xs
xsm
sm
md
lg

จุรินทร์จับมือทุกภาคส่วนขับเคลื่อน 9 มาตรการช่วยผลไม้ไทยรับมือ Covid-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในโอกาส เป็นประธานการประชุม ‘การขับเคลื่อนมาตรการช่วยผลไม้ไทย สู้ภัย COVID-19’ ว่า ครั้งนี้ เป็นการร่วมมือร่วมใจกันทั้งในส่วนของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนในทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชนจากระบบการค้าส่ง ค้าปลีก แพลตฟอร์ม สายการบิน และสมาคมโลจิสติกส์ และ ธ.ก.ส. และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งล้งและเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้


ตัวเลขในภาพรวมในฤดูกาลผลิตที่จะถึงนี้มีการคาดการณ์ว่าผักผลไม้จะมีผลผลิตรวมทุกชนิดประมาณ 3,000,000 ตัน ซึ่งคาดว่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากปีก่อน และจะเริ่มออกมากตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป เพราะฉะนั้น การช่วยกันกำหนดมาตรการเพื่อช่วยเรื่องราคาและระบายผลไม้ออกสู่ตลาดจึงเกิดขึ้น โดยมีการลงนาม MOU จากหน่วยงานต่างๆ 40 องค์กรที่มาร่วมกัน

มาตรการที่หนึ่ง การเข้าไปรับรองสวนผลไม้ GAP เพื่อให้เกษตรกรสามารถที่จะขายผลไม้ เพื่อนำไปสู่การส่งออกขายในตลาดในประเทศได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ไปตรวจสวนและให้การรับรอง ท่านเฉลิมชัยอนุมัติเงินเพิ่มอีก 3 ล้านบาทเพื่อเร่งการดำเนินการแล้ว และการเก็บเกี่ยวผลไม้ มีการให้เยาวชนเข้าไปช่วยเสริมในเรื่องของแรงงาน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
มาตรการที่สอง ตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ที่จันทบุรี และมาตรการที่สาม ระบบการกระจายผลไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศโดยในระบบการกระจายประกอบด้วยระบบการค้าส่ง สมาคมตลาดกลางซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 20 ตลาดทั่วทั้งประเทศ โดยมีตลาดไทเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ช่วยดูดซับผลผลิตรวมของผลไม้ประมาณร้อยละ 60-70 และมีโมเดิร์นเทรดต่างๆ และตลาดหลักทั่วประเทศจะรับให้ความร่วมมือไปกระจายสู่ผู้บริโภคโดยตรง

สำหรับสายการบิน มีสายการบินทั้งหมด 6 สายการบิน แอร์เอเชีย ไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ส นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ และการบินไทย ที่จะให้บริการผู้โดยสารสามารถหิ้วผลไม้ขึ้นเครื่องน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมโดยไม่คิดเงิน และจะมีกล่องของกรมการค้าฯ ให้บริการอยู่ที่สายการบินทุกสนามบิน



มาตรการที่สี่ การกระจายผลไม้ด้วยระบบออนไลน์ซึ่งมีแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ความร่วมมือ เช่น ไทย Post Mart ของไปรษณีย์ไทย ให้บริการในการรับออเดอร์ซื้อผลไม้และไปรษณีย์ไทยจะช่วยกระจายผลไม้ส่งไปยังผู้บริโภคโดยตรง ลาซาด้า ช้อปปี้ จตุจักรมอลล์ ไทยเทรดดอทคอม เป็นต้น และ มาตรการที่ห้า ในเรื่อง การส่งเสริมการขายในประเทศ มีการทำโปรโมชัน กรมการค้าภายในร่วมกับภาคเอกชน และศูนย์การค้าต่างๆ จัดเทศกาลผลไม้ในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค

สำหรับเรื่องใหญ่นอกจากระบบการกระจายผลไม้ คือเรื่องของการส่งออก หรือตลาดต่างประเทศ พบการตรวจสอบคุณภาพโดยเฉพาะไปยังตลาดจีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของเราในขณะนี้ต้องผ่านล้งซึ่งจะมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ จากนี้ไปเตรียมการเรื่องความร่วมมือระหว่างเซ็นทรัลของไทยกับ CCIT ของจีนที่จะจับมือลงนามร่วมกันว่าถ้าผ่านระดับประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ต้องตรวจซ้ำอีก จะช่วยให้คล่องตัวยิ่งขึ้น และการกระจายไปยังตลาดต่างประเทศนั้นจะมีการจัดคาราวานผลไม้ไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMMV ที่รวมมาเลเซียด้วย

ทั้งนี้ จะมีการจัดโรดโชว์เพื่อส่งเสริมการขาย เช่น เทศกาลผลไม้ในต่างประเทศ และการจับคู่ธุรกิจให้ผู้ส่งออกของเราพบผู้นำเข้าจากต่างประเทศ มีการจัด food festival และกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคเพื่อส่งเสริมการขายไปยังต่างประเทศและตลาดอินโดนีเซียที่ประสบปัญหาการส่งออกในขณะนี้ วันพรุ่งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะพบกับทูตของประเทศอินโดนีเซียประจำประเทศไทยเพื่อเจรจาให้ไทยสามารถส่งออกไปอินโดนีเซียได้ ขณะนี้ยังไม่อำนวยความสะดวกให้เราสามารถส่งไปขายที่อินโดนีเซียได้


มาตรการที่หก เรื่องสภาพคล่อง มี 3 มาตรการใหญ่
1. ในการช่วยผู้ส่งออกชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นเวลาหกเดือน เพื่อช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมให้มีการส่งออกมากยิ่งขึ้น
2. สหกรณ์การเกษตรที่รวบรวมผลไม้ในประเทศ จะช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นเวลา 10 เดือน มีวงเงินทั้งหมด 1,000 ล้านบาท มีงบของกองทุนรวมเรียบร้อยแล้วเพื่อให้สหกรณ์ช่วยรวบรวมผลไม้ไปกระจายได้ดียิ่งขึ้น
3. สมาคมตลาดกลาง สมาคมผู้ค้าส่งมีการบริการให้กรมการค้าภายในช่วยสนับสนุนในการส่งออกต่อไปให้คล่องตัวยิ่งขึ้นในเรื่องของการช่วยกระจายผลไม้ไปยังตลาดในประเทศ

มาตรการที่เจ็ด เรื่องของล้งที่รับซื้อผลไม้ ประเด็นปัญหาใหญ่คือการกดราคารับซื้อ หากมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจะใช้กฎหมายเรื่องการแข่งขันทางการค้าเข้ามาดำเนินการ และการรับซื้อผลไม้ล้งจะต้องติดป้ายแสดงราคาว่าชัดเจนเป็นธรรม การทำเกษตรพันธสัญญาต้องเป็นไปตามมาตรฐานและเคร่งครัดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายระหว่างเกษตรกรกับล้ง เพื่อให้กลไกตลาดของระบบผลไม้เดินทางไปได้ด้วยความเป็นธรรม

มาตรการที่แปด ในเรื่องของระบบโลจิสติกส์ ขอความร่วมมือให้การบินไทยเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของคาร์โก้ เพื่อให้การส่งออกผ่านระบบเครื่องบินไปยังต่างประเทศสะดวกคล่องตัวและเพิ่มพื้นที่ในการส่งออกผลไม้มากขึ้น และระบบคมนาคมทางบกเรื่องรถบรรทุกสิบล้อ สมาคมแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการที่จะดำเนินการกระจายสินค้าและเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบค้าส่งที่เผื่อมาจากศูนย์ไปยังตลาดใหญ่ 20 แห่ง

ละมาตรการสุดท้าย มาตรการที่เก้า กระทรวงเกษตรฯ จะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบจากสินค้าการเกษตรที่เกิดจาก COVID-19 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือร้องเรียนได้ที่ www.nabc.go.th ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


** * คลิก Likeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า“SMEs ผู้จัดการ”รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุดและร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!* * *
SMEsmanager





กำลังโหลดความคิดเห็น