นักประมงชำนาญการจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุพิษ “หมึกบลูริง” ร้ายแรงจริง กัดคนตายจริง แต่ไม่มีข้อมูลว่าพิษร้ายแรงเท่างูเห่า ยังไม่เคยได้ยินกรณีคนตายจากบลูริงในเมืองไทย แต่มีตัวอย่างพ่อค้าหมึกย่างจับมาเสียบไม้ แต่โชคดีมีผู้เข้าไปพบ แนะอย่าเข้าใกล้
จากกรณีการแชร์ภาพหมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) หรือหมึกสายวงสีน้ำเงินว่าพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่าและทำให้ถึงตาย ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบไปยัง นายอุกฤต สตภูมินทร์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งระบุว่า หมึกดังกล่าวมีพิษร้ายแรงจริงและกัดคนตายจริง แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ามีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าหรือไม่
นายอุกฤตอธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า พิษของหมึกสายวงสีน้ำเงินนั้นมีชื่อว่า เปปโทรโดทอกซิน (peptrodotoxin) ซึ่งเป็นพิษเหมือนพิษปลาปักเป้า โดยจะปล่อยพิษออกมาจากปากที่อยู่บริเวณด้านล่างของหัวที่เป็นศูนย์กลาง
“พบมากแถวแนวปะการังทั้งอันดามันและอ่าวไทย ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเมื่อก่อนคนฮิตเลี้ยงด้วยซ้ำ ทางที่ดีเห็นแล้วอย่าไปยุ่ง เพราะไม่มียารักษา รักษาได้แค่ตามอาการ ถ้าโดนมากๆ อาจตายได้เลยแต่ไม่เคยมีใครวิจัยไว้ว่าจะตายภายในกี่นาที บ้านเรายังไม่มีเคสคนตาย” นายอุกฤตกล่าว
ส่วนที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าปกติจะพบหมึกชนิดนี้ได้ที่ออสเตรเลีย นายอุกฤตให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ยากที่หมึกชนิดนี้จะอพยพหรือข้ามมาจากออสเตรเลีย เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ใหญ่ที่ว่ายน้ำข้ามทวีปได้ และหมึกบลูริงก็เป็นสัตว์ประจำถิ่นที่พบได้ในไทย แต่ไม่ใช่โอกาสง่ายๆ ที่จะพบ นานๆ จึงจะเจอสักตัว และเท่าที่ทราบเคยมีพ่อค้าหมึกย่างติดขึ้นมาเสียบไม้ แต่โชคดีที่มีคนมีความรู้เข้าไปพบก่อน จึงไม่มีใครเป็นอะไร และเขาเองยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ แต่ทางที่ดีอย่าเข้าไปใกล้ แม้หมึกดังกล่าวจะมีสีสันสวยงามดึงดูด
Posted by Nattawut Chotsuwan on Wednesday, August 12, 2015
จากกรณีการแชร์ภาพหมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) หรือหมึกสายวงสีน้ำเงินว่าพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่าและทำให้ถึงตาย ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบไปยัง นายอุกฤต สตภูมินทร์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งระบุว่า หมึกดังกล่าวมีพิษร้ายแรงจริงและกัดคนตายจริง แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่ามีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าหรือไม่
นายอุกฤตอธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า พิษของหมึกสายวงสีน้ำเงินนั้นมีชื่อว่า เปปโทรโดทอกซิน (peptrodotoxin) ซึ่งเป็นพิษเหมือนพิษปลาปักเป้า โดยจะปล่อยพิษออกมาจากปากที่อยู่บริเวณด้านล่างของหัวที่เป็นศูนย์กลาง
“พบมากแถวแนวปะการังทั้งอันดามันและอ่าวไทย ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเมื่อก่อนคนฮิตเลี้ยงด้วยซ้ำ ทางที่ดีเห็นแล้วอย่าไปยุ่ง เพราะไม่มียารักษา รักษาได้แค่ตามอาการ ถ้าโดนมากๆ อาจตายได้เลยแต่ไม่เคยมีใครวิจัยไว้ว่าจะตายภายในกี่นาที บ้านเรายังไม่มีเคสคนตาย” นายอุกฤตกล่าว
ส่วนที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าปกติจะพบหมึกชนิดนี้ได้ที่ออสเตรเลีย นายอุกฤตให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ยากที่หมึกชนิดนี้จะอพยพหรือข้ามมาจากออสเตรเลีย เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ใหญ่ที่ว่ายน้ำข้ามทวีปได้ และหมึกบลูริงก็เป็นสัตว์ประจำถิ่นที่พบได้ในไทย แต่ไม่ใช่โอกาสง่ายๆ ที่จะพบ นานๆ จึงจะเจอสักตัว และเท่าที่ทราบเคยมีพ่อค้าหมึกย่างติดขึ้นมาเสียบไม้ แต่โชคดีที่มีคนมีความรู้เข้าไปพบก่อน จึงไม่มีใครเป็นอะไร และเขาเองยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ แต่ทางที่ดีอย่าเข้าไปใกล้ แม้หมึกดังกล่าวจะมีสีสันสวยงามดึงดูด