ทีมนักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ได้แก่ นายณรงค์ฤทธิ์ ฮดฤาชา นางสาวนันทวัน สิงหาคุณ และนางสาวออนกิริยา อุทะเสน ได้จัดทำ โครงงาน “เครื่องดักไขมัน” ช่วยแก้ปัญหา เรื่องกลิ่นเหม็นของนำเสีย ซึ่งมาจากการปล่อยน้ำทิ้งจาก โรง ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ โดยมีครูนิจวรรณ พิมคีรี และครูราตรี จันทะมลเป็นที่ปรึกษา
ก่อนการทำโครงงาน ได้มีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องของกระบวนการกรองน้ำเสีย ปริมาณน้ำเสีย ได้มีการตรวจวัดปริมาณไขมันที่ได้จากน้ำเสีย ดูสถานที่ในการติดตั้งเครื่องและกำหนดขอบเขตเวลาในการทำงาน พร้อมทั้งวางแผนออกแบบเครื่องดักไขมัน
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากออกแบบเครื่องกรองน้ำเสีย นั้น ได้มีการหาที่วางสถานที่เครื่องดักไขมัน สร้างเครื่องดักไขมัน ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ความรู้ที่ใช้ อาทิ การวิเคราะห์น้ำมันและไขมัน สมบัติของของเหลว หลักการของแบร์นูลลี หลักการจัดการน้ำเสีย คุณสมบัติหลักทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำ
ผลจากการทดลองใช้เครื่องดักไขมันที่ประดิษฐ์ขึ้นเองนี้ พบว่า ค่าความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของน้ำเสียจากโรงอาหารที่เก็บตัวอย่างในเดือนมิถุนายน 2556 จาก 6.67 เพิ่มเป็น 7.20 ทำให้ค่า pH ของน้ำดีขึ้น และปริมาณไขมันเฉลี่ยลดลง โดยดักไขมันได้ร้อยละ 72.45
ปัญหาที่พบระหว่างการทดลอง เช่น น้ำทิ้งมีปริมาณมากเกินไป ถ้าทิ้งน้ำเสียไว้ที่เครื่องกรองน้ำนานจะมีกลิ่นเหม็นมาก การกรองตรงด้วยถ่านและหินจะมีประสิทธิภาพน้อย อย่างไรก็ตามทีมงานสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จและใช้งานได้จริงในที่สุด ซึ่งปัจจุบัน เครื่องดักไขมันนี้ได้รับการติดตั้งให้ใช้อย่างถาวร ที่บริเวณโรงอาหารของโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยานั่นเอง
นายณรงค์ฤทธิ์ ฮดฤาชา กล่าวว่า บ้านเรามีการเรียนการสอนที่ดีแล้ว แต่ขาดการนำไปใช้ในชีวิตจริงประจำวัน เราต้องมีการเรียนรู้เพื่อให้รู้จักแก่นแท้ของวิชานั้น แล้วพยายามทำความเข้าใจให้ตรงจุด ปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ยั่งยืนกว่าการเรียนเพื่อจำ โดยไม่รู้ว่าจะนำไปทำอะไร
“ เคล็ดลับการเรียนของผมก็คือต้องรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ รู้ว่าเรียนวิชานี้เพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร การทำโครงงานนี้ทำให้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง จากการแข่งขันฟิสิกส์สัปประยุทธ์ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตผม ทำให้ผมกล้าและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อนาคตผมอยากเป็นนักวิจัยที่ได้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ”
นางสาวนันทวัน สิงหาคุณ เล่าว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นการเรียนที่สนุก มีความสุขกับการค้นหา วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ และหาคำตอบกับสิ่งนั้น ประสบการณ์ในการทำโครงงานนี้คือ ได้เข้าใจหลักการทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น ได้นำสิ่งที่บกพร่องมาแก้ไขงานให้ดีขึ้น และยังทำผลงานมาใช้ได้จริง
นางสาวออนกิริยา อุทะเสน แนะนำว่า สำหรับน้อง ๆ หรือ เพื่อน ๆ ที่สนใจทำโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างแรกต้องรู้จักการวางแผนที่ดี เมื่อวางแผนแล้วก็ต้องปฏิบัติตามแผนที่น้อง ๆ วางไว้ให้ได้ตามเป้าหมาย ความสามัคคีในหมู่คณะ จะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้โครงงานสำเร็จได้
ครูนิจวรรณ พิมคีรี ครูโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานนี้ เล่าว่า นักเรียนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท. ร่วมกับ สพฐ. ในส่วนของเทคนิคการสอนที่ใช้เสมอกับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ และชั้นเรียนปกติ ก็คือ เน้นการสอนให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ไม่ท่องจำอย่างเดียว ให้เพื่อนได้ช่วยเพื่อน เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยไม่ต้องรอคุณครูเป็นผู้สอนแต่ทางเดียว
“รู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้สอนนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ได้ใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน นักเรียนน่ารัก ตั้งใจและขยันศึกษาหาความรู้ ขอบคุณโครงการ สควค. ที่ปลูกฝังความเป็นครูที่ดี ให้ทุนการศึกษาเพื่อนำความรู้วิชาการต่าง ๆ มาพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม”
ก่อนการทำโครงงาน ได้มีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องของกระบวนการกรองน้ำเสีย ปริมาณน้ำเสีย ได้มีการตรวจวัดปริมาณไขมันที่ได้จากน้ำเสีย ดูสถานที่ในการติดตั้งเครื่องและกำหนดขอบเขตเวลาในการทำงาน พร้อมทั้งวางแผนออกแบบเครื่องดักไขมัน
ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากออกแบบเครื่องกรองน้ำเสีย นั้น ได้มีการหาที่วางสถานที่เครื่องดักไขมัน สร้างเครื่องดักไขมัน ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ความรู้ที่ใช้ อาทิ การวิเคราะห์น้ำมันและไขมัน สมบัติของของเหลว หลักการของแบร์นูลลี หลักการจัดการน้ำเสีย คุณสมบัติหลักทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ำ
ผลจากการทดลองใช้เครื่องดักไขมันที่ประดิษฐ์ขึ้นเองนี้ พบว่า ค่าความเป็นกรด - เบส หรือค่า pH ของน้ำเสียจากโรงอาหารที่เก็บตัวอย่างในเดือนมิถุนายน 2556 จาก 6.67 เพิ่มเป็น 7.20 ทำให้ค่า pH ของน้ำดีขึ้น และปริมาณไขมันเฉลี่ยลดลง โดยดักไขมันได้ร้อยละ 72.45
ปัญหาที่พบระหว่างการทดลอง เช่น น้ำทิ้งมีปริมาณมากเกินไป ถ้าทิ้งน้ำเสียไว้ที่เครื่องกรองน้ำนานจะมีกลิ่นเหม็นมาก การกรองตรงด้วยถ่านและหินจะมีประสิทธิภาพน้อย อย่างไรก็ตามทีมงานสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จและใช้งานได้จริงในที่สุด ซึ่งปัจจุบัน เครื่องดักไขมันนี้ได้รับการติดตั้งให้ใช้อย่างถาวร ที่บริเวณโรงอาหารของโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยานั่นเอง
นายณรงค์ฤทธิ์ ฮดฤาชา กล่าวว่า บ้านเรามีการเรียนการสอนที่ดีแล้ว แต่ขาดการนำไปใช้ในชีวิตจริงประจำวัน เราต้องมีการเรียนรู้เพื่อให้รู้จักแก่นแท้ของวิชานั้น แล้วพยายามทำความเข้าใจให้ตรงจุด ปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ยั่งยืนกว่าการเรียนเพื่อจำ โดยไม่รู้ว่าจะนำไปทำอะไร
“ เคล็ดลับการเรียนของผมก็คือต้องรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ รู้ว่าเรียนวิชานี้เพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร การทำโครงงานนี้ทำให้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง จากการแข่งขันฟิสิกส์สัปประยุทธ์ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตผม ทำให้ผมกล้าและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อนาคตผมอยากเป็นนักวิจัยที่ได้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ”
นางสาวนันทวัน สิงหาคุณ เล่าว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นการเรียนที่สนุก มีความสุขกับการค้นหา วิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ และหาคำตอบกับสิ่งนั้น ประสบการณ์ในการทำโครงงานนี้คือ ได้เข้าใจหลักการทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น ได้นำสิ่งที่บกพร่องมาแก้ไขงานให้ดีขึ้น และยังทำผลงานมาใช้ได้จริง
นางสาวออนกิริยา อุทะเสน แนะนำว่า สำหรับน้อง ๆ หรือ เพื่อน ๆ ที่สนใจทำโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างแรกต้องรู้จักการวางแผนที่ดี เมื่อวางแผนแล้วก็ต้องปฏิบัติตามแผนที่น้อง ๆ วางไว้ให้ได้ตามเป้าหมาย ความสามัคคีในหมู่คณะ จะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้โครงงานสำเร็จได้
ครูนิจวรรณ พิมคีรี ครูโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานนี้ เล่าว่า นักเรียนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ตามแนวทางของ สสวท. ร่วมกับ สพฐ. ในส่วนของเทคนิคการสอนที่ใช้เสมอกับนักเรียนห้องเรียนพิเศษ และชั้นเรียนปกติ ก็คือ เน้นการสอนให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ไม่ท่องจำอย่างเดียว ให้เพื่อนได้ช่วยเพื่อน เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยไม่ต้องรอคุณครูเป็นผู้สอนแต่ทางเดียว
“รู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้สอนนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ได้ใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน นักเรียนน่ารัก ตั้งใจและขยันศึกษาหาความรู้ ขอบคุณโครงการ สควค. ที่ปลูกฝังความเป็นครูที่ดี ให้ทุนการศึกษาเพื่อนำความรู้วิชาการต่าง ๆ มาพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม”