แบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ออกบัตรเครดิตให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีในภายสัปดาห์นี้ ช่วยให้เอสเอ็มอีเพิ่มช่องทางให้บริการ อีกทั้ง สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค คาดเริ่มใช้ภายในสุดสัปดาห์นี้
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแก้ไขการขาดสภาพคล่องหรือการเข้าถึงสินเชื่อของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (เอสเอ็มอี) ธปท.จะผ่อนคลายหลักเกณฑ์การออกบัตรเครดิตให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น โดยภายในสัปดาห์นี้จะประกาศให้สถาบันการเงินสามารถออกบัตรเครดิตเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งคลายกับสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมที่จะออกกับเฉพาะนิติบุคคล ที่มีการจะทะเบียนเป็นบริษัท ห้างร้านเท่านั้น
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อให้เอสเอ็มอีมีช่องทางในการชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ช่วยลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ขายได้ว่าจะได้รับค่าสินค้าและบริการได้แน่นอน เนื่องจากบัตรดังกล่าวได้รับการอนุมัติวงเงินจากสถาบันการเงินแล้ว และที่สำคัญทำให้มีเงินเข้าไปหมุนเวียนในระบบได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้น เนื่องจากมีการหักค่าสินค้าและบริการจากสถาบันการเงินที่ออกบัตรได้ทันที
“บัตรเครดิตใหม่นี้จะไม่ติดเงื่อนไขในลักษณะเดิม ๆ คือผู้ถือบัตรจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่บัตรนี้จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เอสเอ็มอีที่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจที่แน่นอน ที่เป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้ว สามารถยื่นขอทำบัตรได้ ส่วนวงเงินและอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพเอสเอ็มแอล โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงิน ซึ่งดอกเบี้ยบัตรเครดิตนี้น่าจะคลายกับดอกเบี้ยโอดี” นายบัณฑิต กล่าว
นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า ในแง่ของสินเชื่อบัตรเครดิต ลูกค้าเอสเอ็มอีถือว่าเป็นลูกค้าหลักของแบงก์คือมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 สำหรับแนวโน้มค่าธรรมเนียมของระบบสถาบันการเงินด้วยว่าปัจจุบันเฉลี่ยลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 0.5 ของยอดหนี้ โดยครึ่งปีหลังของปีนี้แนวโน้มลดลงผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง รวมทั้งกลไกลการแข่งขันการยกเลิกค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการชำระค่าสาธารณูปโภค เชื่อว่าเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้
ส่วนกรณีค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มที่ปัจจุบันมองกันว่าอยู่ในระดับสูงนั้น นายบัณฑิต กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ ธปท.ต้องติดตามต่อไปว่า ค่าธรรมเนียมใช้ในปัจจุบันจะเป็นต้นทุนที่แท้จริงสูงกว่าความเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวทางหลักในการดูแลค่าธรรมเนียมธปท.ได้กำหนดให้ค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกลไกการแข่งขัน ทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมการฝากเงิน ถอนเงิน และสินเชื่อ ซึ่ง ธปท.ก็ได้กำหนดให้สถาบันการเงินมีการติดประกาศ หรือเผยแพร่อย่างชัดเจน เพื่อความโปร่งใสด้วย
“เชื่อว่ากลไกในการแข่งขันของสถาบันการเงินจะทำให้ค่าธรรมเนียมในระบบอยู่ในขอบเขต และสามารถจูงใจเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มองว่าค่าธรรมเนียมไม่ได้เป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ” นายบัณฑิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท.เรื่องการดูแลค่าธรรมเนียม ธปท.ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศในการยกเว้นค่าธรรมเนียมการรีไฟแนนซ์ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินมากขึ้น
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแก้ไขการขาดสภาพคล่องหรือการเข้าถึงสินเชื่อของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (เอสเอ็มอี) ธปท.จะผ่อนคลายหลักเกณฑ์การออกบัตรเครดิตให้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น โดยภายในสัปดาห์นี้จะประกาศให้สถาบันการเงินสามารถออกบัตรเครดิตเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งคลายกับสินเชื่อเกินบัญชี (โอดี) ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมที่จะออกกับเฉพาะนิติบุคคล ที่มีการจะทะเบียนเป็นบริษัท ห้างร้านเท่านั้น
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อให้เอสเอ็มอีมีช่องทางในการชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ช่วยลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ขายได้ว่าจะได้รับค่าสินค้าและบริการได้แน่นอน เนื่องจากบัตรดังกล่าวได้รับการอนุมัติวงเงินจากสถาบันการเงินแล้ว และที่สำคัญทำให้มีเงินเข้าไปหมุนเวียนในระบบได้รวดเร็วและคล่องตัวขึ้น เนื่องจากมีการหักค่าสินค้าและบริการจากสถาบันการเงินที่ออกบัตรได้ทันที
“บัตรเครดิตใหม่นี้จะไม่ติดเงื่อนไขในลักษณะเดิม ๆ คือผู้ถือบัตรจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่บัตรนี้จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เอสเอ็มอีที่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจที่แน่นอน ที่เป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้ว สามารถยื่นขอทำบัตรได้ ส่วนวงเงินและอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไรนั้น ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพเอสเอ็มแอล โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงิน ซึ่งดอกเบี้ยบัตรเครดิตนี้น่าจะคลายกับดอกเบี้ยโอดี” นายบัณฑิต กล่าว
นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า ในแง่ของสินเชื่อบัตรเครดิต ลูกค้าเอสเอ็มอีถือว่าเป็นลูกค้าหลักของแบงก์คือมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 สำหรับแนวโน้มค่าธรรมเนียมของระบบสถาบันการเงินด้วยว่าปัจจุบันเฉลี่ยลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 0.5 ของยอดหนี้ โดยครึ่งปีหลังของปีนี้แนวโน้มลดลงผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง รวมทั้งกลไกลการแข่งขันการยกเลิกค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการชำระค่าสาธารณูปโภค เชื่อว่าเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้
ส่วนกรณีค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มที่ปัจจุบันมองกันว่าอยู่ในระดับสูงนั้น นายบัณฑิต กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ ธปท.ต้องติดตามต่อไปว่า ค่าธรรมเนียมใช้ในปัจจุบันจะเป็นต้นทุนที่แท้จริงสูงกว่าความเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวทางหลักในการดูแลค่าธรรมเนียมธปท.ได้กำหนดให้ค่าธรรมเนียมเป็นไปตามกลไกการแข่งขัน ทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมการฝากเงิน ถอนเงิน และสินเชื่อ ซึ่ง ธปท.ก็ได้กำหนดให้สถาบันการเงินมีการติดประกาศ หรือเผยแพร่อย่างชัดเจน เพื่อความโปร่งใสด้วย
“เชื่อว่ากลไกในการแข่งขันของสถาบันการเงินจะทำให้ค่าธรรมเนียมในระบบอยู่ในขอบเขต และสามารถจูงใจเพื่อให้เกิดการลงทุนได้ รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้มองว่าค่าธรรมเนียมไม่ได้เป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ” นายบัณฑิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ธปท.เรื่องการดูแลค่าธรรมเนียม ธปท.ได้ร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศในการยกเว้นค่าธรรมเนียมการรีไฟแนนซ์ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีชั่วคราว เพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินมากขึ้น