามตรวจสอบ เพราะภาษีเป็นของประชาชนทุกคน ส่วนจะเริ่มดำเนินการเมื่อไรนั้น คงต้องหารือก่อน เพราะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะ รมว.ศึกษาธิการเงา กล่าวว่า ตนอยากให้โยนการเมืองทิ้งไป ไม่อยากให้คิดว่า ปชป.ค้าน กรอ.เพราะเป็นคนคิด กยศ.แล้วกลัว กยศ.จะถูกยุบ เพราะโดยหลักการยืนยันว่าต้องมีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกคน โดยนำข้อดีของทั้งสองกองทุนมาใช้ คือ กรอ.มีส่วนดีเรื่องของความทั่วถึง ขณะที่ กยศ.มีกฎหมายรองรับ และดูแลเด็กที่ยากจนให้สามารถกู้ในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ ดังนั้น เมื่อรวมข้อดีได้แล้วก็มาปรับหลักเกณฑ์ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้กู้มากที่สุด โดยเด็กที่ยากจนสามารถกู้ได้ทั้งค่าหน่วยกิตและค่าใช้จ่ายส่วนตัว ส่วนเด็กที่พอมีเงินก็อาจจะกู้เฉพาะค่าหน่วยกิต ขณะที่เด็กที่มีฐานะดีอาจจะไม่ยื่นกู้เลยก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีเกณฑ์รายได้ของครอบครัว ซึ่งจะทำให้เด็กทุกคนที่มีความสามารถเรียนได้เรียน ส่วนจะเรียกกองทุนนี้ กรอ.ตนก็ยอม นอกจากนี้ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ควรจะอิงอัตราเงินเฟ้อ ควรกำหนดอัตราตายตัวเช่นเดียวกับ กยศ.เพื่อที่เด็กจะได้รู้ว่า เมื่อเขาเรียนจบเขามีภาระหนี้ที่แน่นอนเท่าไหร่ และเป็นการประกันความเสี่ยงแทนการผลักภาระให้กับเด็ก ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ ที่รัฐบาลต้องการจ่ายเงินอุดหนุนให้กับเด็กโดยตรง แทนการจ่ายไปให้มหาวิทยาลัยนั้น ตนเห็นว่า รัฐบาลควรจะไปหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว แยกออกจากหลักคิดเรื่องการให้โอกาสทางการศึกษา