สถาบันอาหารตั้งเป้า ยกระดับโรงงานอาหารเอสเอ็มอีไทย เข้าสู่ Pre Haccp ให้ได้กว่า ร้อยละ 50 จากโรงงานทั่วประเทศประมาณ 10,000 โรงงาน ภายในปี 2554 เผยปีแรกมีโรงงานผ่านเกณฑ์กว่า 400 โรง พร้อมขอความช่วยเอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้ ปรับปรุงโรงงานช่วงภาวะเศรษฐกิจถอย วอนรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญเอสเอ็มอีด้านอาหารไทย เพราะเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการที่สถาบันอาหารได้มีโครงการจะเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ส่งออกอาหาร โดยการจัดทำโครงการ Pre Haccp เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ขณะนี้ โครงการได้ดำเนินการมาได้ 1 ปี มี โรงงานเอสเอ็มอีด้านอาหารเข้าร่วมกว่า 600 โรงงาน และที่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานจำนวน 400 โรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66.67 โดยมีบุคลากรที่ ผ่านการอบรมรวม 1,286 คน เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการวางไว้
อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันอาหารได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านอาหารให้ได้กว่าร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด ที่มีอยู่กว่า 10,000 โรงงาน ภายในปี 2554 เพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลก เพราะที่ทางผ่านมารายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการส่งออกอาหารจากโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี
“โดยที่ทางสถาบันฯจะยังคงทำงานร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมั่นใจว่าในปีถัดไปจะสามารถผลักดันเอสเอ็มอีให้เข้าร่วมได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 โรงงาน ซึ่งในปีแรกต้องยอมรับว่า โรงงานที่เข้าร่วมได้ไม่นานนัก เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น สาเหตุมาจากความล่าช้าในการเตรียมรายชื่อ และการแนะนำโครงการ รวมถึงการเตรียมหลักสูตรในการอบรม แต่ในครั้งต่อไป เรามีความพร้อมทั้งรายชื่อ โรงงานและความพร้อมด้านหลักสูตรจะทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งครึ่งหนึ่งของโรงงานทั้งหมดจะได้รับมาตรฐานดังกล่าวภายในปี 2554 อย่างแน่นอน” ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเร่งดำเนินโครงการในช่วงนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งต่อยอดการสั่งซื้อที่ลดลง โรงงานต่างอาศัยช่วงเวลานี้ในการปรับปรุงโรงงานให้ได้มาตรฐาน เป็นการเตรียมความพร้อม และเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ยอดสั่งซื้อเข้ามา จะได้เดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งทางสถาบันอาหารได้มีแผนที่จะเข้าไปพูดคุยกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อขอให้ช่วยเหลือด้านการอนุมัติเงินกู้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ในการปรับปรุงโรงงาน ด้วย
ในส่วนของผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกอาหารไทยโดยยอดการส่งออกจะหดตัวหายไปประมาณ ร้อยละ8 จากมูลค่าการส่งออกอาหารในปีที่ ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7 แสน 8 หมื่นล้านบาท ส่วนอาหารที่น่าจะไปได้ดีในปี 2552 น่าจะเป็นกลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารกระป๋อง อย่าง ปลาทูน่ากระป๋อง ฯลฯ เพราะคนส่วนใหญ่จะอยู่บ้านมากขึ้น อาหารสำเร็จรูปน่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่มีเรามีความหลากหลายด้านอาหาร สามารถพัฒนาและผลักดันอาหารตัวที่ได้รับความสนใจได้
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการที่สถาบันอาหารได้มีโครงการจะเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ส่งออกอาหาร โดยการจัดทำโครงการ Pre Haccp เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ขณะนี้ โครงการได้ดำเนินการมาได้ 1 ปี มี โรงงานเอสเอ็มอีด้านอาหารเข้าร่วมกว่า 600 โรงงาน และที่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานจำนวน 400 โรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66.67 โดยมีบุคลากรที่ ผ่านการอบรมรวม 1,286 คน เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการวางไว้
อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันอาหารได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านอาหารให้ได้กว่าร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด ที่มีอยู่กว่า 10,000 โรงงาน ภายในปี 2554 เพื่อรองรับการแข่งขันในตลาดโลก เพราะที่ทางผ่านมารายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการส่งออกอาหารจากโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี
“โดยที่ทางสถาบันฯจะยังคงทำงานร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมั่นใจว่าในปีถัดไปจะสามารถผลักดันเอสเอ็มอีให้เข้าร่วมได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 โรงงาน ซึ่งในปีแรกต้องยอมรับว่า โรงงานที่เข้าร่วมได้ไม่นานนัก เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น สาเหตุมาจากความล่าช้าในการเตรียมรายชื่อ และการแนะนำโครงการ รวมถึงการเตรียมหลักสูตรในการอบรม แต่ในครั้งต่อไป เรามีความพร้อมทั้งรายชื่อ โรงงานและความพร้อมด้านหลักสูตรจะทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งครึ่งหนึ่งของโรงงานทั้งหมดจะได้รับมาตรฐานดังกล่าวภายในปี 2554 อย่างแน่นอน” ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเร่งดำเนินโครงการในช่วงนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่งต่อยอดการสั่งซื้อที่ลดลง โรงงานต่างอาศัยช่วงเวลานี้ในการปรับปรุงโรงงานให้ได้มาตรฐาน เป็นการเตรียมความพร้อม และเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ยอดสั่งซื้อเข้ามา จะได้เดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งทางสถาบันอาหารได้มีแผนที่จะเข้าไปพูดคุยกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อขอให้ช่วยเหลือด้านการอนุมัติเงินกู้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ในการปรับปรุงโรงงาน ด้วย
ในส่วนของผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกอาหารไทยโดยยอดการส่งออกจะหดตัวหายไปประมาณ ร้อยละ8 จากมูลค่าการส่งออกอาหารในปีที่ ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7 แสน 8 หมื่นล้านบาท ส่วนอาหารที่น่าจะไปได้ดีในปี 2552 น่าจะเป็นกลุ่มอาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารกระป๋อง อย่าง ปลาทูน่ากระป๋อง ฯลฯ เพราะคนส่วนใหญ่จะอยู่บ้านมากขึ้น อาหารสำเร็จรูปน่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่มีเรามีความหลากหลายด้านอาหาร สามารถพัฒนาและผลักดันอาหารตัวที่ได้รับความสนใจได้