xs
xsm
sm
md
lg

บำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ด้วย “เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท คีนน์ จำกัด
เมื่อระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน กลายเป็นห่วงโซ่การทำงานที่ต้องใช้เงินมหาศาล "จุลินทรีย์" จึงถูกหยิบยกมาเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญ "คีนน์" จึงจับมือกับไบโอเทคพัฒนา "เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ได้" เครื่องแรกของเอเชียแปซิฟิก "เร็วกว่า-เข้มข้นกว่า-สดใหม่กว่า" ในราคา 1 แสนบาท ตอบโจทย์ระบบบำบัดน้ำโรงงานอุตสาหกรรมทุกระดับ

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท คีนน์ จำกัด กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันปัญหาน้ำเน่าเสียกลายเป็นปัญหาหลักที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควร ให้ความสนใจ เพราะสถิติจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยระบุว่า โรงงานอุตสาหกรรมกว่า 1 หมื่นโรงมีปริมาณน้ำเสียต่อวันไม่น้อยกว่า 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการบำบัดไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาทต่อวัน

เหตุที่ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีค่าใช้จ่ายสูง ดร.วสันต์ ระบุว่า เป็นเพราะก้อนไขมันที่หลุดเข้ามาในระบบ ทำให้ต้องเติมระบบปั๊มอากาศในบ่อบำบัด ซึ่งสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า ที่นิยมทำควบคู่กับการเติมสารเคมีให้ไขมันแตกตัว ซึ่งมีข้อเสียตรงที่ทำให้สภาพความเป็นกรดด่างในบ่อเปลี่ยนแปลงไป จนจุลินทรีย์ช่วยย่อยที่มีอยู่เดิมเสียสภาพ ทำงานได้ไม่ดี จนต้องมีการนำเข้าเชื้อจุลินทรีย์จากอุตสาหกรรมอื่นมาใส่ในบ่อเพื่อช่วยย่อย ซึ่งทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายแบบหลายขั้นตอน ฉะนั้นการพัฒนาตัวช่วยบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ จึงเป็นสิ่งที่คีนน์ให้ความสำคัญ เพราะเทรนด์อุตสาหกรรมสีเขียวและการปรับตัวให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (bio-economy) ที่มุ่งเน้นการสร้างฐานรากเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสิ่งมีชีวิต ในธรรมชาติกำลังมาแรง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีก่อน บ.คีนน์ จำกัด ได้มีความร่วมมือศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านชีววัสดุและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาสารชีวบำบัดภัณฑ์เพื่อการบำบัดน้ำเสียและคราบน้ำมันซึ่งมีการเปิด ตัวไปตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งได้รับการตอบรับจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ดร.วสันต์ ระบุว่าโรงงานและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน ไขมัน หรือสารอินทรีย์ในปริมาณสูง ก็ยังคงมีความต้องการใช้สารชีวบำบัดในปริมาณมากและต่อเนื่อง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสารและบรรจุภัณฑ์ในงบประมาณสูง บ.คีนน์ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ในลักษณะการผลิตหัวเชื้อถึงที่ ใช้ง่าย สะดวกและช่วยลดค่าใช้จ่าย จึงเกิดการหารือร่วมกับทางไบโอเทคอีกครั้งเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ในรูปแบบ เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนย้ายได้ แต่มีขนาดเล็กกะทัดรัดเสมือนเป็นการย่อส่วนห้องปฏิบัติการมาไว้ในเครื่อง เดียว

"คีนน์พยายามพัฒนาระบบแก้ปัญหา (solution format) ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ชีวบำบัดภัณฑ์ เมื่อต้นปี 2558 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่เพื่อให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเราจึงพัฒนานวัตกรรมใหม่เป็นเครื่องผลิตหัว เชื้อจุลินทรีย์ขนาดเล็กแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือที่เรียกย่อๆว่า เครื่องโอเอ็มอาร์ (On-site Microbial Reactor : OMR) เครื่องผลิตหัวเชื้อขนาดกะทัดรัดที่ย่อส่วนเครื่องผลิตหัวเชื้อวหญ่ในห้อง ปฏิบัติการ โดยการทำงานร่วมกับนักวิจัยไบโอเทคที่เป็นผู้กำหนดประสิทธิภาพและรูปแบบการ ทำงานของเครื่อง"

ด้าน ดร.สมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ นักวิจัยไบโอเทค ผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือก ทดสอบ และเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดของเสียและน้ำเสีย กล่าวว่า ปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียปัจจุบันคือจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ไขมันและน้ำเสียอยู่ในระบบตลอดเวลา ซึ่งปกติการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ต้องทำด้วยเครื่องมือระดับห้องปฏิบัติการ ที่มีความซับซ้อนและมีราคาสูง เมื่อได้รับโจทย์วิจัยจากคีนน์ทางไบโอเทคจึงปรึกษากับทีมวิศวกรในการผลิตน วัตกรรมที่ทำงานได้เหมือนกับเครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ในห้องปฏิการทุก ประการ โดยมีข้อจำกัดว่าเครื่องผลิตฯ จะต้องมีขนาดเล็กและเคลื่อนที่ได้ โดยใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 18 เดือนจนได้เป็นเครื่องโอเอ็มอาร์รุ่นปัจจุบัน

ดร.สมเกียรติ เผยว่า เครื่องโอเอ็มอาร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถผลิตจุลินทรีย์สำหรับบำบัดน้ำเสียได้เข้มข้นถึง 1,000 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร เป็นเครื่องผลิตหัวเชื้อแบบย่อส่วน ที่ควบคุมด้วยระบบเซ็นเซอร์ ทำให้ใช้งานง่ายเพียงแค่กดปุ่ม มีระบบเติมอากาศและระบบจัดการน้ำเข้าออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ได้ผ่านการคัดเลือกจากทางไบโอเทคแล้วว่ามีความ สามารถในการย่อยสลายน้ำเสียปกติและสามารถย่อยน้ำเสียที่มีไขมันหรือน้ำมัน เป็นองค์ประกอบได้ ซึ่งจุลินทรีย์ในระบบทั่วไปไม่สามารถทำได้ โดยเครื่องโอเอ็มอาร์จะใช้เวลาเลี้ยงจุลินทรีย์เพียง 24 ชั่วโมงซึ่งถือว่าช่วยร่นเวลาการทำงานได้มาก เพราะการผลิตหัวเชื้อในห้องปฏิบัติการต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 1 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อเฉพาะที่สามารถใช้เลี้ยง จุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำมันด้วย เนื่องจากอาหารเลี้ยงเชื้อจะส่งผลให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพที่ดี โดยเบื้องต้นได้ทดลองเติมจุลินทรีย์ที่ผลิตได้จากเครื่องโอเอ็มอาร์นี้ลงใน บ่อบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ซึ่งพบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียให้สามารถปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดร.สมเกียรติ ระบุ

ดร.วสันต์ กล่าวว่า เครื่องโอเอ็มอาร์นี้ถือเป็นนวัตกรรมที่ บ.คีนน์ ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เหมาะสมกับบ้านเรือนทั่วไป อาคาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดที่มีระบบบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่แล้วและต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้นำไปติดตั้งทดสอบในหลายโรงงานแล้ว อาทิ โรงงานผลิตอาหารยูโรเปี้ยนฟู้ด, โรงงานผลิตโดนัทคริสปี้ครีม, โรงงานผลิตกาแฟบัดดี้ดีน โดยรับสิทธิในการผลิตเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยและอยู่ในระยะพร้อมจำหน่าย

สำหรับราคา ดร.วสันต์ ระบุว่า ตั้งราคาไว้ที่ระบบละไม่เกิน 1 แสนบาทหรือสูงกว่านี้แล้วแต่ขนาดของเครื่องตามที่แต่ละโรงงานต้องการ เพื่อให้เครื่องโอเอ็มอาร์เข้าถึงอุตสาหกรรมได้ทุกระดับ โดยจะแบ่งขนาดเครื่องออกเป็นไซส์ S, M, L ซึ่งไม่ขอเปิดเผยรายละเอียดปลีกย่อย แต่จะส่งมอบให้ทั้งตัวเครื่องและอาหารเลี้ยงเชื้อ ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถผลิตเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นใช้เองในโรงงานได้ทันที ทำให้ได้เชื้อจุลินทรีย์ที่สดใหม่ พร้อมทำงานตลอดเวลา ส่งผลให้ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระบบบำบัดน้ำเสียและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้อย่างตรงจุด และในทางอ้อมยังเป็นลดโลกร้อนและลดปริมาณรอยเท้าคาร์บอนที่จะถูกปลดปล่อยสู่ ชั้นบรรยากาศด้วย โดยในช่วงปีแรกคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางการตลาดในประเทศได้ประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนในขั้นถัดไปจะขยายการไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่จะสร้างมูลค่าได้อีกราว 5,000 ล้านบาท
ดร.สมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ นักวิจัยไบโอเทค ผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือก ทดสอบ และเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดของเสียและน้ำเสีย (ขวา)
เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบเคลื่อนที่ได้
ส่วนผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์
ขวดสีขาวคืออาหารเลี้ยงเชื้อ
ด้านในเครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์โอเอ็มอาร์
เครื่องผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการมีขนาดใหญ่ ราคาแพง และต้องใช้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญคุมเครื่อง
(กลาง) ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อำนวยการไบโอเทค ร่วมเล่าถึงสถานการณ์ระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ
ผู้บริหารคีนน์และไบโอเทคถ่ายภาพร่วมกัน







เพิ่มมูลค่าพลอยเกรดต่ำด้วย "ลำไอออน" เทคโนโลยีอนุภาคความร้อนต่ำพลังงานสูงทางเลือกใหม่เอาใจคนรักอัญมณี ให้ประสิทธิภาพดีกว่าการเผา "ใสกว่า-สีสดกว่า-ทุ่นเวลา-ไม่ทำให้พลอยแตก" เพิ่มราคาเศษพลอยไร้ค่าได้ 10 เท่า อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #mgrscience #manageronline #jewelry #ion #chiangmai #university

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on



กำลังโหลดความคิดเห็น