xs
xsm
sm
md
lg

รถต้นแบบพ่นยาฆ่าแมลงฝีมือไทยควบคุมการใช้สารเคมี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สรายุทธ นาคคงคำ (ขวา) (กลาง) พัฒนโชค สายอ้าย ที่ปรึกษา ครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย สวทช. และพนักงาน บริษัท อดามัส อโกรโนมิ จำกัด พร้อมด้วยรถพ่นยาจำกัดแมลงควบคุมระยะไกล
การปลูกพืชผักให้ได้ผลผลิตมากๆ หนีไม่พ้นต้องพึ่งสารเคมี แต่ความเคยชินในการใช้สารเคมีของเกษตรกรที่เน้น “ฉีดให้ชุ่ม” และทำตามสะดวก ทำให้ควบคุมศัตรูพืชไม่ได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้สารเคมียังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ฉีดพ่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนารถพ่นยาฆ่าแมลงอัตโนมัติในไร่มะเขือม่วงส่งออก

สรายุทธ นาคคงคำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อดามัส อโกรโนมิ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เผยว่าบริษัท ดำเนินธุรกิจด้านเกษตรพันธสัญญาที่ส่งเสริมเกษตรเพาะปลูกพืชและนำมาเป็นแปรรูปอาหาร ซึ่งการปลูกมะเขือม่วงส่งออกไปยังญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในธุรกิจของบริษัท แต่จากการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะเขือม่วง กลับพบปัญหาเรื่องการฉีดพ่นปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่ไม่เป็นตามวิธีการที่กำหนด

“ส่วนใหญ่เกษตรกรมักฉีดพ่นตามความเคยชิน คือฉีดพ่นให้ชุ่ม แต่เป็นวิธีฉีดพ่นยาฆ่าแมลงที่ไม่ได้ผล สำหรับมะเขือม่วงต้องฉีดพ่นเป็นละอองทั้งเหนือใบและใต้ใบ เพราะหนอนหรือศัตรูพืชชอบหลบอยู่ใต้ใบ นอกจากนี้ยังฉีดพ่นตามฤกษ์สะดวก ไม่ฉีดตามกำหนด ทำให้ประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชหรือการให้ปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้า” สรายุทธเผย

จากปัญหาดังกล่าวประกอบกับความห่วงใยต่อสุขภาพของผู้ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงจึงกลายเป็นการพัฒนารถพ่นยากำจัดแมลงแบบควบคุมจากระยะไกล ซึ่งได้ ระดม พงษ์ วุฒิธรรม จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นนักวิจัยผู้พัฒนารถพ่นยากำจัดแมลงดังกล่าว ภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

จากการพัฒนารถพ่นยากำจัดแมลงจามโจทย์ของอดามัส อโกรโนมิ ทีมวิจัยได้สร้างต้นแบบรถพ่นยาฆ่าแมลงที่สามารถควบคุมระยะไกลด้วยรีโมตคอนโทรลที่ระยะไกลถึง 100 เมตร และบรรจุปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงได้ 80 ลิตร มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 20 ลิตร และมีกล้องด้านหน้ารถเพื่อส่งสัญญาณภาพผ่านสัญญาณไว-ไฟมายังจอภาพในอุปกรณ์บังคับ ซึ่งสราวุธระบุว่าในการใช้งานผู้ใช้งานจะอยู่ไกลจากรถพ่นยาฆ่าแมลงประมาณ 10 เมตร โดยที่ละอองของสารเคมีจะฟุ้งอยู่ในระยะ 1-2 เมตร ช่วยให้พนักงานปลอดภัยจากสารเคมี

สรายุทธเผยว่า หากพัฒนาต้นแบบจนใช้งานได้จริงแล้วทางบริษัทจะใช้เป็นเครื่องเพื่อฉีดพ่นปุ๋ยน้ำและฆ่าแมลงให้แก่เกษตรที่เข้าร่วมในการปลูกมะเขือม่วงให้แก่บริษัท แต่ยังมีอีกหลายจุดที่ยังต้องพัฒนา เนื่องจากในการปลูกมะเขือม่วงนั้นเกษตรกรจะยกร่องเป็นแนวแคบๆ จึงต้องปรับปรุงให้รถพ่นยาสามารถเลี้ยวได้ในวงเลี้ยวจำกัด และปรับล้อเป็นแบบตีนตะขาบเพื่อให้วิ่งได้บนร่องสวนที่ชื้นแฉะ ซึ่งระหว่างนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา
สาธิตการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงด้วยการตวบคุมระยะไกล
มะเขือม่วงสำหรับส่งออกไปยังญี่ปุ่น

ร่องสวนวแปลงปลูกมะเขือม่วง








*******************************



กำลังโหลดความคิดเห็น