xs
xsm
sm
md
lg

แยกให้เป็น "ป่า" แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร ?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เรารู้จักและถูกบ่มเพาะให้รู้จักการหวงแหนป่ามาตั้งแต่เด็ก เราคุ้นเคยกับการเดินป่าตอนเรียนลูกเสือเนตรนารี แต่กลับแยกไม่ได้สักทีว่า “ป่า” แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ? มารู้จักป่าให้มากกว่าดินแดนแห่งต้นไม้ไปพร้อมๆ กับพวกเรา

ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ติดตามน้องๆ เยาวชนจากโครงการค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมพาวเวอร์กรีนปีที่ 10 เข้าร่วมการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ป่าเขาเขียวและเขาชมภู่ จ.ชลบุรี โดยมี รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมในคณะ ซึ่งตอนหนึ่งของการเดินไพร รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ได้กล่าวขึ้นว่า พื้นที่ป่าเขาเขียวจ.ชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีไม้หลักที่เห็นได้คือ ประดู่ ตะแบก มะค่า และไผ่ สลับกันกับป่าดิบแล้งที่มีความชื้นมากกว่า และมีความลาดชันมากกว่า

ยังความสงสัยมาแก่เราว่า .. แท้จริงแล้วป่าในประเทศไทยมีกี่ประเภท ? ซึ่ง รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ก็ยินดีที่จะช่วยคลายความสงสัย ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ตลอดการเดินทาง ควบคู่กับการชี้แนะข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมป่าไม้เพิ่มเติม ให้เรานำมาแบ่งปันแก่ผู้อ่าน
ป่าดิบเขามีลักษณะคล้ายคลึงกับป่าเบญจพรรณแต่อยู่สูงกว่า
รศ.ดร.รัตนวัฒน์ กล่าวว่า ป่าในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ป่าดงดิบและป่าผลัดใบ

ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี เพราะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่ไม่ผลัดใบซึ่งตามบัญญัติของกรมป่าไม้แยกย่อยอีกได้เป็น

1. ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest) เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ประกอบด้วย
   1.1. ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest)
ป่าดงดิบชื้นในไทยส่วนมากอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก ป่าชนิดนี้อยู่บนที่ราบภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
   
   1.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) จะพบตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัย จ.ชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนซีกตะวันออกของประเทศปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมามาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยองขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน โดยป่าชนิดนี้พบตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตรขึ้นไปถึง 800 เมตร

   1.3. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest)
พบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง ตั้งแต่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นไปจนถึงยอดเขาสูง ๆ ในภาคเหนือ เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ดอยปุย ในจ.เชียงใหม่ หรือแม้กระทั่ง ยอดเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

2. ป่าสน (Coniferous forest) ป่าชนิดนี้จำแนกโดยองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้เด่น ที่อาจเป็นสนสองใบหรือสนสามใบ

3. ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest) พบตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วไป แบ่งออกเป็น
    3.1. ป่าพรุ (Peat Swamp)
สังคมป่าที่อยู่ถัดจากป่าชายเลน อาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี
    3.2. ป่าชายเลน (Mangrove swamp forest)
เป็นสังคมป่าไม้บริเวณชายฝั่งทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ กลาง และภาคตะวันออก มีน้ำขึ้น-น้ำลงเด่นชัดในรอบวัน

4. ป่าชายหาด (Beach forest) อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทราย และโขดหิน ดินในป่ามีฤทธิ์เป็นด่าง
ป่าดิบแล้งมีความลาดชัน พบพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดที่ส่วนมากไม่ผลัดใบ
ป่าผลัดใบ (Decidous forest)
เป็นระบบนิเวศน์ป่าชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างที่จะไม่ผลัดใบ พบได้ตั้งแต่ที่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ป่าเบญจพรรณ
ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีความชื้น พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ ซึ่งมีไม้หลักที่เห็นได้คือ ประดู่ ตะแบก มะค่า และไผ่ขึ้นอยู่มาก พบได้ทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือเนินเขา และมักอยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 800 เมตร
  
2. ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง
มักขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และกลาง ไม้เด่นที่พบเป็นไม้ในวงศ์ยาง ผลัดใบในฤดูแล้ง มีไฟป่าประจำ และพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

3. ป่าหญ้า
เกิดจากการทำลายสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรม มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้หญ้าจึงเข้าไปแทนที่ พบได้ทั่วไปในบริเวณที่ป่าถูกทำลายและมักเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี
ป่าดิบแล้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร
ป่าไผ่
ไผ่ พบได้ในป่าหลายประเภท ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
สิ่งมีชีวิตมากมายในภาวะพึ่งพาในป่า
รศ.ดร.รัตนวัฒน์  ไชยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล







แม่คำนาง ศรีสะอาด ชาวบ้านในพื้นที่บ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น ปรับตัวรับแล้งด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ดาวเรือง มะลิ รัก มะนาว พริก แทนการปลูกข้าว สร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท โดยใช้น้ำจากสระเก็บกักในหมู่บ้าน หน้าแล้งนี้จึงไม่มีอดตาย อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #savewater #adtvscience #kohkhean #thailand #farmer #water #crisis #flower #garden

รูปภาพที่โพสต์โดย AstvScience (@astvscience) เมื่อ



กำลังโหลดความคิดเห็น