xs
xsm
sm
md
lg

พบ "PIGGIPO" แอปคำนวณบัตรเครดิตยอดฉลาดในงาน " STARTUP THAILAND 2016" 28-1 พ.ค.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชั่น PIGGIPO
เตรียมพบ "PIGGIPO" แอปพลิเคชันคำนวณยอดบัตรเครดิตสุดชาญฉลาด พร้อม 200 ธุรกิจตั้งต้นจากหัวคิดคนรุ่นใหม่ด้วยไอที ในงาน START UP THAILAND 2016 งานมหกรรมเพื่อธุรกิจตั้งไข่สุดยิ่งใหญ่ครั้งแรกของไทย ระหว่างวันที่ 28 เม.ย.- 1 พ.ค. นี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจับมือ 11 หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดแถลงข่าวเตรียมความพร้อมการจัดงาน “Startup Thailand 2016” เวทีเปิดตัวธุรกิจ Startup กว่า 200 ราย ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจเริ่มต้นให้เกิดการขยายธุรกิจและการสร้างตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 เม.ย. – 1 พ.ค. 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมเป็นประธานในพิธี ซึ่งในวันนี้มีการเปิดตัวธุรกิจ startup ชั้นแนวหน้าในสาขาต่างๆ ด้วย

ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้สะดุดตาเข้ากับบูธของ startup ที่มีชื่อว่า "PIGGIPO" ซึ่งนายพงศ์ชัย ตั้งบวรวีรกุล ผู้ร่วมก่อตั้งได้อธิบายว่า "PIGGIPO" เป็นแอปพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นมาเพื่อทำให้ชีวิตผู้ใช้งานบัตรเครดิตสะดวกสบายขึ้น เพราะเป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยคำนวณและเตือนว่าในเดือนนี้มียอดค่าใช้จ่ายและยอดชำระของบัตรเครดิตธนาคารต่างๆ เท่าไร ทำให้ผู้ใช้สามารถวางผนทางการเงินของตัวเองได้

พงศ์ชัย เผยว่าธุรกิจนี้เกิดขึ้นจากปัญหาทางการเงินของเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มที่มียอดใช้บัตรเครดิตในแต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถควบคุมรายจ่ายได้ซึ่งคล้ายคลึงกับปัญหาของคนกลุ่มหนึ่งในสังคม ด้วยความชำนาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ไปจนถึงการออกแบบที่เป็นความชำนาญของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม จึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้างแอปพลิเคชันนี้ขึ้น ซึ่งจนถึงปัจจุบันได้เปิดให้บริการในระบบแอนดรอยด์และไอโอเอสมาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว

ส่วนผลลัพธ์ทางธุรกิจ พงศ์ชัย กล่าวว่า กลุ่มผู้ก่อตั้งถือว่าประสบความสำเร็จมาก เนื่องจากตอนเปิดตัวเริ่มแรกมีกลุ่มผู้ดาวน์โหลดไปใช้เพียงไม่กี่พันคน แต่ตอนนี้มียอดผู้ใช้มากกว่า 1.5 แสนล้านคนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ การดูแลงานและพื้นที่ใช้สอยจากบริษัทผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตรายหนึ่ง โดยขณะนี้ได้มีการพัฒนาฟังก์ชันใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังได้ขยายความร่วมมือไปยังเมอร์แบงค์ของประเทศมาเลเซีย และเตรียมขยายออกไปสู่มาเลเซียด้วย เพราะวางแผนธุรกิจให้แอปพบิเคชันสามารถทำงานได้กับอีกหลายๆ ธนาคารทั่วภูมิภาคอาเซียน ไม่ใช่พัฒนาเพียงแค่เพื่อรองรับบัตรเครดิตในธนาคารของไทย

"ข้อยากของ startup คือตอนเริ่มต้นและการสนับสนุน ในกลุ่มเพื่อนที่ร่วมกันก่อตั้ง ดีอย่างมี่เรามีความรู้ในหลายๆ ด้านจึงช่วยกันได้ อีกทั้งเรายังได้รับการสนับสนุนจากดีแทคเพราะเคยหปแข่งขันประกวดธุรกิจในโครงการหนึ่งแล้วชนะมา ผมจึงมองว่างาน Startup Thailand ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นผลดีต่อธุรกิจใหม่ๆ เป็นการจุดประกายที่น่าจะมีอิทธิพลพอสมควร และที่สำคัญยังมีแหล่งเงินทุน มีความช่วยเหลือจากภาครัฐเต็มที่ จึงอยากให้ผู้มีธุรกิจหรือแม้แต่ผู้ที่สนใจมาร่วมงานกันมากๆ" ผู้ร่วมก่อตั้ง PIGGIPO กล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ภายในบานยังมีผู้ประกอบธุรกิจ Startup ในอีกหลากหลายประเภทเข้าร่วมด้วย เช่น เว็บไซต์ไอ้แต้ม (www.itam.co) จากธุรกิจ startup ประเภทการแพทย์และสาธารณสุขที่สร้างสรรค์แอปพลิเคชันขึ้นโดยสัตวแพทย์เองเพื่อช่วยให้ผู้เลี้ยงสัตว์สรรหาสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับอาการป่วยของสัตว์เลี้ยงได้, แอปพลิเคชัน Zipevent จาก startup ประเภทการเข้าถึงสินค้า ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวมการจัดงานอีเวนต์ในสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดตลาดนัดหรือการตั้งส่วนลดของร้านค้าต่างๆ รวมถึงด้านการเกษตร, ด้านการอสังหาริมทรัพย์, ด้านส่งเสริมอุตสาหกรรม, ด้านสนับสนุนการทำงานภาครัฐ เป็นต้น

​ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า การจัดงาน Startup Thailand 2016 นี้เกิดขึ้นจากการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีมติมอบหมายกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวแทนรัฐบาลและเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ร่วมกับ 11 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนอันประกอบด้วย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เครือข่ายประชารัฐ และประชาคมสตาร์ทอัพไทย โดยมีจุดหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการแสดงออกให้ต่างชาติเห็นว่าไทยมีธุรกิจที่น่าสนใจจากคนรุ่นใหม่

"นอกจากเศรษฐศาสตร์ภาคประชาชนหรือรายได้มวลรวมของประเทศจะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันความมั่นคงของเศรษฐฏิจชาติแล้ว เหล่าผู้ประกอบธุรกิจหน้าใหม่หรือ startup ก็เป็นอีกกลุีมหนึ่งทีาจะช่วยพัฒนาให้เศรษฐกิจของไทยเข้มแข็ง เพราะทั่วโลกต่างจับตามองว่าในยุคต่อไปของไทยจะมีธุรกิจอะไรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคตธุรกิจเกือบทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงเข้ามาในโทรศัพท์มือถือในรูปแบบของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโตโผใหญ่สำหรับการจัดงาน ซึ่งเราก็ได้เชื้อเชิญกระทรวงไอซีทีเข้ามาช่วยดูแลด้วย แล้วก็เป็นที่น่ายินดีมากที่หน่วยงานทางการเงินจากภาครัฐอีกหลายแห่งก็พร้อมสนับสนุน ไม่นับรวมงบประมาณจากรัฐบาลอีก 2 พันล้านบาทที่จัดสรรให้กับ Startup และมาตรการลดหย่อนภาษีที่เอื้อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมอีกมากมาย" ดร.พิเชฐ กล่าว

ในส่วนของ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ธุรกิจ Startup ในเมืองไทยแท้จริงมีมานานแล้วแต่เป็นแบบเกิดแล้วดับ แต่หลังจากนี้รัฐบาลและกระทรวงได้มีนโยบายที่จะเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ จึงหวังว่าธุรกิจ startup ที่มีประสิทธิภาพจะเจริญเติบโตอย่างยิ่งยืนและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ในอนาคตได้เพราะกระทรวงไอซีทีมีเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์ที่จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปต่อยอดธุรกิจเพื่อยกระดับรายได้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงฯ ที่มีความแข็งแกร่งและพร้อมให้การสนับสนุนนักธุรกิจStartup ได้อย่างเต็มที่ อาทิ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA), สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)

"เป็นงานที่ผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่ ควรมาร่วม เพราะนอกจากพิธีเปิดที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 เม.ย. ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะมาเป็นผู้เปิดและกล่าวปาฐกถาด้วยตัวเองแล้ว ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ทั้งนายชเวยางฮี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวางแผนอนาคต ประเทศเกาหลีใต้ที่จะมาพูดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้ฟัง มีนายเดฟ แมคเคลอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง “500Startups” ที่ถือว่าเป็นมือโปรในวงการธุรกิจก็จะมาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีเวที pitching ให้ผู้ประกอบการมาแข่งขันฟาดฟันแผนธุรกิจซึ่งถือเป็นไฮไล์ รวมถึงหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจและมีประโยชน์อีกมากมายตลอดภายในงานทั้ง 4 วัน" ดร.อุตตม กล่าว

ทั้งนี้งานแถลงข่าวความพร้อมการจัดงาน Startup Thailand จัดขึ้นที่ โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2559

ผู้สนใจเข้าร่วมงาน Startup Thailand 2016 สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-017-5555 call center : 1313อีเมล์: contact@thailandstartup.org เว็บไซต์: www.thailandstartup.orgหรือ Facebook: www.facebook.com/ThailandStartup
ผู้จัดงานทั้ง 11 หน่วยงานร่วมถ่ายภาพ
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชันดูอีเวนต์
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ไอ้แต้ม
หน้าตาเว็บไซต์ไอ้แต้ม ช่วยหาโรงพยาบาลสัตว์ที่เหมาะสมกับอาการป่วย

ธุรกิจส่วนมากที่นำมาจัดแสดงเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานเป็นจำนวนมาก
แอปพลิเคชันทางการเงินและหุ้น
เว็บไซต์หางาน
เว็บไซต์เรียกแมสเซนเจอร์
เวทีเสวนาผู้ประกอบการหน้าใหม่









กำลังโหลดความคิดเห็น