นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พบหารือกับนายโยเวรี คากูทา มูเซเวนี ประธานาธิบดียูกันดา ในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศในภูมิภาคแอฟริกาอย่างเป็นทางการ 3 ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐโมซัมบิก สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย และสาธารณรัฐยูกันดา ที่ถือเป็นประเทศหลังสุดในภารกิจ
จากการหารือ 2 ประเทศยินดีที่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน ที่ถือเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย หลังที่ประธานาธิบดียูกันดาเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรประเทศที่สำคัญ ซึ่งไทยได้มีข้อริเริ่ม Thai-African Initiative เพื่อเป็นเวทีการหารือความร่วมมืออย่างกว้างขวาง เพิ่มเติมจากกรอบความร่วมมือเดิมที่หลายประเทศมีอยู่ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเอเชียและแอฟริกา
นอกจากนี้ จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนทั้งความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งถึงการพิจารณารายการสินค้านำเข้าจากลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries-LDCs) ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษในการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา ตามโครงการ Duty free, Quota free market access ขององค์การการค้าโลก โดยยูกันดาจะได้ประโยชน์ในโครงการดังกล่าวเมื่อไทยประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมองค์การการค้าโลกที่บาหลี อินโดนีเซียปลายปีนี้
ส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา จะมีการสนับสนุนความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ เช่น เรื่องทุนการศึกษา และการฝึกอบรม โดยยูกันดาประสงค์ให้ภาคเอกชนไทยเข้ามาลงทุน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือโครงการของภริยาประธานาธิบดียูกันดาในการฟื้นฟูโรงเรียน Itojo Central Primary School
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ประเทศจะยังมุ่งส่งเสริมพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ระหว่างกัน และยินดีให้ยูกันดาใช้ไทยเป็นแบบอย่างของการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมที่จะตั้งเมืองคู่แฝด ระหว่างเชียงใหม่และเมือง Jinja ของยูกันดา
ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานธิบดียูกันดา ร่วมเป็นประธานในการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องได้แก่ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐยูกันดา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร การค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร และบันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งยูกันดา
ขณะที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงภาพรวมการเดินทางเยือนทั้ง 3 ประเทศ ว่า มีความประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากผู้นำทั้ง 3 ประเทศ ที่ในภาพรวมจะมีความร่วมมือกันทั้งทางด้านวิชาการ และการกระชับความสัมพันธ์ ด้านการค้าการลงทุน และความร่วมมืออื่นๆ ซึ่งทางผู้นำทั้ง 3 ประเทศ ตอบรับที่จะเข้าสร่วมการประชุม High-Level Dialogue ระหว่างผู้นำไทยและแอฟริกาในปี 2557
นอกจากนี้ การนำภาคเอกชนไทยร่วมคณะมาด้วยก็ทำให้เกิดการเพิ่มช่องทางการค้าการลงทุนและต่อยอดทางธุรกิจทั้งในเรื่องของการแปรรูปสินค้าเกษตร พลังงานและพลังงานทดแทน และที่สำคัญคือโมซัมบิก และแทนซาเนีย เป็นประเทศที่มีทรัพยากรแร่ธาตุ เช่น อัญมณี และยังต้องการความร่วมมือจากภาคเอกชนไทยในเรื่องของการเจียระไนอัญมณี ซึ่งทางรัฐบาลพร้อมที่จะประสานความร่วมมือในการสนับสนุน รวมถึงการจัดอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือในสาขาที่ 3 ประเทศขาดแคลนและมีความต้องการเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของกฎระเบียบและอุปสรรคต่างๆ ให้กับภาคเอกชน รวมถึงการพิจารณาสิทธิพิเศษทางภาษีที่ไทยรับเรื่องนี้ไปพิจารณาหารือ
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งหลังจากเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติของแทนซาเนีย ก็ได้ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้องเพื่อพิจารณาในภาพรวมการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการป้องกันลักลอบการค้าสัตว์ป่า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้ทุกฝ่ายเกิดการตื่นตัวในเรื่องนี้
หลังเสร็จภารกิจการเยือน 3 ประเทศแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเดินทางออกจากสาธารณรัฐยูกันดาโดยเที่ยวบินพิเศษที่ TG 8888 เดินทางกลับถึงประเทศไทยที่ท่าอากาสยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ในเวลาประมาณ 10.30น.ตามเวลาในประเทศไทย
จากการหารือ 2 ประเทศยินดีที่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน ที่ถือเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย หลังที่ประธานาธิบดียูกันดาเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรประเทศที่สำคัญ ซึ่งไทยได้มีข้อริเริ่ม Thai-African Initiative เพื่อเป็นเวทีการหารือความร่วมมืออย่างกว้างขวาง เพิ่มเติมจากกรอบความร่วมมือเดิมที่หลายประเทศมีอยู่ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเอเชียและแอฟริกา
นอกจากนี้ จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนทั้งความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งถึงการพิจารณารายการสินค้านำเข้าจากลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries-LDCs) ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษในการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา ตามโครงการ Duty free, Quota free market access ขององค์การการค้าโลก โดยยูกันดาจะได้ประโยชน์ในโครงการดังกล่าวเมื่อไทยประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมองค์การการค้าโลกที่บาหลี อินโดนีเซียปลายปีนี้
ส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา จะมีการสนับสนุนความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการ เช่น เรื่องทุนการศึกษา และการฝึกอบรม โดยยูกันดาประสงค์ให้ภาคเอกชนไทยเข้ามาลงทุน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือโครงการของภริยาประธานาธิบดียูกันดาในการฟื้นฟูโรงเรียน Itojo Central Primary School
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ประเทศจะยังมุ่งส่งเสริมพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ระหว่างกัน และยินดีให้ยูกันดาใช้ไทยเป็นแบบอย่างของการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมที่จะตั้งเมืองคู่แฝด ระหว่างเชียงใหม่และเมือง Jinja ของยูกันดา
ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานธิบดียูกันดา ร่วมเป็นประธานในการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ว่าด้วยเรื่องได้แก่ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐยูกันดา บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร การค้าและการลงทุนในผลิตภัณฑ์และโภคภัณฑ์การเกษตร และบันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งยูกันดา
ขณะที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงภาพรวมการเดินทางเยือนทั้ง 3 ประเทศ ว่า มีความประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากผู้นำทั้ง 3 ประเทศ ที่ในภาพรวมจะมีความร่วมมือกันทั้งทางด้านวิชาการ และการกระชับความสัมพันธ์ ด้านการค้าการลงทุน และความร่วมมืออื่นๆ ซึ่งทางผู้นำทั้ง 3 ประเทศ ตอบรับที่จะเข้าสร่วมการประชุม High-Level Dialogue ระหว่างผู้นำไทยและแอฟริกาในปี 2557
นอกจากนี้ การนำภาคเอกชนไทยร่วมคณะมาด้วยก็ทำให้เกิดการเพิ่มช่องทางการค้าการลงทุนและต่อยอดทางธุรกิจทั้งในเรื่องของการแปรรูปสินค้าเกษตร พลังงานและพลังงานทดแทน และที่สำคัญคือโมซัมบิก และแทนซาเนีย เป็นประเทศที่มีทรัพยากรแร่ธาตุ เช่น อัญมณี และยังต้องการความร่วมมือจากภาคเอกชนไทยในเรื่องของการเจียระไนอัญมณี ซึ่งทางรัฐบาลพร้อมที่จะประสานความร่วมมือในการสนับสนุน รวมถึงการจัดอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือในสาขาที่ 3 ประเทศขาดแคลนและมีความต้องการเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของกฎระเบียบและอุปสรรคต่างๆ ให้กับภาคเอกชน รวมถึงการพิจารณาสิทธิพิเศษทางภาษีที่ไทยรับเรื่องนี้ไปพิจารณาหารือ
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ซึ่งหลังจากเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติของแทนซาเนีย ก็ได้ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้องเพื่อพิจารณาในภาพรวมการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการป้องกันลักลอบการค้าสัตว์ป่า ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้ทุกฝ่ายเกิดการตื่นตัวในเรื่องนี้
หลังเสร็จภารกิจการเยือน 3 ประเทศแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเดินทางออกจากสาธารณรัฐยูกันดาโดยเที่ยวบินพิเศษที่ TG 8888 เดินทางกลับถึงประเทศไทยที่ท่าอากาสยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ในเวลาประมาณ 10.30น.ตามเวลาในประเทศไทย