ก.วิทย์เร่งสร้าง “โรดแมพ” ใช้ภาพดาวเทียมจัดสรรทรัพยากรภายใน 1 เดือน เน้น 3 เรื่องคือระบบคลังภาพถ่าย ศูนย์ข้อมูลแนวเขต และระบบภูมิสารสนเทศติดตรมการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ชี้ไทยใช้ภาพถ่ายทางอากาศมากว่า 60 ปีแล้ว ระบุมีข้อมูลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ดูแลข้อมูลที่ราคาถูกลง
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แถลงแก่สื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในแนวทางการบูรณาการใช้งานภาพถ่ายจากการสำรวจระยะไกลว่า เป็นหนึ่งในแผนปฏิรูป 5 ด้านของกระทรวงเพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรของประเทศอย่างเหมาะสม
จากมติเห็นชอบดังกล่าวรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ระบุว่า จะนำไปสู่การบูรณาก่ารของหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตร โดยคาดหวังว่าภายใน 1 เดือนได้แผนที่นำทาง (Road map) ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติได้ โดยมีเรื่องหลักๆ 3 เรื่องคือ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการจัดทำระบบคลังภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมแห่งชาติ เรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปศูนย์ข้อมูลแนวเขตและรูปลักษณ์ที่มีกฎหมายรองรับ และเรื่องการใช้ประโยชน์การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อสถานการณ์ เช่น การรุกป่า การจัดการน้ำ เป็นต้น
ด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ให้ข้อมูลว่าไทยใช้ภาพถ่ายทางอากาศมานานกว่า 60 ปี เริ่มตั้งแต่ประมาณช่วงปี 2490 และช่วงปี 2520 จึงเริ่มใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งปัญหาของการใช้ภาพถ่ายทางอากาศคือเป็นชุดข้อมูลที่ใหญ่มาก แต่ปัจจุบันมีซอปต์แวร์ดูแลข้อมูลที่ราคาถูก ซึ่งทาง สทอภ.จะสรรหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับไทยมาใช้เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงภาพถ่ายได้ง่าย
พร้อมกันนี้ ดร.อานนท์ยังได้แจกแจงถึงศักยภาพทางด้านภาพถ่ายดาวเทียมของไทยว่า หากใช้ภาพความละเอียดต่ำสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้เร็วสุด 1 วัน ส่วนภาพความละเอียดระดับกลางสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ 20-30 วัน ส่วนภาพความละเอียดสูงติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ในรอบ 1 ปี และไทยยังใช้ภาพถ่ายดาวเทียมติดตามน้ำท่วมมา 10 กว่าปีแล้ว และถูกนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมได้ โดยมีหลายบรัทประกันนำไปใช้ประเมินเบียประกัน
*******************************