ชมกระจุกกาแล็กซี ไดมอนริงค์ ดาวหาง แสงจักรราศี ดวงอาทิตย์ทรงกลด ฝีมือคนไทยจากรางวัลชนะเลิศ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ปี 2559
ชมความสวยงามของภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) และได้จัดพิธีมอบรางวัลเมื่อ27 ส.ค.59 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2559 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
นายสุรชัย ท้วมสมบูรณ์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันฯ ได้จัดประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 แบ่งเป็น 5 ประเภท Deep Sky Objects หรือวัตถุในห้วงอวกาศลึก ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ วัตถุในระบบสุริยะ วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ และปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก ในปีนี้ มีผู้ที่สนใจจากทั่วประเทศส่งภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดมากกว่า 140 คน จำนวนภาพมากกว่า 350 ภาพ
สำหรับผลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์” ปี 2559 มีดังนี้
1. ประเภท Deep Sky Objects
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “The Trifid Nebula” Markarian’s Chain
2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายสัณฐิติ วัฒนราษฎร์ ชื่อภาพ “E-M-S Meeting”
3. ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “Catalina Comet C/2013 US10”
4. ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายวรวิทย์ จุลศิลป์ ชื่อภาพ “จุดสูงสุดดอยหลวงเชียงดาว”
5. ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายสัญชัย บัวทรง ชื่อภาพ “อัศจรรย์พระอาทิตย์ทรงกลด”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และประธานพิธีมอบรางวัล กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ที่ชนะการประกวดและบอกว่า ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ถือเป็นสื่อดาราศาสตร์ที่ใกล้ตัวประชาชนสามารถจับต้องได้ง่าย มีคุณค่าด้านศิลปะที่แฝงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หาชมได้ยาก และเป็นภาพฝีมือคนไทยซึ่งน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
นาย กีรติ คำคงอยู่ เจ้าของรางวัลชนะเลิศภาพถ่ายประเภท Deep Sky Object และประเภทวัตถุในระบบสุริยะ กล่าวว่า ร่วมโครงการนี้เป็นปีที่ 5 ดีใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศถึง 2 ประเภท ภาพที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ใช้ความอุตสาหะ มากเป็นพิเศษ เพราะต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น จึงต้องใช้เวลามากกว่าทุกครั้ง ถือว่ายากพอสมควร การถ่ายภาพดาราศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งการที่จะนำวิทยาศาสตร์ผสมกับศิลปะเพื่อให้ได้ความงดงามจนเป็นผลงานออกมานั้น ต้องหาข้อมูลความรู้ ใช้ความอดทนและความสามารถมาก ปัจจุบันการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ไม่ได้ยากเกินความสามารถของนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ดีมาก จึงทำให้ง่ายขึ้น
ส่วนนายณนัทธ์ บวร เจ้าของรางวัลชมเชยประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ และประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก กล่าวว่า ดีใจมาก ส่งภาพเข้าประกวดเป็นครั้งแรก ปกติสนใจดาราศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก มีความสุขกับการมองท้องฟ้า การถ่ายภาพดาราศาสตร์ถือเป็นงานอดิเรก บางคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตื่นเช้าหรือนอนดึก แต่เมื่อได้ผลงานออกมาคือสิ่งที่น่าภูมิใจ ภาพที่ได้ถือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มา เขาจึงพยายามถ่ายให้แตกต่างจากคนอื่น เมื่อทราบข่าวว่า สดร. จัดโครงการนี้ จึงตัดสินใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ซึ่งปีหน้าจะส่งเข้าร่วมโครงการนี้อีกแน่นอน
“สถาบันฯ จะนำภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลในแต่ละปี จัดทำเป็นสื่อทางดาราศาสตร์เผยแพร่ต่อสาธารณชนในหลายรูปแบบ รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในหลากหลายภูมิภาค ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงามและความมหัศจรรย์ของท้องฟ้า ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ อย่างทั่วถึง” นายสุรชัยระบุ
ชมความสวยงามของภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) และได้จัดพิธีมอบรางวัลเมื่อ27 ส.ค.59 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2559 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
นายสุรชัย ท้วมสมบูรณ์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันฯ ได้จัดประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 แบ่งเป็น 5 ประเภท Deep Sky Objects หรือวัตถุในห้วงอวกาศลึก ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ วัตถุในระบบสุริยะ วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ และปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก ในปีนี้ มีผู้ที่สนใจจากทั่วประเทศส่งภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดมากกว่า 140 คน จำนวนภาพมากกว่า 350 ภาพ
สำหรับผลการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์” ปี 2559 มีดังนี้
1. ประเภท Deep Sky Objects
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “The Trifid Nebula” Markarian’s Chain
2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายสัณฐิติ วัฒนราษฎร์ ชื่อภาพ “E-M-S Meeting”
3. ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “Catalina Comet C/2013 US10”
4. ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายวรวิทย์ จุลศิลป์ ชื่อภาพ “จุดสูงสุดดอยหลวงเชียงดาว”
5. ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายสัญชัย บัวทรง ชื่อภาพ “อัศจรรย์พระอาทิตย์ทรงกลด”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และประธานพิธีมอบรางวัล กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ที่ชนะการประกวดและบอกว่า ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ถือเป็นสื่อดาราศาสตร์ที่ใกล้ตัวประชาชนสามารถจับต้องได้ง่าย มีคุณค่าด้านศิลปะที่แฝงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หาชมได้ยาก และเป็นภาพฝีมือคนไทยซึ่งน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
นาย กีรติ คำคงอยู่ เจ้าของรางวัลชนะเลิศภาพถ่ายประเภท Deep Sky Object และประเภทวัตถุในระบบสุริยะ กล่าวว่า ร่วมโครงการนี้เป็นปีที่ 5 ดีใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศถึง 2 ประเภท ภาพที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ใช้ความอุตสาหะ มากเป็นพิเศษ เพราะต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น จึงต้องใช้เวลามากกว่าทุกครั้ง ถือว่ายากพอสมควร การถ่ายภาพดาราศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งการที่จะนำวิทยาศาสตร์ผสมกับศิลปะเพื่อให้ได้ความงดงามจนเป็นผลงานออกมานั้น ต้องหาข้อมูลความรู้ ใช้ความอดทนและความสามารถมาก ปัจจุบันการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ไม่ได้ยากเกินความสามารถของนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ดีมาก จึงทำให้ง่ายขึ้น
ส่วนนายณนัทธ์ บวร เจ้าของรางวัลชมเชยประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ และประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก กล่าวว่า ดีใจมาก ส่งภาพเข้าประกวดเป็นครั้งแรก ปกติสนใจดาราศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก มีความสุขกับการมองท้องฟ้า การถ่ายภาพดาราศาสตร์ถือเป็นงานอดิเรก บางคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตื่นเช้าหรือนอนดึก แต่เมื่อได้ผลงานออกมาคือสิ่งที่น่าภูมิใจ ภาพที่ได้ถือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มา เขาจึงพยายามถ่ายให้แตกต่างจากคนอื่น เมื่อทราบข่าวว่า สดร. จัดโครงการนี้ จึงตัดสินใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ซึ่งปีหน้าจะส่งเข้าร่วมโครงการนี้อีกแน่นอน
“สถาบันฯ จะนำภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลในแต่ละปี จัดทำเป็นสื่อทางดาราศาสตร์เผยแพร่ต่อสาธารณชนในหลายรูปแบบ รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในหลากหลายภูมิภาค ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงามและความมหัศจรรย์ของท้องฟ้า ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ อย่างทั่วถึง” นายสุรชัยระบุ