xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ โชว์โดรนจิ๋วพร้อมรบ-ไอเดียจากจักจั่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โดรนจิ๋วพร้อมรบของกองทัพสหรัฐฯ (AFP PHOTO/ Laurent Barthelemy)
นักวิทย์กองทัพสหรัฐฯ พัฒนาโครนจิ๋วขนาดเท่าฝ่ามือ พร้อมสำหรับปล่อยจากฟ้าเพื่อปฏิบัติการทหาร ออกแบบมาให้เล็ก ราคาถูก และเรียบง่ายกว่าอากาศยานอื่นๆ แต่ยังสามารถปฏิบัติภารกิจในสนามรบได้อย่างสมบูรณ์ โดยการควบคุมระยะไกล

โดรนจิ๋วของกองทัพสหรัฐฯ ที่นักวิทยาศาสตร์ในสังกัดพัฒนาขึ้นมานี้มีชื่อเรียกล้อจักจั่นว่า “ซิคาดา” (Cicada) ซึ่งเป็นแมลงที่สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนา จากการที่จักจั่นใช้เวลาอยู่ใต้นานหลายปี ก่อนจะโผล่ขึ้นมาเป็นฝูง สืบพันธุ์และตายตกสู่พื้นดิน  

“แนวคิดตอนนั้นคือทำเราไม่ทำยูเอวี (ยานบินไร้คนขับ) ที่มีอะไรคล้ายๆ กันบ้าง เราจะปล่อยโดรนออกไปมาก ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ศัตรูจะเก็บโดรนของเราได้หมด” อารอน คาห์น (Aaron Kahn) จากห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐกล่าวกับเอเอฟพี   

สำหรับชื่อ Cicada ย่อมาจาก  Covert Autonomous Disposable Aircraft ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกว่า ถูกกว่า และเรียบง่ายกว่าหุ่นยนต์อากาศยานอื่นๆ แต่ยังคงภารกิจในสนามรบที่อยู่ห่างไกลได้ โดยต้นแบบมีราคาเพียง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าราคาจะลดลงไปเหลือเพียง 250 เหรียญสหรัฐฯ

นักวิจัยเผยว่าชิ้นส่วนของยานซิคาดามีเพียง 10 ชิ้น ประกอบกันเหมือนเครื่องบินกระดาษที่ใช้เพียงแผงวงจรเล็กๆ และไม่ต้องใช้มอเตอร์เพื่อขับเคลื่อน อีกทั้งยังออกแบบให้ร่อนไปตามพิกัดจีพีเอส (GPS) ที่โปรแกรมไว้ หลังจากถูกปล่อยจากเครื่องบิน บอลลูนหรือโดรนลำใหญ่  
 
จากการทดสอบเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมาในเมืองยูมา รัฐแอริโซนา สหรัฐฯ โดยปล่อยยานซิคาดาลงมาจากระดับความสูง 17,500 เมตร พบว่าโดรนจิ๋วบินหรือตกลงเป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร ก่อนจะลงจอดภายในระยะ 15 ฟุตจากเป้าหมาย และโดรนจักจั่นนี้ยังบินได้ด้วยความเร็ว 74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้อย่างเงียบๆ และไม่ต้องใช้เครื่องหรือระบบขับดันใดๆ

“มันเหมือนนกบินลงมา แต่มันก็มองเห็นได้ยาก” เดเนียล เอ็ดเวิร์ดส (Daniel Edwards) วิศวกรการบินจากห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าว

ในการทดสอบการบินโดดรนซิคาดายังส่งมีเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลสภาพอากาศกลับมายังศูนย์ควบคุมได้ ทั้งอุณหภูมิ ความดันอากาศและความชื้น ซึ่งทีมวิจัยระบุว่า โดรนนี้ควรถูกใช้ภารกิจหลายๆ ด้าน และติดตั้งเซนเซอร์น้ำหนักเบาหลายชนิด รวมถึงติดไมโครโฟนด้วย

“พวกมันคือหุ่นยนต์นกพิราบแบกสัมภาระ คุณบอกจุดหมายให้พวกมันไป และพวกมันก็จะไปยังจุดหมายนั้น” เอ็ดเวิร์ดกล่าว

อีกหนึ่งภาพฉายที่น่าจะเป็นไปได้ในการใช้โดรนจิ๋วนี้คือการใช้สอดส่องการจราจรบนเส้นทางไกลนอกเขตแดนของศัตรู โดยคาห์นได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อติดตั้งไมโครโฟนหรือเครื่องตรวจวัดการสั่นสะเทือน ปล่อยโดรนลงบนถนน แล้วโดรนเหล่านั้นก็จะบอกว่า ได้ยินเสียงรถบรรทุกหรือเสียงรถเก๋งบนถนน และจะทั้งความเร็วและทิศทางที่ยานพาหนะเหล่านั้นมุ่งหน้าไป  

นักวิจัยระบุอีกว่า โดรนขนาดเล็กนี้ยังสามารถติดตั้งเซนเซอร์แม่เหล็กเพื่อตรวจจับเรือดำน้ำของภายตรงข้าม หรือเพื่อลอบฟังกองกำลังหรือการสื่อสาร แต่การติดตั้งอุปกรณ์ป้อนภาพวิดีโอกลับเป็นเรื่องยากเพราะการคัดลอกวิดีโอนั้นต้องใช้ช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุหรือแบนด์วิดธมาก

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โดรนยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งการใช้งานช่วงแรกจะเป็นงานนอกสนามรบอย่างการพยากรณ์อากาศก่อน ซึ่งนักนักอุตุนิยมวิทยาที่พยายามคาดการณ์การเกิดพายุทอร์นาโด ต้องอาศัยข้อมูลอุณหภูมิที่บันทึกจากภาคพื้น แต่โดรนซิคาดาจะให้ข้อมูลอุณหภูมิมากมายที่อ่านได้จากอากาศ ซึ่งจะให้ข้อมูลมากพอสำหรับสร้างแบบจำลองสามมิติสำหรับคาดการ์ณทอร์นาโด

แม้จะดูเหมือนของเด็กเล่นแต่โดรนซิคาดายังทนทานมาก โดยเอ็ดเวิร์ดอธิบายว่าเราโยนโดรนจิ๋วนี้ออกจากเครื่องบินซี-130 ได้โดยโดรนไม่เสียหาย โดรนยังบินผ่านต้นไม้ ตกกระแทกถนนลาดยางมะตอย ล้มใส่กล้อนกรวด หรือมีเม็ดทรายเข้าไปในเครื่องได้โดยไม่เป็นอะไร แต่สิ่งเดียวที่ทำลายโดรนนี้ได้คือพุ่มไม้ทะลทราย
ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ดูเหมือนของเด็กเล่นแต่ทนทาน (AFP PHOTO/ Laurent Barthelemy)






*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น