xs
xsm
sm
md
lg

สมาชิกอาเซียนเปิดตัวระบบแปล 10 ภาษาอัตโนมัติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ โชว์ตัวอย่างการทำงานของระบบแปลภาษาอาเซียน ซึ่งทำงานผ่านเว็บไซต์ http://www.aseanmt.org/mt  ร่วมกับ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิเดชขจร ผู้อำนวยการเนคเทค และ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย เนคเทค
เปิดตัวระบบแปลภาษาอัตโนมัติ 10 ชาติอาเซียน งานวิจัยแรกที่ใช้ทุนวิทยาศาสตร์ของอาเซียน ประเดิมประโยคเพื่อการท่องเที่ยว 20,000 ประโยค

ทีมนักวิจัย 10 ประเทศอาเซียนเปิดตัวระบบแปลภาษาอัตโนมัติของชาติสมาชิกภายในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 69 ระหว่างวันที่ 21-30 พ.ค.58 ณ โรงแรมมูเว่นพิค รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.ภูเก็ต

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัย 10 ชาติอาเซียนได้ร่วมกันพัฒนาระบบแปลภาษาอัตโนมัติของชาติตนเอง ได้แก่ ภาษาไทย ภาษากัมพูชา ภาษาลาว ภาษาบาฮาซาร์มาเลเซีย ภาษาบาฮาซาร์อินโดนีเซีย ภาษาฟิลิปิโน ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม ภาษาจีนสำหรับสิงคโปร์ และภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียน

ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอกนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นักวิจัยฝ่ายไทยเผยว่า ระบบแปลภาษาดังกล่าวเป็นผลงานระยะที่ 1 ซึ่งบรรลุตามเป้าหมาย โดยบรรจุประโยคสนทนาด้านการท่องเที่ยว 20,000 ประโยค

"การพัฒนาระบบแปลภาษาเน้นที่การท่องเที่ยวก่อน เพราะน่าจะใช้งานง่าย จับต้องได้ว่ายกว่าและเห็นภาพก่อน ถ้าเริ่มที่ภาษาสำหรับด้านอื่น อย่างภาษากฎหมาย คำถามคือแล้วใครจะใช้" ดร.เทพชัยกล่าว

จุดเริ่มต้นของการพัฒนานั้นเริ่มจากเนคเทคและกลุ่มวิจัยการประมวลผลภาษาในอาเซียนปรึกษากันในการพัฒนางานวิจัยที่สนับสนุนการเกิดของประชาคมอาเซียน จึงได้ยื่นข้อเสนอขอทุนวิจัยจากกองทุนวิทยาศาสตร์อาเซียน และได้รับอนุมัติทุนจากคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี (ASEAN COST) เป็นเงิน 51,800 เหรียญสหรัฐ

การดำเนินโครงการพัฒนาระบบแปลภาษามีระยะเวลา 3 ปีนับจากปี 2555-2558 ซึ่ง ดร.เทพชัยระบุว่าเป็นโครงการแรกของ ASEAN COST ที่เป็นงานวิจัยโดยชาติสมาชิก ขณะที่โครงการก่อนหน้าจะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนกำลังคน การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

"งบจากกองทุนนั้น ใช้สำหรับเชิญแต่ละประเทศมาร่วมประชุม ทั้งในระดับนโยบายและเชิงปฏิบัติการ แต่การสร้างระบบสร้างข้อมูลนั้น แต่ละประเทศใช้งบประมาณของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องน่าภูมิใจที่ทุกประเทศร่วมสร้าง "ของ" กันขึ้นมา" ดร.เทพชัยกล่าว

กลุ่มทำงานระบบแปลภาษาเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างนักภาษาและวิศกรคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ผลงานพร้อมให้ทดลองใช้งานระบบแปลภาษาอาเซียนอัตโนมัติได้ที่ http://www.aseanmt.org/mtแต่ผลงานระยะที่ 2 นั้น ดร.เทพชัยกล่าวว่ายังต้องคุยรายละเอียดว่าจะพัฒนาอย่างไรต่อ เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นหรือขยายการประยุกต์ใช้งาน เป็นต้น

ส่วนอุปสรรคในการพัฒนานั้น ดร.เทพชัยกล่าวว่า เป็นเรื่องความแตกต่างของแต่ละประเทศ บางประเทศมีเทคโนโลยีสูงแต่บางประเทศมีเทคโนโลยีต่ำ บางประเทศมีความพร้อมแต่บางประเทศไม่มีความพร้อม อีกทั้ง 10 ภาษามีธรรมชาติภาษาที่ไม่เหมือนกัน โดยภาษาพม่าและภาษากัมพูชาที่มีไวยากรณ์ที่ยากและแตกต่างจากภาษาอื่น

นอกนี้ระบบแปลภาษาที่สมาชิกอาเซียนร่วมกันพัฒนานั้นมีจุดเด่นที่การจับคู่แปลภาษาระหว่างประเทศ เช่น ภาษาไทย 1 ประโยคแปลเป็นภาษาอื่นๆ ในอาเซียนอีก 9 ภาษา ต่างจากระบบการแปลภาษาอื่นๆ ที่มี ซึ่งจะแปลผ่านภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ตัวอย่างการแปลภาษาของระบบ โดยจับคู่แปลทีละภาษา  เริ่มจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีน จากภาษาจีนเป็นภาษาฟิลิปิโน  จากภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาไทย จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ผู้บริหารระดับปลัดกระทรวงขอประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมงานประชุม ASEAN COST






*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น