WWF – เนื่องในวันช้างโลก ครงกับ 12 ส.ค WWF และ TRAFFIC ขอเรียกร้องต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ให้นำร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยงาช้าง รวมเข้าในการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นที่ให้ไว้ว่าจะยุติการค้างาช้างในประเทศ
ในการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัญหารการลักลอบล่าและค้างาช้างที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยิ่ง ที่ประชุมคณะกรรมาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
หรือ CITES ครั้งที่ 64 ที่มีขึ้นเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้สั่งการให้ไทย และอีก 7 ประเทศ ดำเนินการตามกรอบระยะเวลาในแผนปฏิบัติการเพื่อลดการลักลอบค้างาช้างให้บรรลุผล และรายงาความคืบหน้ากลับยังคณะกรรมาธิการ หรืออาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางการค้า
มีการคาดการณ์ว่าแผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างของไทย ซึ่งยังไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ จะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม คณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบภายในปีนี้ ซึ่งแผนดังกล่าวจะต้องมีมาตรการเฉพาะบางอย่าง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้างในประเทศการบังคับใช้กฏหมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การขยายผลและการตระหนักรู้ของสาธารณะ
“นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ได้ให้คำมั่นระหว่างพิธีเปิดการประชุม CITES ว่าจะยุติการค้างาช้างในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการคว้าโอกาสสำคัญในการต่อสู้กับการลักลอบค้าสัตว์ป่า และแก้ไขวิกฤตการณ์ในการลักลอบล่าช้าง แผนปฏิบัติการว่าด้วยการค้างาช้าง เป็นสิ่งจำเป็นและจะช่วยรักษาคำพูดของนายกรัฐมนตรีว่าเป็นจริง นอกจากนี้การเริ่มกระบวนการปฏิรูปกฏหมาย ภายใต้กรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการห้ามซื้อหรือขายงาช้าง ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเพื่อยุติการค้างาช้างในประเทศไทย” จันทร์ปาย องค์ศิริวิทยา ผู้จัดการโครงการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า WWF-ประเทศไทย กล่าว
แม้กฏหมายจะห้ามนำงาช้างจากแอฟริกาเข้าในประเทศไทย และห้ามขายงาช้างป่าในประเทศไทย แต่ยังมีการอนุญาตให้ขายงาช้างบ้านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งได้กลายเป็นช่องทางฟอกงาช้างแอฟริกาจำนวนมหาศาลผ่านร้านค้าในประเทศไทย ดังนั้น จึงจำเป็น ที่ไทยจะต้องแก้ไขปัญหานี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือช้างแอฟริกา
“การยุติการค้างาช้างในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุมตลาดใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งวิกฤตการลักลอบล่าสัตว์ระดับโลก ซึ่งนำไปสู่การสังหารช้างหลายหมื่นตัวในแต่ละปี การยุติการค้างาช้างในไทยยังจะเป็นส่วนช่วยยุติการลักลอบค้าอวัยวะสัตว์ป่าที่นับเป็นอาชญากรรมระดับโลก” ดร. นาโอมิ โด้ค ผู้ประสารงานโครงการ TRAFFIC ภูมิภาคลุ่ม น้ำโขง กล่าว
เพื่อให้แผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างระดับชาติของประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการของ CITES และเป็นไปตาม คำมั่นของนายกรัฐมนตรี ทาง WWF และ TRAFFIC เชื่อว่า จะต้องมีการออกกฎหมายที่มีความเข้มงวดเพียงพอที่จะป้องกันการลักลอบค้างาช้างที่ได้มาอย่างผิกฎหมาย ภายในประเทศไทย มีการทดสอบทางนิติวิทยาศาสตร์งาช้างล็อตใหญ่ ที่ตรวจยึดได้รวมทั้งการจัดทำระบบลงทะเบียนช้างบ้านอย่างครอบคลุม
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเยือนอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งที่อยู่แห่งสำคัญของช้างป่า 230 ตัว รวมทั้งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เสือ กระทิง วัวแดงและสมเสร็จมลายัน และเมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีก็เพิ่งเดินทางกลับจากการเยือนประเทศแทนซาเนีย โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอุทยานแห่งชาติและการบริหารจัดการสัตว์ป่า รวมทั้งได้เดินทางเยือนอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ ซึ่งเป็นสถานที่ที่กลุ่มลักลอบล่าสัตว์สังหารช้างเพื่อเอางา และยังเป็นไปได้ว่างาส่วนใหญ่ มีจุดหมายปลายทางที่ประเทศไทย
“ตอนนี้อาจเหลือช้างป่าในประเทศไทยเพียงแค่ 2,500 ตัว ซึ่งพอๆกับจำนวนช้างป่าในแอฟริการที่ถูกล่าในแต่ละเดือนเมื่อปี 2555 ต้องขอขอบคุณผู้พิทักษ์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ลาดตระเวนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำให้ไม่มีช้างตกเป็นเเหยื่อลักลอบฆ่าสัตว์นับตั้งแต่ปี 2553 แต่ความต้องการงาช้างอย่างมหาศาล ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า วันพรุ่งนี้อาจเป็นชะตากรรมของช้างไทยที่ถูกไล่ล่าสังหาร เหมือนกับที่ช้างป่าแอฟริกาต้องเผชิญอยู่ทุกวันนี้” จันทร์ปาย กล่าวเสริม
นอกจากประเทศไทยแล้ว จีนไม่นับรวมฮ่องกง, เคนย่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อูกันดา, แทนซาเนีย และเวียดนาม ต่างต้องยื่นแผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างแห่งชาติ ภายในวันที่ 15 พ.ค.56 ตามที่คณะกรรมการถาวรของ CITES ขีดเส้นไว้ระหว่างการประชุมที่กรุงเทพมหานคร ทั้ง 8 ประเทศนี้ ยังต้องวางมาตรการเร่งด่วนผลักดันการบังคับใช้แผนปฏิบัติการดังกล่าว ภายในเดือน ก.ค.57 ตามกำหนดที่คณะกรรมการถาวรของ CITES จะประชุมเพื่อทบทวนผลการปฏิบัติตามแผนนี้
องค์กรอนุรักษ์ทวงคำมั่น "ยิ่งลักษณ์" บอกจะยุติค้างาช้าง
WWF – เนื่องในวันช้างโลก ครงกับ 12 ส.ค WWF และ TRAFFIC ขอเรียกร้องต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ให้นำร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยงาช้าง รวมเข้าในการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นที่ให้ไว้ว่าจะยุติการค้างาช้างในประเทศ
ในการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัญหารการลักลอบล่าและค้างาช้างที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยิ่ง ที่ประชุมคณะกรรมาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
หรือ CITES ครั้งที่ 64 ที่มีขึ้นเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้สั่งการให้ไทย และอีก 7 ประเทศ ดำเนินการตามกรอบระยะเวลาในแผนปฏิบัติการเพื่อลดการลักลอบค้างาช้างให้บรรลุผล และรายงาความคืบหน้ากลับยังคณะกรรมาธิการ หรืออาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางการค้า
มีการคาดการณ์ว่าแผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างของไทย ซึ่งยังไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ จะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุม คณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบภายในปีนี้ ซึ่งแผนดังกล่าวจะต้องมีมาตรการเฉพาะบางอย่าง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการค้างาช้างในประเทศการบังคับใช้กฏหมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การขยายผลและการตระหนักรู้ของสาธารณะ
“นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ได้ให้คำมั่นระหว่างพิธีเปิดการประชุม CITES ว่าจะยุติการค้างาช้างในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการคว้าโอกาสสำคัญในการต่อสู้กับการลักลอบค้าสัตว์ป่า และแก้ไขวิกฤตการณ์ในการลักลอบล่าช้าง แผนปฏิบัติการว่าด้วยการค้างาช้าง เป็นสิ่งจำเป็นและจะช่วยรักษาคำพูดของนายกรัฐมนตรีว่าเป็นจริง นอกจากนี้การเริ่มกระบวนการปฏิรูปกฏหมาย ภายใต้กรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการห้ามซื้อหรือขายงาช้าง ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเพื่อยุติการค้างาช้างในประเทศไทย” จันทร์ปาย องค์ศิริวิทยา ผู้จัดการโครงการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า WWF-ประเทศไทย กล่าว
แม้กฏหมายจะห้ามนำงาช้างจากแอฟริกาเข้าในประเทศไทย และห้ามขายงาช้างป่าในประเทศไทย แต่ยังมีการอนุญาตให้ขายงาช้างบ้านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งได้กลายเป็นช่องทางฟอกงาช้างแอฟริกาจำนวนมหาศาลผ่านร้านค้าในประเทศไทย ดังนั้น จึงจำเป็น ที่ไทยจะต้องแก้ไขปัญหานี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือช้างแอฟริกา
“การยุติการค้างาช้างในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดค้างาช้างที่ไม่มีการควบคุมตลาดใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งวิกฤตการลักลอบล่าสัตว์ระดับโลก ซึ่งนำไปสู่การสังหารช้างหลายหมื่นตัวในแต่ละปี การยุติการค้างาช้างในไทยยังจะเป็นส่วนช่วยยุติการลักลอบค้าอวัยวะสัตว์ป่าที่นับเป็นอาชญากรรมระดับโลก” ดร. นาโอมิ โด้ค ผู้ประสารงานโครงการ TRAFFIC ภูมิภาคลุ่ม น้ำโขง กล่าว
เพื่อให้แผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างระดับชาติของประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการของ CITES และเป็นไปตาม คำมั่นของนายกรัฐมนตรี ทาง WWF และ TRAFFIC เชื่อว่า จะต้องมีการออกกฎหมายที่มีความเข้มงวดเพียงพอที่จะป้องกันการลักลอบค้างาช้างที่ได้มาอย่างผิกฎหมาย ภายในประเทศไทย มีการทดสอบทางนิติวิทยาศาสตร์งาช้างล็อตใหญ่ ที่ตรวจยึดได้รวมทั้งการจัดทำระบบลงทะเบียนช้างบ้านอย่างครอบคลุม
เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเยือนอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งที่อยู่แห่งสำคัญของช้างป่า 230 ตัว รวมทั้งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เสือ กระทิง วัวแดงและสมเสร็จมลายัน และเมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีก็เพิ่งเดินทางกลับจากการเยือนประเทศแทนซาเนีย โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอุทยานแห่งชาติและการบริหารจัดการสัตว์ป่า รวมทั้งได้เดินทางเยือนอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ ซึ่งเป็นสถานที่ที่กลุ่มลักลอบล่าสัตว์สังหารช้างเพื่อเอางา และยังเป็นไปได้ว่างาส่วนใหญ่ มีจุดหมายปลายทางที่ประเทศไทย
“ตอนนี้อาจเหลือช้างป่าในประเทศไทยเพียงแค่ 2,500 ตัว ซึ่งพอๆกับจำนวนช้างป่าในแอฟริการที่ถูกล่าในแต่ละเดือนเมื่อปี 2555 ต้องขอขอบคุณผู้พิทักษ์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ลาดตระเวนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำให้ไม่มีช้างตกเป็นเเหยื่อลักลอบฆ่าสัตว์นับตั้งแต่ปี 2553 แต่ความต้องการงาช้างอย่างมหาศาล ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า วันพรุ่งนี้อาจเป็นชะตากรรมของช้างไทยที่ถูกไล่ล่าสังหาร เหมือนกับที่ช้างป่าแอฟริกาต้องเผชิญอยู่ทุกวันนี้” จันทร์ปาย กล่าวเสริม
นอกจากประเทศไทยแล้ว จีนไม่นับรวมฮ่องกง, เคนย่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อูกันดา, แทนซาเนีย และเวียดนาม ต่างต้องยื่นแผนปฏิบัติการว่าด้วยงาช้างแห่งชาติ ภายในวันที่ 15 พ.ค.56 ตามที่คณะกรรมการถาวรของ CITES ขีดเส้นไว้ระหว่างการประชุมที่กรุงเทพมหานคร ทั้ง 8 ประเทศนี้ ยังต้องวางมาตรการเร่งด่วนผลักดันการบังคับใช้แผนปฏิบัติการดังกล่าว ภายในเดือน ก.ค.57 ตามกำหนดที่คณะกรรมการถาวรของ CITES จะประชุมเพื่อทบทวนผลการปฏิบัติตามแผนนี้