กว่า “จะเป็นโครงกระดูกสัตว์” เพื่อใช้สำหรับการศึกษากายวิภาคศาสตร์สักโครงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีกรรมวิธีมากมายที่ต้องอาศัยทั้งความใจเด็ด ความประณีตและความอดทน แต่จะมีวิธีการทำอย่างไร ยุ่งยากแค่ไหน ร่วมเจาะลึกโลกแห่งชีววิทยาไปพร้อมๆ กับเรา
ดร.อัมพร วิเวกแว่ว อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์มีกระดูกสันหลัง กล่าวว่า การต่อกระดูกสัตว์ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตได้ศึกษาถึงโครงสร้าง หน้าที่ และลักษณะทางกายวิภาคของสัตว์ชนิดต่างๆ ว่ามีลักษณะของกระดูก, ข้อต่อ, การยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นอย่างไร เพราะองค์ความรู้ด้านทางกายวิภาคศาสตร์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะทำให้นิสิตสามารถเชื่อมโยงต่อยอดไปสู่การทำความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ เช่น กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หรือวิชาวิวัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น
ดร.อัมพร เผยว่า โดยปกติการเรียนการสอนเรื่องระบบโครงสร้างค้ำจุนหรือระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ผู้สอนจะเริ่มต้นจากการสอนให้นิสิตรู้จักกระดูกแต่ละชิ้นก่อน ว่ามีชื่อเรียก รูปร่างหน้าตาอย่างไรและมีลักษณะการทำงานอย่างไร จากนั้นจะเชื่อมโยงให้นิสิตรู้จักการเชื่อมโยงกระดูกแต่ละส่วนด้วยการสังเกตลักษณะประจำชิ้นกระดูก เช่น กระดูกต้นขาหลัง (femur) ที่มีลักษณะเป็นทางตรงยาวที่ปลายหัวกลมนูน จะเชื่อมกับกระดูกรองรับรยางค์หลังหรือกระดูกโอบเชิงกราน (pelvic girdle) ที่มีลักษณะเป็นเบ้าลึกสอดประสานกัน ซึ่งการสอนด้วยวิธีต่อกระดูกจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
“ถ้าเราไม่ต่อกระดูก เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากระดูกแต่ละชิ้นนั้นเชื่อมโยงกันได้อย่างไร แต่ถ้าเรารู้เรายังต่อยอดได้อีกถึงตำแหน่งกระดูกของสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระต่ายจะมีการวางแนวโครงกระดูกในแนวนอนไม่เหมือนคน ส่วนแมวก็ไม่เหมือนคนเพราะมันเดินด้วยนิ้ว ทิ้งน้ำหนักลงบนนิ้วเท้า (digitigrade) การต่อกระดูกจะผิดทันทีถ้านิสิตวางฝ่าเท้าแมวลงไปที่พื้นแทน ซึ่งสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ในทางชีววิทยาถือว่าสำคัญมาก มันผลักดันให้เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมวิทยาของสัตว์ ทำให้เราต่อยอดไปสู่การศึกษาในเชิงกายวิภาคเปรียบเทียบ และที่สำคัญกระดูกยังเป็นคำตอบของวิวัฒนาการ เช่น ไก่มีกระดูก pubis (ซึ่งเป็นกระดูกส่วนหนึ่งของกระดูกโอบเชิงกราน) ด้านซ้ายและขวาที่ไม่เชื่อมติดกัน ในขณะที่ของคนเชื่อมติดกันในแนวกลางตัวเพราะว่าไก่ออกลูกเป็นไข่ หรือลักษณะกระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายและขวาของนกจะเชื่อมติดกันเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการบินมายึดเกาะ เพื่อให้มีแรงยกสำหรับการบินซึ่งลักษณะกระดูกแบบนี้ไม่มีในคน ฉะนั้นการต่อกระดูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ ” ดร.อัมพร กล่าวถึงความสำคัญของการต่อกระดูก
สำหรับวิธีการเก็บรักษากระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลัง ดร.อัมพร เผยว่า ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้ตำราที่เขียนขึ้นโดย รศ.วีณา เมฆวิชัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีก เป็นหลักในการปฏิบัติซึ่งประกอบด้วย 10 ขั้นตอนหลักด้วยกัน ขั้นตอนแรกคือการนำ “ซากสัตว์” ที่ต้องการเก็บกระดูก มาเข้ากระบวนการเลาะเอาหนังออกจากตัวซึ่งคล้ายคลึงกับวิธีการการสตั๊ฟสัตว์ ขั้นตอนต่อมาคือ การเลาะเนื้อและเครื่องในออกจากตัว โดยอาจจะเลาะเนื้อสดๆ ออกจากกระดูกด้วยมีด หรือต้มสัตว์ทั้งตัวก่อนแล้วจึงเลาะเนื้อออกก็ได้ โดยจะต้องพยายามเลาะเนื้อออกจากกระดูกให้ได้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 จะเป็นขั้นตอนการแช่สารเคมีเพื่อกำจัดเศษเนื้อที่ยังติดกับกระดูกให้หลุดล่นออกจนหมด ซึ่งในขั้นตอนนี้ ดร.อัมพร เผยว่า จะต้องห่อโครงกระดูกที่เลาะแล้วด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันกระดูกหล่นหาย แล้วนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮ ดรอกไซด์ (NaOH) หรือ สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ความเข้มขัน 2% (w/v) เป็นเวลา 4 - 24 ชั่วโมง ขึ้นกับขนาดของตัวอย่างสัตว์ ซึ่งในส่วนนี้ต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษ ต้องคอยดูทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เอ็นส่วนข้อต่อละลายซึ่งจะทำให้การต่อกระดูกยากขึ้นไปอีกขั้น หลังจากนั้นจึงถึงขั้นของการล้างออกด้วยน้ำสะอาด โดยแช่ถุงผ้าขาวบางลงในน้ำ และเปลี่ยนน้ำหลายๆ ครั้ง
เมื่อล้างกระดูกเรียบร้อยขั้นตอนต่อไปคือ การนำแปรงสีฟัน แปรงเศษเนื้อที่ยังติดอยู่กับกระดูกออกให้สะอาด และล้างน้ำสะอาดอีกหลายๆ ครั้งจนมั่นใจว่ากระดูกสะอาดที่สุด แล้วจึงปล่อยให้แห้งด้วยการตากลม ห้ามตากแดด และเพื่อให้กระดูกมีความขาวสวยงามยิ่งขึ้นขั้นตอนที่ 7 คือการนำกระดูกลงแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ความเข้มข้น 3% เป็นเวลา 2-24 ชั่วโมงขึ้นกับขนาดของสัตว์ เมื่อกระดูกมีสีขาวตามที่ต้องการให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และตากกระดูกให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงเริ่มการต่อกระดูกตามท่าทางของสัตว์ชนิดนั้นๆ ตามธรรมชาติในขั้นตอนที่ 9 โดยกระดูกที่หลุดให้นำมาต่อด้วยลวดหรือกาวอเนกประสงค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ถูกต้องให้พ่นด้วยแล็คเกอร์ทับ 1 ชั้นเพื่อป้องกันแมลงมากัดกินกระดูกแล้วจึงติดฉลากที่ตัวสัตว์เป็นขั้นตอนสุดท้าย
ดร.อัมพร วิเวกแว่ว อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์มีกระดูกสันหลัง กล่าวว่า การต่อกระดูกสัตว์ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตได้ศึกษาถึงโครงสร้าง หน้าที่ และลักษณะทางกายวิภาคของสัตว์ชนิดต่างๆ ว่ามีลักษณะของกระดูก, ข้อต่อ, การยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นอย่างไร เพราะองค์ความรู้ด้านทางกายวิภาคศาสตร์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะทำให้นิสิตสามารถเชื่อมโยงต่อยอดไปสู่การทำความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ เช่น กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หรือวิชาวิวัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น
ดร.อัมพร เผยว่า โดยปกติการเรียนการสอนเรื่องระบบโครงสร้างค้ำจุนหรือระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ผู้สอนจะเริ่มต้นจากการสอนให้นิสิตรู้จักกระดูกแต่ละชิ้นก่อน ว่ามีชื่อเรียก รูปร่างหน้าตาอย่างไรและมีลักษณะการทำงานอย่างไร จากนั้นจะเชื่อมโยงให้นิสิตรู้จักการเชื่อมโยงกระดูกแต่ละส่วนด้วยการสังเกตลักษณะประจำชิ้นกระดูก เช่น กระดูกต้นขาหลัง (femur) ที่มีลักษณะเป็นทางตรงยาวที่ปลายหัวกลมนูน จะเชื่อมกับกระดูกรองรับรยางค์หลังหรือกระดูกโอบเชิงกราน (pelvic girdle) ที่มีลักษณะเป็นเบ้าลึกสอดประสานกัน ซึ่งการสอนด้วยวิธีต่อกระดูกจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
“ถ้าเราไม่ต่อกระดูก เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากระดูกแต่ละชิ้นนั้นเชื่อมโยงกันได้อย่างไร แต่ถ้าเรารู้เรายังต่อยอดได้อีกถึงตำแหน่งกระดูกของสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระต่ายจะมีการวางแนวโครงกระดูกในแนวนอนไม่เหมือนคน ส่วนแมวก็ไม่เหมือนคนเพราะมันเดินด้วยนิ้ว ทิ้งน้ำหนักลงบนนิ้วเท้า (digitigrade) การต่อกระดูกจะผิดทันทีถ้านิสิตวางฝ่าเท้าแมวลงไปที่พื้นแทน ซึ่งสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ในทางชีววิทยาถือว่าสำคัญมาก มันผลักดันให้เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมวิทยาของสัตว์ ทำให้เราต่อยอดไปสู่การศึกษาในเชิงกายวิภาคเปรียบเทียบ และที่สำคัญกระดูกยังเป็นคำตอบของวิวัฒนาการ เช่น ไก่มีกระดูก pubis (ซึ่งเป็นกระดูกส่วนหนึ่งของกระดูกโอบเชิงกราน) ด้านซ้ายและขวาที่ไม่เชื่อมติดกัน ในขณะที่ของคนเชื่อมติดกันในแนวกลางตัวเพราะว่าไก่ออกลูกเป็นไข่ หรือลักษณะกระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายและขวาของนกจะเชื่อมติดกันเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการบินมายึดเกาะ เพื่อให้มีแรงยกสำหรับการบินซึ่งลักษณะกระดูกแบบนี้ไม่มีในคน ฉะนั้นการต่อกระดูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ ” ดร.อัมพร กล่าวถึงความสำคัญของการต่อกระดูก
สำหรับวิธีการเก็บรักษากระดูกสัตว์มีกระดูกสันหลัง ดร.อัมพร เผยว่า ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้ตำราที่เขียนขึ้นโดย รศ.วีณา เมฆวิชัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีก เป็นหลักในการปฏิบัติซึ่งประกอบด้วย 10 ขั้นตอนหลักด้วยกัน ขั้นตอนแรกคือการนำ “ซากสัตว์” ที่ต้องการเก็บกระดูก มาเข้ากระบวนการเลาะเอาหนังออกจากตัวซึ่งคล้ายคลึงกับวิธีการการสตั๊ฟสัตว์ ขั้นตอนต่อมาคือ การเลาะเนื้อและเครื่องในออกจากตัว โดยอาจจะเลาะเนื้อสดๆ ออกจากกระดูกด้วยมีด หรือต้มสัตว์ทั้งตัวก่อนแล้วจึงเลาะเนื้อออกก็ได้ โดยจะต้องพยายามเลาะเนื้อออกจากกระดูกให้ได้มากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 จะเป็นขั้นตอนการแช่สารเคมีเพื่อกำจัดเศษเนื้อที่ยังติดกับกระดูกให้หลุดล่นออกจนหมด ซึ่งในขั้นตอนนี้ ดร.อัมพร เผยว่า จะต้องห่อโครงกระดูกที่เลาะแล้วด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันกระดูกหล่นหาย แล้วนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮ ดรอกไซด์ (NaOH) หรือ สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ความเข้มขัน 2% (w/v) เป็นเวลา 4 - 24 ชั่วโมง ขึ้นกับขนาดของตัวอย่างสัตว์ ซึ่งในส่วนนี้ต้องหมั่นดูแลเป็นพิเศษ ต้องคอยดูทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้เอ็นส่วนข้อต่อละลายซึ่งจะทำให้การต่อกระดูกยากขึ้นไปอีกขั้น หลังจากนั้นจึงถึงขั้นของการล้างออกด้วยน้ำสะอาด โดยแช่ถุงผ้าขาวบางลงในน้ำ และเปลี่ยนน้ำหลายๆ ครั้ง
เมื่อล้างกระดูกเรียบร้อยขั้นตอนต่อไปคือ การนำแปรงสีฟัน แปรงเศษเนื้อที่ยังติดอยู่กับกระดูกออกให้สะอาด และล้างน้ำสะอาดอีกหลายๆ ครั้งจนมั่นใจว่ากระดูกสะอาดที่สุด แล้วจึงปล่อยให้แห้งด้วยการตากลม ห้ามตากแดด และเพื่อให้กระดูกมีความขาวสวยงามยิ่งขึ้นขั้นตอนที่ 7 คือการนำกระดูกลงแช่ในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ความเข้มข้น 3% เป็นเวลา 2-24 ชั่วโมงขึ้นกับขนาดของสัตว์ เมื่อกระดูกมีสีขาวตามที่ต้องการให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และตากกระดูกให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงเริ่มการต่อกระดูกตามท่าทางของสัตว์ชนิดนั้นๆ ตามธรรมชาติในขั้นตอนที่ 9 โดยกระดูกที่หลุดให้นำมาต่อด้วยลวดหรือกาวอเนกประสงค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ถูกต้องให้พ่นด้วยแล็คเกอร์ทับ 1 ชั้นเพื่อป้องกันแมลงมากัดกินกระดูกแล้วจึงติดฉลากที่ตัวสัตว์เป็นขั้นตอนสุดท้าย