xs
xsm
sm
md
lg

พบไดโนเสาร์ประหลาดตัวเท่านกพิราบ-ปีกคล้ายค้างคาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพวาดจำลองไดโนเสาร์อีฉีที่มีปีกคล้ายค้างคาว (REUTERS/Dinostar Co. Ltd/Handout)
นักวิทยาศาสตร์พบไดโนเสาร์ประหลาด ขนาดไม่เกินนกพิราบ มีปีกคล้ายค้างคาว และมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนกำเนิดนกตัวแรกไม่นาน

รายงานจากรอยเตอร์ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ในจีนได้ค้นพบไดโนเสาร์ที่มีลักษณะประหลาดและตั้งชื่อว่า “อี้ฉี” (Yi qi) ที่แปลว่า “ปีกประหลาด” ในภาษาจีนกลาง และเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดประมาณนกพิราบ มีปีกคล้ายค้างคาว โดยชื่อดังกล่าวเป็นชื่อสั้นที่สุดท่ามกลางไดโนเสาร์ที่ได้รับการจำแนกสปีชีส์แล้วกว่า 700 ชนิด และนักวิจัยได้ตีพิมพ์การค้นพบนี้ลงวารสารเนเจอร์  

ไดโนเสาร์ดังกล่าวเคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 160 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคจูราสสิค และอาศัยอยู่บนโลกมาก่อนกำเนิดนกยุคแรกที่เรียกว่า “อาร์คีโอทีริกซ์” (Archaeopteryx) ประมาณ 10 ล้านปี โดยเข้าใจว่าไดโนเสาร์ดังกล่าวเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนก แต่ปีกมีผังผืดที่เกิดจากผิวหนัง แทนที่จะมีปีกเป็นขนปุยเหมือนนก   

ลักษณะปีกของไดโนเสาร์ดังกล่าวเหมือน “ทีโรซอร์” (pterosaur) สัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับไดโนเสาร์ที่เพิ่งค้นพบนี้ และเหมือนยังค้างคาซึ่งอุบัติขึ้นมาบนโลกในช่วง 100 ล้านปีให้หลัง

ปีกแต่ละข้างของอี้ฉีพยุงด้วยกรงเล็บซึ่งเป็นนิ้วมือ 3 นิ้ว และเป็นกระดูกรูปแท่งที่งอกมาจากข้อมือ ในจำนวนนิ้วมือนั้นมีนิ้วหนึ่งที่ยาวกว่านิ้วอื่นค่อนข้างมาก ส่วนบริเวณหัว คอและแขนขามีขนปกคลุมคล้ายเส้นผมหรือขนตั้งๆ มากกว่าเป็นขนนกสำหรับสัตว์บินได้  

“มันยากจะจินตนาการว่ามันสามารถกระพือปีกได้ดี เพราะว่ากระดูกรูปแท่งนั้นดูแล้วไม่น่าจะต่อเข้ากับข้อมือได้ ดังนั้น การคาดเดาของเราคืออี้ฉีนั้นน่าจะร่อนหรืออาจจะร่อนไปพร้อมกับการกระพือแบบไม่เต็มที่นัก” คอร์วิน ซุลลิวัน (Corwin Sullivan) นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพชีวมานุษยวิทยาในปักกิ่งกล่าว

ก่อนที่ ออร์วิลล์ ( Orville Wright ) และ วิลเบอร์ ไรท์ (Wilbur Wright) สองพี่น้องตระกูลไรท์จะประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินเป็นครั้งแรกของโลก ก็มีการทดสอบเครื่องจักรกลการบินแบบไม่จริงจังมาก่อน ซึ่งรายงานจากรอยเตอร์ระบุว่า ไดโนเสาร์เองก็มีช่วงเวลาคล้ายๆ กันจนวิวัฒนาการไปสู่นกที่บินได้
 
ซุลลิวัน ให้ความเห็นว่าการค้นพบไดโนเสาร์ที่ปีกมีเยื่อบางๆ นั้นค่อนข้างน่าประหลาดใจและคาดไม่ถึง โดยอี้ฉีแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการให้บินได้ที่ไม่คล่องนักดในไดโนเสาร์ ที่วิวัฒนาเรื่อยๆ ก่อนจะกลายเป็นนก

สำหรับเนื้อเยื่อของปีกไดโนเสาร์นั้นถูกรักษาไว้ด้วยสาพฟอสซิล ที่ค้นพบโดยเกษตรกรในท้องถิ่นที่มณฑลเห่อเป่ย (Hebei Province) ของจีน แต่ลักษณะของปีกโดยรวมนั้นผิดรูป และเป็นไปได้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้อาจจะอาศัยอยู่บนต้นไม้และใช้ฟันคล้ายตะปูขบเคี้ยวสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และแมลง หรืออาจจะเป็นผลไม้ด้วย

“ความจริงแล้วไดโนเสาร์ชนิดนี้ดูไม่ต่างจากนกยุคแรกนัก” ซิง สีว์ (Xing Xu) นักบรรพชีวินวิทยาจากสภาวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) และมหาวิทยาลัยหลินยี (Linyi University) กล่าว และบอกว่า ไดโนเสาร์นี้จัดอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์แปลกที่เรียกว่า สแกนซอริโอทีไรกิดส์ (scansoriopterygids) ซึ่งค่อนข้างใกล้ชิดกับนกยุคดึกดำบรรพ์อย่าง อาร์คีโอทีริกซ์   
 






*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on


กำลังโหลดความคิดเห็น