xs
xsm
sm
md
lg

มอบโนเบลเคมีให้ 3 ผู้ศึกษากลไกซ่อมแซมดีเอ็นเอ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

โทมัส ลินดาห์ล (Tomas Lindahl) สหราชอาณาจักร, พอล มอดริช (Paul Modrich) สหรัฐฯ และ อาซิซ สแกนคาร์ (Aziz Sancar) สหรัฐฯ (AFP PHOTO / JONATHAN NACKSTRAND)
มอบโนเบลให้ 3 นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ผู้ศึกษากลไกซ่อมแซมดีเอ็นเอ ปูทางสู่การรักษามะเร็งแบบใหม่

เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 7 ต.ค.2015 ณ สภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (Swedish Academy of Sciences) สต็อกโฮล์ม สวีเดน โยรัน ฮานสัน (Göran K. Hansson) เลขาธิการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2015 ให้แก่ โทมัส ลินดาห์ล (Tomas Lindahl) จากสถาบันฟรานซิส (Francis Crick Institute) และห้องปฏิบัติการแคลร์ฮอล์ (Clare Hall Laboratory) สหราชอาณาจักร, พอล มอดริช (Paul Modrich) จากสถาบันการแพทย์โฮเวิร์ดฮิวจ์ (Howard Hughes Medical Institute) และวิทยาลัยแพทย์มหาวิทยาลัยดุค (Duke University School of Medicine) สหรัฐฯ และ อาซิซ แซนคาร์ (Aziz Sancar) จากมหาวิทยาลัยนอร์ธคาโรไลนา (University of North Carolina) สหรัฐฯ สำหรับ “การศึกษากลไกการซ่อมแซมดีเอ็น”



เลขาธิการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนระบุว่า รางวัลโนเบลเคมีในปีล่าสุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือของเซลล์ที่ใช้ซ่อมแซมดีเอ็น โดยรายงานเผยแพร่ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนได้สร้างแผนที่ระดับโมเลกุลเพื่ออธิบายว่าเซลล์ซ่อมแซมดีเอ็นเอที่เสียหายได้อย่างไร และยังปกป้องข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ งานของพวกเขาได้สร้างองค์ความรู้พื้นฐานว่า การทำงานของเซลล์มีชีวิตเป็นอย่างไร และตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าวคือการพัฒนาวิธีรักษามะเร็งแบบใหม่

ในแต่ละวันดีเอ็นเอถูกทำลายจากรังสียูวี อนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็งอื่นๆ แต่ถึงแม้ไม่มีปัจจัยทำลายจากภายนอก ดีเอ็นเอเองก็มีความไม่คงตัวอยู่แล้ว โดยทุกวันมีการเปลี่ยนแปลงหลายพันครั้งในจีโนมของเซลล์ แต่โชคดีว่ามีการป้องกันเกิดขึ้นขณะดีเอ็นเอถูกคัดลอกระหว่างเซลล์แบ่งตัว กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นหลายล้านครั้งในร่างกายมนุษย์ทุกวัน

เหตุผลที่ชิ้นส่วนพันธุกรรมไม่แตกสลายโดยสิ้นเชิงนั้น เพราะว่าแม่ข่ายของระบบโมเลกุลนั้นคงติดติดตามและซ่อมแซมดีเอ็นเอเสมอ โดยผลงานของผู้ได้รับรางวัลโนเบลเคมีปีล่าสุดนี้ได้บุกเบิกการทำแผ่นที่ว่าระบบซ่อมแซมนั้นทำงานในระดับโมเลกุลได้อย่างไร

ช่วงต้นทศวรรษ 1970 นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดีเอ็นเอเป็นโมเกุลที่เสถียรอย่างถาวร แต่ โทมัส ลินดาห์ล ได้สาธิตให้เห็นว่า ดีเอ็นเอแตกสลายได้ในระบบที่ทำให้เกิดการพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก การศึกษาลงลึกนี้ทำให้เขาค้นพบกลไกโมเลกุลที่เรียกว่า “การซ่อมแซมด้วยการตัดออกของเบส” (Base excision repair) ที่ต้านการเสื่อมสลายของดีเอ็นเอ

ส่วนอาซิซ แซนคาร์ ได้สร้างแผนที่ของการซ่อมแซมด้วยการตัดออกของนิวคลีโอไทด์ (nucleotide excision repair) ซึ่งเป็นกลไกที่เซลล์ใช้ซ่อมแซมดีเอ็นเอที่ถูกรังสียูวีทำลาย ผู้ที่เกิดมาโดยขาดระบบในการซ่อมแซมนี้มีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งผิวหนังเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ และเซลล์ยังใช้กลไกนี้เพื่อแก้ไขความบกพร่องที่มีสาเหตุสารกลายพันธุ์ด้วย

ด้าน พอล มอดริช ได้สาธิตให้เห็นว่าเซลล์แก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อดีเอ็นเอกำลังคัดสำเนาขณะแบ่งเซลล์ได้อย่างไร กลไกดังกล่าวเรียกว่า การซ่อมแซมการจับคู่ผิดของเบส (mismatch repair) ซึ่งช่วยลดความถี่ของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างดีเอ็นเอคัดลอกสำเนานับพันครั้ง ความบกพร่องแต่กำเนิดในการซ่อมแซมการจับคู่ผิดของเบสนี้เป็นสาหเตุของโรคมะเร็งลำไส้ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

















กำลังโหลดความคิดเห็น