ธปท.ระบุเหตุแบงก์พาณิชย์ขึ้นดอกฝากระยะยาว หลังโดนโยกเงินเข้าตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า และหวังตุนเงินไว้ปล่อยกู้ช่วงเศรษฐกิจเฟื่อง พอใจแบงก์ลดดอกกู้โอ่เป็นผลจากการลดอาร์พีและการแข่งขันสูง คาดสเปรดช่วงครึ่งปีหลังแคบลง ช่วยเอื้อในการปล่อยกู้-ดันเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น พร้อมเตรียมประเมินภาวะเครื่องชี้เศรษฐกิจอีกรอบในการประชุมกนง.ครั้งหน้า ยันราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไม่กระทบเงินเฟ้อ
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงบ้างแล้ว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวเริ่มสูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงในช่วงที่ผ่านมาและอยู่ในระดับต่ำส่งผลให้มีเงินออมจากระบบธนาคารพาณิชย์ไหลสู่การออมรูปแบบอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้และการลงทุนในหุ้น ทำให้เงินฝากได้รับกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้
"ขณะนี้ระบบแบงก์พาณิชย์เริ่มปรับการระดมเงินฝากจากระยะสั้นเป็นระยะยาวมากขึ้น โดยให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นในการจูงใจและเป็นการสร้างฐานเงินฝากระยะยาวในการสนับสนุนปล่อยกู้ในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ธปท.จะขอเวลาติดตามข้อมูลอีกประมาณ 1 เดือน เพื่อประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง"
ทั้งนี้ หลังจากที่ธปท.และธนาคารพาณิชย์ได้ร่วมศึกษาถึงความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น ต้นทุนด้านต่างๆ และจากผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงในช่วงที่ผ่านมาในช่วงกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับอัตราเงินกู้สามารถลงได้อีก ทำให้หลังจากนั้นอีก 3 อาทิตย์ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ 9 แห่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตั้งแต่ 0.1-0.3% แม้ขนาดจะแตกต่างกันออกไป แต่ถือเป็นพัฒนาการที่ดี ซึ่งธปท.เองก็พอใจ
โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้มากขึ้น คือ การแข่งขันธนาคารพาณิชย์จากสภาพคล่องที่สูงขึ้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมมากขึ้นในการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ตลาดมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีเสถียรภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและจังหวะในการตัดสินใจด้วย เพราะหากตัดสินใจลดทันทีอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างหรืออุปสรรคในการทำธุรกิจได้ ซึ่งในปัจจุบันสภาพคล่องยังมีอยู่และการแข่งขันด้านสินเชื่อมากขึ้น จึงเชื่อว่าในอนาคตธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้อีก
นายบัณฑิตกล่าวว่า ธปท.ยอมรับว่าภาวะสินเชื่อในปัจจุบันมีการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 4-5% จากเดิม 8-9% แต่เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.51 ถึงเม.ย.52 พบว่า ตัวเลขสินเชื่อติดลบ 2.6% โดยเฉพาะสินเชื่อขนาดใหญ่ (Corporate loan) แต่ในส่วนของสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังเติบโตดีอยู่ ซึ่งสินเชื่อที่หดตัวลงสะท้อนตามความต้องการสินเชื่อชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ
และความระมัดระวังหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของธนาคารพาณิชย์เอง
"ภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดการเติบโตสินเชื่อ หากเศรษฐกิจเติบโตชัดเจน ทำให้การแข่งขันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และตัวสินเชื่อเองดีขึ้นด้วย"
รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินที่มีค่อนข้างมากในขณะนี้ ประกอบกับการแข่งขันสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจจริงเองก็เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นจากเดิมที่หดตัว จึงเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้น่าจะผสมผสานและผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันในตลาดสินเชื่อมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งยังเป็นตัวช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจและปล่อยสินเชื่อต่อไป
ดังนั้น ในระยะเวลาอันใกล้ คือ ช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ ธปท.คาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก(สเปรด)ที่เริ่มแคบลงมาช่วยเป็นผลบวกต่อระบบเศรษฐกิจและเอื้อให้ต้นทุนปล่อยกู้ลดลง ซึ่งผู้ประกอบการเองได้ประโยชน์มากขึ้น
สำหรับกรณีที่ภาครัฐมีแผนกู้เงินภายในประเทศมาลงทุน 8 แสนล้านบาทในอีก 2-3 ปีข้างหน้านั้น รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ความต้องการใช้เงินของภาครัฐในโครงการลงทุนต่างๆ มีผลต่อสภาพคล่องในระบบ แต่เม็ดเงินไม่ได้มากและยังมีแผนการเบิกจ่ายเป็นระลอกไม่ได้จ่ายในครั้งเดียว และระดมทุนส่วนใหญ่ของรัฐเป็นการออกพันธบัตรในการกู้เงินระยะยาว ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้น แต่ไม่ได้เป็นข้อจำกัด
**ไม่ห่วงราคาน้ำมันกดดันเงินเฟ้อ**
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ไม่ได้เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวมากนัก เนื่องจากในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และแม้ว่าราคาน้ำมันสูงถึง 80 เหรียญต่อบาร์เรลในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ที่มีบางฝ่ายคาดการณ์แต่เชื่อว่าไม่สูงเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในช่วงเดือนก.ค.ที่ระดับราคาน้ำมันดูไบสูงถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล จึงไม่น่าห่วงว่าอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
นอกจากนี้ ธปท.ประเมินว่าผลของมาตรการรัฐที่ออกมา โดยเฉพาะมาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการ รวมถึงมาตรการให้เงินช่วยเหลือกับประชาชน ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงนับเป็นการแบ่งเบาค่าครองชีพของของประชาชนในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว จึงนับเป็นการช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น แนวคิดในการขยายเวลามาตรการช่วยค่าครองชีพออกไป จากเดิมที่จะสิ้นสุดในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าหากขยายมาตรการดังกล่าวแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งธปท.มองว่าในแง่ของต้นทุนเรื่อง 6 มาตรการใช้เม็ดเงินค่อนข้างน้อย หากจะขยายต่อไปสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ธปท.อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภาวะเศรษฐกิจในและต่างประเทศ รวมทั้งการประเมินผลมาตรการของรัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ก.ค.นี้ จะประเมินในเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ก.ค.นี้ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนก.ค.
อนึ่ง รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดในเดือนเมษายน ธปท.ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2552 จะเติบโตที่ระดับ -3.5% ถึง –1.5% นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ตั้งสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบในกรณีเลวร้ายเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.9 เหรียญต่อบาร์เรล ในปีนี้ โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับ 51.8 เหรียญต่อบาร์เรล และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 53.9 เหรียญต่อบาร์เรล และ 54.2 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ –1% ถึง 1% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-1%
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงบ้างแล้ว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวเริ่มสูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงในช่วงที่ผ่านมาและอยู่ในระดับต่ำส่งผลให้มีเงินออมจากระบบธนาคารพาณิชย์ไหลสู่การออมรูปแบบอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้และการลงทุนในหุ้น ทำให้เงินฝากได้รับกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้
"ขณะนี้ระบบแบงก์พาณิชย์เริ่มปรับการระดมเงินฝากจากระยะสั้นเป็นระยะยาวมากขึ้น โดยให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นในการจูงใจและเป็นการสร้างฐานเงินฝากระยะยาวในการสนับสนุนปล่อยกู้ในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ธปท.จะขอเวลาติดตามข้อมูลอีกประมาณ 1 เดือน เพื่อประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง"
ทั้งนี้ หลังจากที่ธปท.และธนาคารพาณิชย์ได้ร่วมศึกษาถึงความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น ต้นทุนด้านต่างๆ และจากผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงในช่วงที่ผ่านมาในช่วงกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับอัตราเงินกู้สามารถลงได้อีก ทำให้หลังจากนั้นอีก 3 อาทิตย์ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ 9 แห่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตั้งแต่ 0.1-0.3% แม้ขนาดจะแตกต่างกันออกไป แต่ถือเป็นพัฒนาการที่ดี ซึ่งธปท.เองก็พอใจ
โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้มากขึ้น คือ การแข่งขันธนาคารพาณิชย์จากสภาพคล่องที่สูงขึ้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมมากขึ้นในการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ตลาดมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีเสถียรภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและจังหวะในการตัดสินใจด้วย เพราะหากตัดสินใจลดทันทีอาจสร้างผลกระทบในวงกว้างหรืออุปสรรคในการทำธุรกิจได้ ซึ่งในปัจจุบันสภาพคล่องยังมีอยู่และการแข่งขันด้านสินเชื่อมากขึ้น จึงเชื่อว่าในอนาคตธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้อีก
นายบัณฑิตกล่าวว่า ธปท.ยอมรับว่าภาวะสินเชื่อในปัจจุบันมีการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 4-5% จากเดิม 8-9% แต่เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.51 ถึงเม.ย.52 พบว่า ตัวเลขสินเชื่อติดลบ 2.6% โดยเฉพาะสินเชื่อขนาดใหญ่ (Corporate loan) แต่ในส่วนของสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังเติบโตดีอยู่ ซึ่งสินเชื่อที่หดตัวลงสะท้อนตามความต้องการสินเชื่อชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ
และความระมัดระวังหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของธนาคารพาณิชย์เอง
"ภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดการเติบโตสินเชื่อ หากเศรษฐกิจเติบโตชัดเจน ทำให้การแข่งขันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และตัวสินเชื่อเองดีขึ้นด้วย"
รองผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินที่มีค่อนข้างมากในขณะนี้ ประกอบกับการแข่งขันสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจจริงเองก็เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นจากเดิมที่หดตัว จึงเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้น่าจะผสมผสานและผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันในตลาดสินเชื่อมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งยังเป็นตัวช่วยสนับสนุนการขยายตัวเศรษฐกิจและปล่อยสินเชื่อต่อไป
ดังนั้น ในระยะเวลาอันใกล้ คือ ช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ ธปท.คาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก(สเปรด)ที่เริ่มแคบลงมาช่วยเป็นผลบวกต่อระบบเศรษฐกิจและเอื้อให้ต้นทุนปล่อยกู้ลดลง ซึ่งผู้ประกอบการเองได้ประโยชน์มากขึ้น
สำหรับกรณีที่ภาครัฐมีแผนกู้เงินภายในประเทศมาลงทุน 8 แสนล้านบาทในอีก 2-3 ปีข้างหน้านั้น รองผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ความต้องการใช้เงินของภาครัฐในโครงการลงทุนต่างๆ มีผลต่อสภาพคล่องในระบบ แต่เม็ดเงินไม่ได้มากและยังมีแผนการเบิกจ่ายเป็นระลอกไม่ได้จ่ายในครั้งเดียว และระดมทุนส่วนใหญ่ของรัฐเป็นการออกพันธบัตรในการกู้เงินระยะยาว ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้น แต่ไม่ได้เป็นข้อจำกัด
**ไม่ห่วงราคาน้ำมันกดดันเงินเฟ้อ**
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ไม่ได้เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวมากนัก เนื่องจากในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และแม้ว่าราคาน้ำมันสูงถึง 80 เหรียญต่อบาร์เรลในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ที่มีบางฝ่ายคาดการณ์แต่เชื่อว่าไม่สูงเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในช่วงเดือนก.ค.ที่ระดับราคาน้ำมันดูไบสูงถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล จึงไม่น่าห่วงว่าอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
นอกจากนี้ ธปท.ประเมินว่าผลของมาตรการรัฐที่ออกมา โดยเฉพาะมาตรการ 6 เดือน 6 มาตรการ รวมถึงมาตรการให้เงินช่วยเหลือกับประชาชน ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงนับเป็นการแบ่งเบาค่าครองชีพของของประชาชนในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว จึงนับเป็นการช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น แนวคิดในการขยายเวลามาตรการช่วยค่าครองชีพออกไป จากเดิมที่จะสิ้นสุดในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าหากขยายมาตรการดังกล่าวแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งธปท.มองว่าในแง่ของต้นทุนเรื่อง 6 มาตรการใช้เม็ดเงินค่อนข้างน้อย หากจะขยายต่อไปสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ธปท.อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภาวะเศรษฐกิจในและต่างประเทศ รวมทั้งการประเมินผลมาตรการของรัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ก.ค.นี้ จะประเมินในเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ก.ค.นี้ ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนก.ค.
อนึ่ง รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดในเดือนเมษายน ธปท.ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2552 จะเติบโตที่ระดับ -3.5% ถึง –1.5% นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ตั้งสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบในกรณีเลวร้ายเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.9 เหรียญต่อบาร์เรล ในปีนี้ โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับ 51.8 เหรียญต่อบาร์เรล และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 53.9 เหรียญต่อบาร์เรล และ 54.2 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ –1% ถึง 1% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0-1%