xs
xsm
sm
md
lg

ชี้เปิดเสรีอาเซียน แรงงานไทย 7 สาขาเสี่ยงถูกแย่งอาชีพ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เผยผลการวิจัยการเคลื่อนย้ายแรงงานของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แรงงานไทยได้เปรียบเรื่องงานบริการ และปรับตัวได้เร็ว ขณะที่ด้อยเรื่องภาษาอังกฤษ ชี้แรงงานไทยใน 7 กลุ่มอาชีพตามข้อตกลงอาจถูกแย่งอาชีพจากแรงงานประเทศที่ค่าจ้างต่ำกว่า จี้ ก.แรงงานเร่งพัฒนาศักยภาพ

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยผลรายงานการวิจัยการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เอซี) ที่กระทรวงแรงงานมอบหมายให้วิจัย โดยผลวิจัยดังกล่าวมีข้อสรุปว่า การเปิดเออีซีในปี 2558 จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ทำให้ตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และแรงงานจากทั้ง 10 ประเทศสมาชิกเออีซีมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งในส่วนของแรงงานไทยมีจุดเด่นในเรื่องการมีอัธยาศัยที่ดี มีใจรักงานบริการ ปรับตัวและเรียนรู้งานต่างๆ ได้เร็ว แต่มีจุดอ่อนด้านทักษะภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ระเบียบวินัยและการบริหารงาน ไม่กล้าตัดสินใจและขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ

ผลวิจัยยังได้ระบุถึงผลกระทบการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีของเออีซีในด้านบวกว่าจะสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ เนื่องจากแรงงานต่างชาติที่มีฝีมือจะเข้ามาทำงานในไทยได้สะดวกขึ้น และทำให้แรงงานไทยมีการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นเพราะมีการแข่งขันมากขึ้น

ส่วนด้านลบนั้น แรงงานฝีมือไทยซึ่งมีข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนใน 7 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรสถาปนิก นักบัญชี และช่างสำรวจ อาจจะถูกแย่งงาน รวมทั้งการเข้ามาทดแทนของแรงงานที่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าไทย อีกทั้งบุคลากรวิชาชีพบางส่วนอาจจะเคลื่อนย้ายออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยทั้งด้านภาษาต่างประเทศ และไอที พร้อมกับเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศสมาชิกเออีซี

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SME ผู้จัดการออนไลน์” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น