นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกมาใช้ เพื่อการลงทุนหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบถึงแนวคิดดังกล่าว
นายบัณฑิต กล่าวว่า เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศมีความสำคัญ เพื่อใช้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและในอดีตที่ผ่านมาทุนสำรองระหว่างประเทศสามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ นอกจากนี้ ยังไม่มั่นใจทิศทางเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมศึกษาแนวคิดดังกล่าวที่จะให้มีการนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้เพื่อการลงทุนในอนาคต
นายบัณฑิต กล่าวด้วยว่า ในช่วง 1-2 เดือนนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด แม้เดือนเมษายนตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยออกมาดี แต่ยังคงไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นจริงหรือไม่ โดยเห็นว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกชะลอการหดตัวและมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง คือราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจแท้จริง ดังนั้น ความกังวลของปัญหาเงินฝืดจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน แม้อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนติดลบ
นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เดือนกรกฎาคมนี้ จะนำปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกมาพิจารณาด้วย เพราะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่ง ธปท.พร้อมดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อเข้ามาเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว เนื่องจากมีการแข่งขันสูงในระบบธนาคาร หลังจากอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ทำให้ลูกค้าโยกเงินจากบัญชีเงินฝากไปลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ธนาคารจึงต้องขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อรักษาฐานลูกค้าและระดมเงินฝากไว้รอบรับการปล่อยสินเชื่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น
นายบัณฑิต กล่าวว่า เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศมีความสำคัญ เพื่อใช้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและในอดีตที่ผ่านมาทุนสำรองระหว่างประเทศสามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ นอกจากนี้ ยังไม่มั่นใจทิศทางเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมศึกษาแนวคิดดังกล่าวที่จะให้มีการนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้เพื่อการลงทุนในอนาคต
นายบัณฑิต กล่าวด้วยว่า ในช่วง 1-2 เดือนนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด แม้เดือนเมษายนตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยออกมาดี แต่ยังคงไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นจริงหรือไม่ โดยเห็นว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกชะลอการหดตัวและมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง คือราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาพเศรษฐกิจแท้จริง ดังนั้น ความกังวลของปัญหาเงินฝืดจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน แม้อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนติดลบ
นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เดือนกรกฎาคมนี้ จะนำปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกมาพิจารณาด้วย เพราะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ซึ่ง ธปท.พร้อมดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อเข้ามาเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว เนื่องจากมีการแข่งขันสูงในระบบธนาคาร หลังจากอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก ทำให้ลูกค้าโยกเงินจากบัญชีเงินฝากไปลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ธนาคารจึงต้องขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อรักษาฐานลูกค้าและระดมเงินฝากไว้รอบรับการปล่อยสินเชื่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น