ก่อนอื่นผมขอย้อนกลับไปคอลัมน์การถ่ายภาพเส้นแสงดาว (Star Trails) ตอนที่ 1 ผมได้พูดถึงเทคนิคและวิธีการถ่ายภาพเส้นแสงดาวโดยใช้วิธีการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องแล้วนำภาพมาต่อกันด้วยโปรแกรม แต่ก่อนอื่นที่ผมจะพูดถึงวิธีการใช้โปรแกรมผมก็อยากจะแนะนำเคล็ดลับในการถ่ายภาพเส้นแสงดาวที่สะท้อนผิวน้ำให้สวยงามนิดหนึ่งครับ
จากภาพตัวอย่างเราจะสังเกตเห็นเส้นแสงดาวสะท้อนที่ผิวน้ำทำให้ภาพดูดีและสวยขึ้น แต่เราจะถ่ายภาพอย่างไรให้มีแสงดาวสะท้อนที่ผิวน้ำนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของน้ำแล้วหล่ะครับ ถ้าหากเราถ่ายภาพตามสถานที่ที่มีแหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ หรือเขื่อนต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างสูงหรือมีความลึกพอสมควร โอกาสที่จะได้เส้นแสงดาวสะท้อนน้ำผิวน้ำนั้นคงยากครับ เพราะสถานที่ ที่มีระดับน้ำสูงๆ หรือลึกๆจะที่มีมวลน้ำมาก น้ำจะไม่นิ่งครับ หรือหากเป็นแม่น้ำน้ำก็จะไหลตลอดเวลา ภาพเส้นแสงดาวที่สะท้อนผิวน้ำก็จะไม่ชัดหรืออาจไม่เห็นการสะท้อนเลยก็เป็นได้ แต่หากลองสังเกตจากภาพตัวอย่างที่ผมถ่ายมาสถานที่ ที่ผมเลือกคือทุ่งนาซึ่งจะมีน้ำขังอยู่ตื้นๆ น้ำค่อนข้างจะนิ่ง ทำให้น้ำที่ขังในทุ่งนาทำหน้าที่เสมือนกระจกสะท้อนภาพท้องฟ้าให้เราครับ โดยในเบื้องต้นในการเลือกสถานที่นั้นเราเพียงแค่ลองสังเกตเงาสะท้อนของแสงดาวที่ผิวน้ำว่าสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าว่าเห็นหรือไม่ครับ
แต่ในการถ่ายภาพเส้นแสงดาวอุปสรรคสำคัญของการถ่ายภาพเส้นแสงดาวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมฆครับ จากภาพตัวอย่างข้างล่างพบอุปสรรคหลายอย่าง แม้ว่าจะเตรียมอุปกรณ์ดีแค่ไหนแต่หากท้องฟ้าไม่เป็นใจเราก็อดได้ภาพสวยๆ แถมมี Noise เพิ่มเข้ามาในภาพอีกด้วย เนื่องจากในคืนที่มีเมฆมากแสงของดวงดาวก็จะน้อยตามไปด้วย ทำให้เราต้องเพิ่มค่าความไวแสง (ISO) ขึ้นอีกและทำให้เกิดสัญญาณรบกวน หรือ Noise เพิ่มขึ้นตามมา
ดังนั้นผมจะขอแนะนำวิธีการกำจัด Noise ซึ่งเป็นวิธีและหลักการที่นักดาราศาสตร์ใช้กันมานานแล้วครับ วิธีการก็คือ การถ่ายภาพ Dark มาลบ Noise ครับ เป็นการถ่ายภาพโดยการปิดหน้ากล้องเอาไว้ ซึ่งตั้งค่าและเวลาการถ่ายเหมือนกับการถ่ายภาพแสงดาวทุกประการ และ ณ อุณหภูมิเดียวกันด้วย ซึ่งผมมักจะถ่ายหลังจากที่ถ่ายภาพแสงดาวเสร็จแล้ว ผมก็จะเอาฝาปิดหน้ากล้องไว้แล้วถ่ายต่อเนื่องไปเรื่อยๆอีกซัก 1 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ไฟล์ Dark มากพอ (ซึ่ง Noise ที่มักเกิดในกล้องจะเป็นแบบ Random จึงต้องถ่ายไฟล์ Dark ไว้มากพอสมควร)
เพราะฉะนั้นหากคืนไหนที่เราสามารถถ่ายภาพมาได้อย่างสวยงามก็แสดงว่าวันนั้นเราดวงดีมากๆเลยทีเดียว เพราะนอกจากตัวเราจะพร้อม การวางแผนที่ดีแล้ว โชคและโอกาสก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการถ่ายภาพประเภทนี้ เพราะท้องฟ้าต้องดีตลอดทั้งคืนถึงจะได้ภาพสวยๆออกมาด้วยครับ
ตอนนี้หลังจากที่เราถ่ายภาพเก็บไฟล์มาหลายร้อยภาพแล้ว เรามาทำการ Process ภาพกันเลยครับ ผมจะขอแนะนำ 2 โปรแกรมซึ่งเป็นฟรีแวร์ครับสามารถดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลยครับ
สำหรับโปรแกรมแรกชื่อว่า Startrails ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.startrails.de/html/software.html หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ
สำหรับโปรแกรมที่สองชื่อว่า StarStax ใช้กับระบบปฏิบัติการ Mac ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.markus-enzweiler.de/software/software.html มาเริ่มกันอีกทีครับ
จากการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นทั้ง 2 โปรแกรมที่ผมแนะนำ นอกจากจะสามารถใช้ในการรวมภาพแล้ว โปรแกรม Startrails ยังสามารถใช้สร้างภาพวีดีโอเป็นภาพ Time lapse movie ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทดลองเล่นในอีกหลายฟังก์ชั่นได้ครับ สุดท้ายนี้ก็หวังว่าหลายท่านคงจะสนุกกับการถ่ายภาพเส้นแสงดาวและภาพที่หลายท่านถ่ายได้ ยังสามารถส่งภาพเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” ได้อีกด้วย ซึ่งจัดขึ้นทุกปี โดยสามารถติดตามข่าวสารและเข้าดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) www.narit.or.th
*********************
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. , เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร. ในหัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย"
"คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย"
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
จากภาพตัวอย่างเราจะสังเกตเห็นเส้นแสงดาวสะท้อนที่ผิวน้ำทำให้ภาพดูดีและสวยขึ้น แต่เราจะถ่ายภาพอย่างไรให้มีแสงดาวสะท้อนที่ผิวน้ำนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของน้ำแล้วหล่ะครับ ถ้าหากเราถ่ายภาพตามสถานที่ที่มีแหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ หรือเขื่อนต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างสูงหรือมีความลึกพอสมควร โอกาสที่จะได้เส้นแสงดาวสะท้อนน้ำผิวน้ำนั้นคงยากครับ เพราะสถานที่ ที่มีระดับน้ำสูงๆ หรือลึกๆจะที่มีมวลน้ำมาก น้ำจะไม่นิ่งครับ หรือหากเป็นแม่น้ำน้ำก็จะไหลตลอดเวลา ภาพเส้นแสงดาวที่สะท้อนผิวน้ำก็จะไม่ชัดหรืออาจไม่เห็นการสะท้อนเลยก็เป็นได้ แต่หากลองสังเกตจากภาพตัวอย่างที่ผมถ่ายมาสถานที่ ที่ผมเลือกคือทุ่งนาซึ่งจะมีน้ำขังอยู่ตื้นๆ น้ำค่อนข้างจะนิ่ง ทำให้น้ำที่ขังในทุ่งนาทำหน้าที่เสมือนกระจกสะท้อนภาพท้องฟ้าให้เราครับ โดยในเบื้องต้นในการเลือกสถานที่นั้นเราเพียงแค่ลองสังเกตเงาสะท้อนของแสงดาวที่ผิวน้ำว่าสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าว่าเห็นหรือไม่ครับ
แต่ในการถ่ายภาพเส้นแสงดาวอุปสรรคสำคัญของการถ่ายภาพเส้นแสงดาวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมฆครับ จากภาพตัวอย่างข้างล่างพบอุปสรรคหลายอย่าง แม้ว่าจะเตรียมอุปกรณ์ดีแค่ไหนแต่หากท้องฟ้าไม่เป็นใจเราก็อดได้ภาพสวยๆ แถมมี Noise เพิ่มเข้ามาในภาพอีกด้วย เนื่องจากในคืนที่มีเมฆมากแสงของดวงดาวก็จะน้อยตามไปด้วย ทำให้เราต้องเพิ่มค่าความไวแสง (ISO) ขึ้นอีกและทำให้เกิดสัญญาณรบกวน หรือ Noise เพิ่มขึ้นตามมา
ดังนั้นผมจะขอแนะนำวิธีการกำจัด Noise ซึ่งเป็นวิธีและหลักการที่นักดาราศาสตร์ใช้กันมานานแล้วครับ วิธีการก็คือ การถ่ายภาพ Dark มาลบ Noise ครับ เป็นการถ่ายภาพโดยการปิดหน้ากล้องเอาไว้ ซึ่งตั้งค่าและเวลาการถ่ายเหมือนกับการถ่ายภาพแสงดาวทุกประการ และ ณ อุณหภูมิเดียวกันด้วย ซึ่งผมมักจะถ่ายหลังจากที่ถ่ายภาพแสงดาวเสร็จแล้ว ผมก็จะเอาฝาปิดหน้ากล้องไว้แล้วถ่ายต่อเนื่องไปเรื่อยๆอีกซัก 1 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ไฟล์ Dark มากพอ (ซึ่ง Noise ที่มักเกิดในกล้องจะเป็นแบบ Random จึงต้องถ่ายไฟล์ Dark ไว้มากพอสมควร)
เพราะฉะนั้นหากคืนไหนที่เราสามารถถ่ายภาพมาได้อย่างสวยงามก็แสดงว่าวันนั้นเราดวงดีมากๆเลยทีเดียว เพราะนอกจากตัวเราจะพร้อม การวางแผนที่ดีแล้ว โชคและโอกาสก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการถ่ายภาพประเภทนี้ เพราะท้องฟ้าต้องดีตลอดทั้งคืนถึงจะได้ภาพสวยๆออกมาด้วยครับ
ตอนนี้หลังจากที่เราถ่ายภาพเก็บไฟล์มาหลายร้อยภาพแล้ว เรามาทำการ Process ภาพกันเลยครับ ผมจะขอแนะนำ 2 โปรแกรมซึ่งเป็นฟรีแวร์ครับสามารถดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลยครับ
สำหรับโปรแกรมแรกชื่อว่า Startrails ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.startrails.de/html/software.html หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ
สำหรับโปรแกรมที่สองชื่อว่า StarStax ใช้กับระบบปฏิบัติการ Mac ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.markus-enzweiler.de/software/software.html มาเริ่มกันอีกทีครับ
จากการใช้งานโปรแกรมเบื้องต้นทั้ง 2 โปรแกรมที่ผมแนะนำ นอกจากจะสามารถใช้ในการรวมภาพแล้ว โปรแกรม Startrails ยังสามารถใช้สร้างภาพวีดีโอเป็นภาพ Time lapse movie ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทดลองเล่นในอีกหลายฟังก์ชั่นได้ครับ สุดท้ายนี้ก็หวังว่าหลายท่านคงจะสนุกกับการถ่ายภาพเส้นแสงดาวและภาพที่หลายท่านถ่ายได้ ยังสามารถส่งภาพเข้าร่วมประกวดใน “โครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” ได้อีกด้วย ซึ่งจัดขึ้นทุกปี โดยสามารถติดตามข่าวสารและเข้าดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) www.narit.or.th
*********************
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. , เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร. ในหัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย"
"คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย"
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน