xs
xsm
sm
md
lg

สกว.ชูการจัดการน้ำระดับจังหวัด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เวทีสาธารณะ สกว.ชูการจัดการทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด การสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ “ศูนย์วิจัยระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความมั่นคงระดับจังหวัด” จัดการประชุมเวทีสาธารณนะนโยบายน้ำ สกว.ครั้งที่ 5 เรื่อง “การจัดการทรัพยากรที่มีผลกระทรบกับทรัพยากรน้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำระดับพื้นที่เพื่อการเชื่อมโยงกับระดับจังหวัด” เมื่อวันที่ 25 มี.ค.57 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

โครงการดังกล่าวมี รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ และในการประชุมมีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยพะเยา และศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สมุทรสงคราม เข้าร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน

เครือจ่ายดังกล่าวยังมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการน้ำของชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และลุ่มน้ำให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงใหม่ในอนาคต และในการประชุมดังกล่าวมี ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.เป็นประธานในพิธีเปิด มีภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมจากส่วนราชการทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน สถาบันการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ และเสนอมุมมองที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

“สกว.ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ ภายใต้เงื่อนไขความเสี่ยงใหม่และวิกฤตความขัดแย้งเรื่องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลความจำเป็นที่ประเทศไทยจะเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ อันได้แก่ ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีจำกัด ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นเมืองมากขึ้น การเกิดวิกฤตพืชอาหารและพืชพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ผอ.สกว.ระบุ

สำหรับหลักการทำวิจัย ศ.นพ.สุทธิพันธ์กล่าวว่ามีจุดเน้น คือ การสร้างพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจและจัดการน้ำจากพื้นที่สู่นโยบาย ยกระดับความสามารถของคน และสร้างทางเลือกเพื่อการจัดการบนเงื่อนไขใหม่และเงื่อนไขจริงเฉพาะพื้นที่ ตั้งแต่ชุมชน จังหวัด และลุ่มน้ำ โดยเน้นการมีส่วนร่วมในทุกระดับ

​“เวทีครั้งนี้จัดขึ้นในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการน้ำของชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดและลุ่มน้ำ อีกทั้งเป็น “พื้นที่” ให้หน่วยงานรัฐได้หาทางเลือกและตัดสินใจร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการตัดสินใจการใช้ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีนี้เป็นเวทีสาธารณะเพื่อการเชื่อมโยงกับระดับจังหวัด ซึ่งเป็นการนำเสนอผลกระทบของนโยบายด้านทรัพยากรและการเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีต่อทรัพยากรน้ำ อาทิ นโยบายโซนนิ่งภาคเกษตร การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เป็นต้น”

พร้อมกันนี้ ยังมีกรณีตัวอย่างที่ดำเนินการจริงในประเทศ และประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น โดย ศ.ดร.นาสึ เซโกะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโคชิ และ ดร.โคเทระ อากิฮิโกะ จากมหาวิทยาลัยโกเบ รวมถึงแนวทางการจัดการน้ำเพื่อความมั่นคงในระดับจังหวัด ที่ให้ความสำคัญกับการเชื่มโยงข้อต่อจากระดับนโยบายสู่ปฏิบัติในลักษณะโครงข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำ

​ขณะที่ ดร.ศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการวิจัยยุทธศาสตร์ เรื่อง “การจัดการทรัพยากรน้ำ” สกว.ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความมั่นคงอาหาร ความมั่นคงน้ำ: การจัดการที่ดิน การจัดการพืช และการจัดการน้ำที่เหมาะสม” โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่าทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อความมั่นคงของอาหาร ประกอบด้วย ที่ดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ และมนุษย์ โดยจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นองค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน มีการกำหนดกฎระเบียบเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้และเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้น เพื่อก่อให้เกิดผลิตผลสำหรับบริโภคหรือจำหน่ายเป็นรายได้ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

“ทรัพยากรดังกล่าวที่เกี่ยวข้องจึงล้วนแต่มีความจำเป็นต่อความมั่นคงอาหาร
​ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่มีมวลหมุนเวียนตามวัฏจักรในปริมาณที่จำกัด จึงมีลักษณะที่ต้องขึ้นกับภูมิประเทศและเวลา” ดร.ศิริพงศ์ระบุ

สำหรับประเด็นท้าทายที่ ดร.ศิริพงศ์ ระบุว่าจะต้องลดความเสี่ยงต่อการขาดอาหารและน้ำประกอบด้วย

1.การเพิ่มผลผลิตของพืชอาหารหลักต่อหน่วยของพื้นที่ หากประเทศจะมีความมั่นคงด้านอาหารจำเป็นต้องเพิ่มอัตราการผลิตอาหารให้สูงกว่าอัตราการเพิ่มของประชากร

2.ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนเมืองและชนบท คนชนบทเป็นผู้ผลิตส่วนคนเมืองเป็นผู้บริโภค แต่ความมั่นคงของอาหารกลับเป็นคนเมืองที่มีน้ำและอาหารอย่างมั่งคงด้วยการมีรายได้สูงกว่า และซื้อหาได้ทั้งน้ำ อาหาร ที่ดิน ทำให้จำนวนแรงงานภาคเกษตรน้อยลง

3.การเปลี่ยนแปลงของภูมิอาหารจากพายุ วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า การหนุนของน้ำทะเล ทำให้ผลผลิตต่ำลง

4.การทำการเกษตรที่ผิดวิธี ทำให้ดินเสื่อมโทรม

5.การใช้น้ำเพื่อการขยายตัวเมือง อุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานมากขึ้น ทำให้มีน้ำเพื่อการผลิตอาหารลดลง

6.การใช้น้ำบาดาลเกินศักยภาพทำให้ระดับลดลง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำสูงขึ้น

7.สภาพพื้นที่บนพื้นที่สูงที่มีความลาดชันสูงและเข้าถึงได้ยาก เสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหารและน้ำ

​ด้าน นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงโซนนิงเกษตร: ทางออกสินค้าเกษตรไทย ว่าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน จัดสมุดลระหว่างการผลิตและการตลาด กระทรวงจึงได้กำหนดหลักฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์อุทานของแต่ละจังหวัด และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลุ่มสินค้าเกษตร 11 คณะ โดยมีกรมพัฒนาพื้นที่เป็นผู้ชี้เป้าว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสม

“แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามคาดหมายเนื่องจากงบประมาณ 2,000 ล้านบาทยังไม่ไดรับการอนุมัติ อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทรวงได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ การประกาศเขตพื้นที่ที่เหมาะสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ 20 ชนิด การสำรวจความต้องการจากพื้นที่ การปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่นำร่อง ปรับเปลี่ยนปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นปลูกอ้อยโรงงาน และการบริหารจัดการสินค้าข้าวของจังหวัดอย่างยั่งยืน” นายเลอศักดิ์กล่าว







กำลังโหลดความคิดเห็น