ในการนอนของแต่ละคนนั้นมีช่วงเวลาตื่นที่แตกต่างกัน บางคนตื่นเช้า บางคนตื่นสาย ซึ่งในเรื่องนี้งานวิจัยได้ให้ข้อมูลว่าผู้ที่ตื่นเช้าโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกอาจได้รับผลมาจากสารพันธุกรรมของมนุษย์ยุคหินโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยข้อมูลในเรื่องนี้ได้ถูกตีพิมพ์ใน วารสารวิวัฒนาการและชีววิทยาของจีโนม ฉบับเดือนธันวาคม 2023 (Genome Biology and Evolution – GBE Desember 2023) ที่ได้ช่วยตอบคำถามของคนที่อยากจะนอนตื่นสาย แต่สุดท้ายต้องตื่นเช้าจนเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลในวารสาร GBE ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับของมนุษย์ยุคหิน เช่น นีแอนเดอร์ทัล รวมถึงการศึกษาที่ให้ความเข้าใจว่าสารพันธุกรรมจากมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นจะส่งผลต่อมนุษย์ยุคใหม่อย่างไร
ลักษณะทางกายภาพของโฮโมซาเปียนส์ นั้นมีต้นกำเนิดย้อนกลับไปเมื่อ 300,000 ปีก่อน ถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดด หรือความสูงจากระดับน้ำทะเลของถิ่นที่อยู่อาศัย และเมื่อประมาณ 70,000 ปีที่แล้ว มนุษย์ยุคแรกๆ รวมถึงเดนิโซแวนและนีแอนเดอร์ทัล ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ยูเรเชียนยุคใหม่ ได้เริ่มอพยพออกจากแอฟริกาทางเหนือไปยังยุโรปและเอเชีย
พื้นที่อาศัยแห่งใหม่นี้ มนุษย์ยุคหินเหล่านั้นได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมใหม่ทั้งอุณหภูมิสูงขึ้น และแสงสว่างมากขึ้น ทำให้ผลของพันธุกรรมมีการเปลี่ยนไปจากกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา
หลังจากนั้นประมาณ 50,000 ปีก่อน โฮโมซาเปียนส์เริ่มผสมพันธุ์กับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล มันก็ทำให้เกิดการส่งต่อลักษณะทางพันธุกรรม โดยจีโนมยูเรเชียนในปัจจุบันได้มาจากลักษณะทางพันธุกรรมจากมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ซึ่งส่งผลต่อร่างกายมนุษย์หลายอย่าง เช่น รูปร่างจมูก ความต้านทานต่อภูมิคุ้มกัน สีผิวหนัง
จากข้อมูลการศึกาทีมนักวิจัยได้วินิจฉัยยีนประมาณ 200 ยีน ที่เกี่ยวข้องกับการที่แสงและอุณหภูมิที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ และวินิจฉัยยีนอีกประมาณ 20 ยีนที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวิตภายในร่างกายของมนุษย์ ผลปรากฏว่ายีนเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกัน หลังจากนั้นนักวิจัยได้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก UK Bank ฐานข้อมูลชีวการแพทย์ขนาดใหญ่และทรัพยากรการวิจัย ที่ก่อตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักร
การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้พบว่ายีนที่ส่งต่อมาจากนีแอนเดอร์ทัลส่งผลต่อพฤติกรรมการนอนหลับของมนุษย์ยุคใหม่ ปัจจัยอย่างแสงแดด จะทำให้สามารถรับรู้สัญญาณว่าถึงเวลาเข้านอนหรือควรตื่นได้แล้ว และอัตราการตื่นนอนที่เพิ่มขึ้นนี้ก็อาจเป็นประโยชน์ต่อวิวัฒนาการ อย่างเช่น บรรพบุรุษของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณละติจูดสูง มันก็จะช่วยในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
ทฤษฎีสมมติฐานของเซนติเนล (Sentinel hypothesis) เป็นการศึกษาพันธุกรรมที่ส่งผลให้เราบางคนตื่นเช้าหรือบางคนชอบเวลากลางคืนในกลุ่มประชากร การศึกษานี้จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต และจำเป็นที่จะต้องรักษาคุณลักษณะแบบนี้ไว้ในวิวัฒนาการระยะยาวเพื่อเพิ่มโอกาสอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคตที่โลกของเรามีการแปรเปลี่ยนตลอดเวลา
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง – รูปภาพ : www.colorado.edu/anthropology/2023