xs
xsm
sm
md
lg

นักดาราศาสตร์ทำแผนที่ดาวหางนอกระบบสุริยะได้ครั้งแรก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจินตนาการศิลปินจำลองดาวหางล้อมรอบระบบดาวฤกษ์เบตาพิคโทรัสที่อยู่ออกไป 63 ปีแสง (ESO/L. Calçada)
นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาวในทะเลสาบชิลี ทำแผนที่ดาวหางนอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก โดยพบดาวหางกว่า 400 ดวงโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์อายุน้อยที่อยู่ห่างจากโลก 63 ปีแสง เป็นโอกาสในการศึกษาการก่อกำเนิดระบบสุริยะ

ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวหางคือซากที่หลงเหลือจากการกำเนิดระบบสุริยะเมื่อประมาณ 4.6 ล้านปีก่อน และการศึกษาก่อนหน้านี้ก็พบว่าดาวฤกษ์อื่นๆ ก็มีดาวหางด้วยเช่นกัน แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะบันทึกภาพที่ให้รายละเอียดมากพอ เมื่อเทียบกับขนาดดาวฤกษ์แล้วดาวหางมีขนาดเล็กมากๆ และหางของดาวหางก็ถูกกลบมิดด้วยแสงของดาวฤกษ์ ซึ่งนั่นทำให้ยากต่อการระบุว่าวัตถุที่เห็นคือดาวหาง และยากต่อการคำนวณวงโคจรของพวกมัน

ทว่า จากรายงานที่เพิ่งเผยแพร่ลงวารสารเนเจอร์โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส เอเอฟพีระบุว่าทีมพวกเขาได้วิเคราะห์ภาพ เบตาพิคโทริส (Beta Pictoris) ดาวฤกษ์อายุน้อยในกลุ่มดาวขาตั้งภาพ (Pictor) จากสังเกตการณ์เกือบ 1,000 ครั้งตลอดเวลากว่า 8 ปี และแยกดาวหางนอกระบบ (exocomet) ออกมาได้ทั้งหมด 493 ดวง ซึ่งนับเป็นการสำรวจจำนวนดาวหางนอกระบบที่สมบูรณ์เป็นครั้งแรก

ภาพจากสังเกตการณ์เหล่านั้นบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุความไวสูง HARPS บนสถานีลาซีลา (La Silla facility) ของหอดูดาวยุโรปซีกฟ้าใต้ ในทะเลทรายอทาคามาอันแห้งแล้งของชิลี

นักดาราศาสตร์พบว่าดาวหางเหล่านั้นแยกเป็น 2 กลุ่มชัดเจนเหมือนในระบบสุริยะของเรา กลุ่มเป็นกลุ่มดาวหางเก่าที่เบนไปตามแรงดึงของดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ชื่อ เบตา พิคโทริส ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ที่ระยะทางประมาณ 1 พันล้านกิโลเมตร ซึ่งดาวหางในกลุ่มนี้อาจถูกเปลื้องน้ำแข็งออกเมื่อเข้าใกล้ดวงฤกษ์ของตัวเองมากเกินไป หรือเข้าใกล้บ่อยเกินไป ส่วนอีกกลุ่มเป้นดาวหางใหม่ที่เกิดจากการแตกสลายของวัตถุขนาดใหญ่

ทั้งนี้ ดาวฤกษ์เบตาพิคโทริสถือเป็นดาวอายุน้อยเมื่อเทียบกับอายุดวงอาทิตย์ โดยมีอายุเพียง 20 ล้านปี และถูกล้อมรอบด้วยแถบก๊าซและฝุ่น ที่เป็นวัตถุในการก่อกำเนิดดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ซึ่ง ฟลาวีน คีเฟอร์ (Flavien Kiefer) หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์ปารีส (Paris Institute of Astrophysics) เผยว่าดาวฤกษ์ดวงนี้เป็นโอกาสให้เราได้ศึกษากลไกกำเนิดระบบสุริยะบางประการ และรายละเอียดจากการศึกษาดาวหางนอกระบบ จะให้หลักฐานที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบดาวเคราะห์อายุน้อยนี้







*******************************

กำลังโหลดความคิดเห็น