xs
xsm
sm
md
lg

พบปลาสร้างเลือดอุ่นสู้ความหนาวใต้มหาสมุทรลึก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นิค เวกเกอร์ นักชีววิทยาประมงของโนอาอุ้มปลาโอปาห์ระหว่างการสำรวจวิจัยทางชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ซึ่งรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารไซน์ระบุว่า ปลาชนิดนี้เป็นปลาชนิดแรกที่ค้นพบว่า มีระบบอบอุ่นร่างกายทุกส่วนโดยการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย เพื่อคงความเป็นนักล่าที่กระฉับกระเฉงใต้มหาสมทุรลึกที่หนาวเหน็บ (REUTERS/NOAA Fisheries/Southwest Fisheries Science Center/Handout)
นักวิทยาศาสตร์พบปลาที่สามารถสร้างเลือดอุ่นให้ตัวเอง เพื่อช่วยอบอุ่นร่างกายให้ปลาข้ามขีดกำจัดในการอาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรที่หนาวเหน็บได้

นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบปลาที่เรียกกันว่า “ปลาพระจันทร์” (moonfish) ปลารูปร่างกลมและมีขนาดประมาณล้อรถยนต์นั้นสามารถอบอุ่นร่างกายตัวเองได้เหมือนหม้อน้ำรถยนต์ ซึ่งในรายงานของเอเอฟพีระบุว่า นักวิจัยได้เผยแพร่การค้นพบนี้ลงวารสารไซน์

ปลาดังกล่าวมีเส้นเลือดในเหงือกปลาที่นำเลือดอุ่นมาจากแกนในของร่างกาย เส้นเลือดดังกล่าวพันรอบเส้นเลือดอื่นในบริเวณใกล้เหงือกปลา ซึ่งเป็นบริเวณที่ปลาหายใจ แลกเปลี่ยนออกซิเจนและเลือดเย็น กลายเป็นระบบสร้างความร้อนด้วยตัวเองที่ช่วยให้สมองปลาเฉียบคมและกล้ามเนื้อตื่นตัว จึงว่ายน้ำได้เร็วและล่าเหยื่อได้

จากการติดอุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิพบว่า ปลาพระจันทร์หรือปลาโอปาห์ (opah fish) ทางชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ นั้นมีอุณหภูมิกล้ามเนื้อเฉลี่ยสูงกว่าสิ่งแวดล้อมรอบๆ ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ขณะว่ายลงลึกจากผิวน้ำ 45-300 เมตร

การค้นพบนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ เพราะปลาส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น แต่ปลาที่พบนี้สามารถอบอุ่นร่างกายได้เกือบเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก

“ก่อนการค้นพบนี้ผมรู้สึกประทับใจว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เคลื่อนไหวช้า ซึ่งเหมือนปลาส่วนใหญ่ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น แต่เพราะมันสามารถอบอุ่นร่างกายได้ มันจึงกลายเป็นนักล่าที่ว่องไว และไล่ล่าเหยื่ออย่างหมึกได้ และยังอพยพได้เป็นระยะทางไกล” นิโคลัส เวกเนอร์ (Nicholas Wegner) จากศูนย์วิทยาศาสตร์ประมงตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Fisheries Science Center) ขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) นักวิจัยหลักในการค้นพบนี้กล่าว

ปลาอื่นๆ อย่างปลาทูนาหรือปลาฉลามนั้นสามารถอุ่นร่างกายและกล้ามเนื้อบางส่วนได้ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการว่ายน้ำเมื่ออยู่ในความลึกที่หนาวเย็น แต่อวัยวะภายในก็เย็นลงอย่างฉับพลัน บีบให้ปลาเหล่านั้นต้องขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่ออบอุ่นร่างกาย

ส่วนปลาโอปาห์นั้นอาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึกที่นักล่าส่วนใหญ่มักจะซุ่มโจมตีเหยื่อมากกว่าไล่ล่า และด้วยครีบสีแดงที่สะพัดอย่างคงที่คงวาทำให้ปลาโอปาห์ยังรักษาความอบอุ่นไว้ได้ แม้น้ำจะยิ่งเย็น และช่วยเพิ่มความเร็วในกระบวนการเผาพลาญพลังงานกับคงปฏิกิริยาตอบกลับอัตโนมัติอย่างฉับพลันได้
 
นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อไขมันรอบเหงือกปลา หัวใจและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เป็นเครือข่ายเสริมของเส้นเลือดอุ่น เพื่อเป็นฉนวนให้แก่ร่างกายและคงความอบอุ่นไว้

“ไม่เคยมีอะไรอย่างนี้ในเหงือกปลาให้เห็นมาก่อน นวัตกรรมเจ๋งๆ ของปลาเหล่านี้ช่วยให้พวกมันอยู่เหนือกว่าในสนามแข่งขัน” เวกเนอร์กล่าว
 ปลาโอปาห์ที่มีระบบอบอุ่นเลือดในร่างกายถูกจับขึ้นมาติดเส้นเซนเซอร์เพื่อตรวจจับอุณหภูมิเมื่อดำสู่น้ำลึก ถูกปล่อยกลับสู่มหาสมุทร โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ประมงของโนอา (AFP PHOTO HANDOUT-NOAA Fisheries/Southwest Fisheries Science Center)






*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น