นักวิทยาศาสตร์จาก University of Colorado Boulder ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์จากผลการศึกษาในอดีตนานหลายทศวรรษ ในเรื่องการเกิดและละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือหรือพื้นที่อาร์กติก ว่าจะมีการลดลงมากน้อยเท่าไหร่ในอนาคตที่สภาพภูมิอากาศกำลังแปรปรวน
การวิเคราะห์ได้ผลปรากฏว่า ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ พื้นที่อาร์กติกอาจปราศจากน้ำแข็งที่ลอยอยู่บนผิวมหาสมุทร นานประมาณ 1 เดือนต่อปี ในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ ซึ่งเหตุการณ์นี้เร็วกว่าเดิมถึง 10 ปี จากที่เคยได้คาดการณ์
"ภาวะโลกร้อน" กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในทุกปี อุณหภูมิได้ทำลายสถิติความร้อนอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในสัญญาณเตือนของวิกฤตโลกร้อน คือ น้ำในมหาสมุทรของโลกมีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ เช่น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง และหิมะและน้ำแข็งขั้วโลกละลายไวกว่าปกติ
“ปัจจุบันยังมีน้ำแข็งรอบมหาสมุทรอาร์กติก แต่เมื่อปราศจากน้ำแข็งเหล่านี้จะไม่มีน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ และทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรอาร์กติก แต่จะเหลือน้ำแข็งในทะเลเฉพาะแถบชายฝั่งของกรีนแลนด์ และแถบหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติกของแคนาดา ซึ่งปรากฏการณ์นี้อาจเกิดได้เร็วขึ้นอีกนับสิบปี” ….. Alexandra Jahn นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัย Arctic and Alpine ได้อธิบาย
ก่อนหน้านี้เมื่อการศึกษาได้เผยว่า เดือนกันยายน 2023 น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกลดลงต่ำสุดทำสถิติ ลดลง 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับ เดือน กันยายน ปี 1979
ผลการวิเคราะห์นี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำแข็งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกอย่างสิ้นเชิง แต่คำว่า “ปราศจากน้ำแข็ง” หมายถึงมีน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก น้อยกว่า 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่น้ำแข็ง 1 ตารางกิโลเมตร นี้ น้อยกว่า 1 ใน 5 ของพื้นที่น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเมื่อทศวรรษที่ 1980 จากการข้อมูลที่บันทึกไว้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.nature.com , www.researchgate.net FB : Environman